โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับจำนวนเป้าหมายการซ่อมบำรุงซึ่งเป็นโจทย์ที่ใหญ่ นั่นเป็นสาเหตุให้ระยะเวลาการปรับก่อนเริ่มดำเนินการยืดเวลาออกไป และยังมีภาระในการหาคนมาปฏิบัติงานนั้น จึงจำเป็นต้องทำการไคเซ็น ในการไคเซ็น ดังแสดงในผังที่ 6-28 ① ลดจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุง ② ทบทวนแผนการบำรุงรักษาระยะยาว ผลคือสามารถลดจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์เป้าหมายการซ่อมบำรุงได้มากกว่า 20% เกี่ยวกับหัวหน้าผู้ควบคุมในการจัดการการซ่อมแซมเป็นประจำโดยรวม เกิดโจทย์การบริหารหน้างานว่าคนในตำแหน่งหน้าที่ระดับไหนจึงจะเหมาะกับหน้าที่ที่จะทำให้ “การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพดีและทำได้ด้วยความปลอดภัย” บริษัทของเรามีหัวหน้างานของหน้างาน คือ หัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน, Team Leader, Group Manager ผู้ที่รู้จักหน้างานเป็นอย่างดีน่าจะเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน จึงเปลี่ยนหัวหน้าผู้ควบคุมจาก Team Leader ในตอนแรกมาเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน เรามี 4 ทีม 3 ผลัด หัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน 4 คนเปลี่ยนเวรกันคนละปี โดยจุดมุ่งหมายอีกอย่างคือการทำให้เกิด (พัฒนา) วิธีการจัดการติดตัวไปด้วย […]
ตอน 24 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 6: มุมมองการไคเซ็นฟังก์ชัน )
ใน Step 6-3 ต่อจากการศึกษาผลกระทบ ก็ประกอบขึ้นด้วยมุมมองการไคเซ็นฟังก์ชัน ในที่นี้ จากการตรวจสอบสาเหตุของการสูญเสียฟังก์ชัน มีการทำให้มองเห็นว่าได้มีการไคเซ็นอย่างไรเพื่อไม่ให้สูญเสียฟังก์ชัน (ผังที่ 6-18) ใน Step 6-3 ในการดำเนินการตามแนวคิดไคเซ็นที่พิจารณาแล้ว จะเชื่อมโยงสู่ “การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) อันเป็นการป้องกันปัญหาตั้งแต่ยังไม่เคยเกิดต่อไป (ผังที่ 6-19) ต่อจากนั้น สำหรับหัวข้อที่ทำการไคเซ็นแล้ว ให้ทำการพิสูจน์-ประเมินประสิทธิผล เพราะการดำเนินการ AM เช่นนี้ จะมีการหมุนตาม PDCA cycle อย่างเป็นธรรมชาติ การดำเนิน Step จึงปรากฏเป็นประสิทธิผลในทันที ด้วยการทำกิจกรรม Step 6-1 ถึง 6-3 จะได้ผลสัมฤทธิ์บรรลุ “ความเป็นศูนย์” ได้ […]
ตอน 23 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 6: การกระจายเครื่องจักร)
ในตัวอย่างโรงงานมีทั้งปั๊มสุญญากาศแบบแนวนอนและแนวตั้ง ปั๊มสุญญากาศแบบแนวตั้งที่ติดตั้งใหม่มีแนวโน้มที่มีปัญหาเยอะ ในการเริ่มดำเนินการให้ “ปัญหาของปั๊มสุญญากาศ” เป็นศูนย์ ก่อนอื่น เริ่มจากการตรวจสอบ-ทำความเข้าใจหน้าที่และฟังก์ชันของอุปกรณ์ ต่อจากนั้นจึงเขียนเนื้อหาอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การกำหนดขอบแขตเป้าหมายที่จะดำเนินมาตรการต่อปั๊มสุญญากาศ จนถึงการสำรวจเกณฑ์สมรรถนะ Stage 1 ดำเนินการโดยแบ่งเป็น 6 Step ผังที่ 6-13 เป็นสิ่งที่อยู่ใน Step 3 “การกระจายเครื่องจักร – เข้าใจโครงสร้าง-ฟังก์ชัน” จัดทำขึ้นเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างของทั้งแบบแนวนอนและแบบแนวตั้ง เป็นผังโครงสร้างซึ่งผู้ปฏิบัติงานที่หน้างานจัดทำขึ้นเอง และยังใช้เป็นสื่อในการฝึกอบรมได้ด้วย Step 4 การสะสางประวัติเครื่องจักร ดังแสดงในผังที่ 6-14 เป็นการทำให้มองเห็น (Visualize) ว่าเกิดปัญหาอย่างไหนเมื่อไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมโยงสู่ Step ต่อไป ผังที่ 6-14 การวิเคราะห์เครื่องจักรขัดข้องปัญหาใหญ่ และมาตรการ ผังที่ […]
ตอน 22 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 6: การดำเนิน Step อย่างเป็นรูปธรรม)
★ การดำเนิน Step อย่างเป็นรูปธรรม ดังแสดงเป็น (ตัวอย่าง) ใบ Audit Step ดังผังที่ 6-11 ใบนี้แยกออกเป็น 4 Step ที่เขียนไว้ในตารางการดำเนิน Step AM (การสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษา) ใน Stage 1 ทำความเข้าใจ-ทบทวนพื้นฐานของเครื่องจักร Stage 2 ทำความเข้าใจพื้นฐานการจัดการเครื่องจักร Stage 3 ศึกษาผลกระทบของการขัดข้อง Stage 4 สร้างแผนการบำรุงรักษา สร้างโครงสร้างการบำรุงรักษา ผังที่ 6-11 เป็นใบที่จัดทำขึ้นเพื่อรับ Top Audit หลังทำกิจกรรม Stage 1 แล้ว การประเมินนี้ โดยเฉพาะ “3. สภาพการพัฒนา Engineering […]
ตอน 21 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 6: ระบบของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง/การบำรุงรักษาตามแผน)
ผังที่ 6-8 ระบบการบำรุงรักษาด้วยตนเอง/การบำรุงรักษาตามแผน ★ หน้าที่ของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) และการบำรุงรักษาตามแผน (PM) ใน Part III การแบ่งหน้าที่ของ AM และ PM เป็นดังในผังที่ 6-8 ในส่วนของการบำรุงรักษาที่ดูแลโดย AM (ฝ่ายผลิต) ก็มี “การตรวจเช็คประจำวัน การตรวจวัดการสั่นสะเทือน การหล่อลื่น การตรวจเช็คด้วยตา การตรวจเช็คการรั่วไหล การจัดการเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ” อีกด้านการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือของ AM และ PM ก็คือการสร้าง “ระบบการบำรุงรักษา” โดยเฉพาะที่โรงงานB ไม่มีการจัดช่างซ่อมบำรุงประจำ มีโครงสร้างการรักษาเครื่องจักรของตัวเองด้วยตัวเอง มีการบริหารจัดการระบบบำรุงรักษาด้วยการจัดการ Tag อย่างสมบูรณ์ นำหน้าโรงงานA ถือเป็นผลสัมฤทธิ์อันยิ่งใหญ่อันหนึ่ง และ output นั้นเชื่อมโยงถึง “แผนงบประมาณ การทบทวนรอบการตรวจเช็คซ่อมบำรุง การประชุมพิจารณาเครื่องจักร” […]
ตอน 20 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 6: การทวนซ้ำ “การบำรุงรักษาด้วยตนเอง” (AM)
★ การทวนซ้ำ “การบำรุงรักษาด้วยตนเอง” แต่หลังจบ Step 5 แล้ว มีหลายบริษัทที่ลำบากกับการจะให้คนเข้าใหม่ทำกิจกรรมอย่างไร ดังนั้น จึงอยากขอแนะนำการทำ “กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง Part II” ดังนี้ 1. Step 1 ก่อนอื่น ให้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ของเครื่องจักรในระดับชิ้นส่วน มีการจัดทำ “แผนผังฟังก์ชันเครื่องจักร” ดังแสดงในผังที่ 6-6 ต่อจากนั้น เมื่อชิ้นส่วนเสียหาย ให้พิจารณาว่าเกิดปรากฏการณ์อย่างไร และสิ่งนั้นส่งผลกระทบที่ไหนของเครื่องจักร จุดที่โดนผลกระทบก็คือจุดตรวจเช็ค ในตอนนี้จะสอนประสบการณ์ในอดีตของคนเก่าให้แก่คนใหม่ แล้วบันทึกลงใน “แผนผังฟังก์ชันเครื่องจักร” 2. Step 2 ใช้ […]
ตอน 19 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 6: กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM)
6-1 กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่เป็นลักษณะพิเศษของ TPM จุดกำเนิดของ TPM มีรากฐานมาจาก “กิจกรรมการขัดข้องเป็น 0 ของเสียเป็น 0 อุบัติเหตุเป็น 0” ซึ่งเป็นกิจกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม สิ่งที่ทำ คือการทำให้เครื่องจักรสมบูรณ์โดยมีผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก แล้วจึงพัฒนามาเป็นกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง จุดมุ่งหมายของ TPM ที่ว่า “ด้วยการเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนสถานที่ทำงาน จะเปลี่ยนมุมมอง-แนวคิดของคน นำไปสู่การไคเซ็นระบบโครงสร้างของหน้างาน” จะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง โดยผ่านกิจกรรมนี้ จะเป็นการสร้างคนที่สามารถอุทิศตนให้กับผลประกอบการของบริษัทได้ อีกทั้งจากการใส่กิจกรรมการบำรุงรักษาของผู้ปฏิบัติงานเข้าไปในการไคเซ็นระบบโครงสร้างของบริษัท จึงเป็นการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นที่การยกระดับ “การบำรุงรักษาประจำวัน” ให้สูงขึ้น โดยเริ่มจากการยกระดับความรู้ในเครื่องจักรให้สูงขึ้น จากการเรียนรู้ใน Stage 1, 2 ของ Mother Program […]
ตอน 18 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program (Stage 6: Step 23-26: การดำเนินการและประเมินผล)
9) Stage 6: Step 23-26: การดำเนินการและประเมินผล เมื่อดำเนินการบำรุงรักษาตามแผนการบำรุงรักษา และประเมินผลนั้น มีการทบทวนและแก้ไขตามความจำเป็น ดำเนินการวิเคราะห์บันทึกการตรวจรับ สะท้อนสู่แผนการตรวจสอบและแผนการซ่อมแซมตามรอบครั้งต่อไป ในการลาดตระเวนและตรวจเช็คจริง จากเดิมที่มีแนวคิดอย่างเหนียวแน่นว่าให้ “ค้นพบข้อบกพร่องแต่เนิ่น ๆ” จำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดสู่การลาดตระเวนและตรวจเช็คเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องจักร “มีฟังก์ชันอย่างที่มันควรจะเป็น” ★ Mother Program และการหมุน PDCA ของโครงสร้างการบำรุงรักษา เมื่อใช้ Mother Program ของการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรนี้ ก็จะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรของแต่ละบริษัท ตัวอย่างการใช้ Mother Program จะเป็นดังผังที่ 6-1 ซึ่ง เป็นตัวอย่างโปรแกรมการดำเนินการ ประยุกต์สู่การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) ยืดอายุรอบในการตรวจสอบรายปี (ผังที่ 6-2) กิจกรรมสู่การขัดข้องเป็นศูนย์ ใช้ Mother Program ในการสร้าง Step […]
ตอน 17 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 5: จัดทำแผนโครงสร้างการบำรุงรักษา)Step 20: จัดทำงบประมาณ Step 22: จัดทำแผนระยะกลางระยะยาว
8) Step 20: จัดทำงบประมาณ Step 22: จัดทำแผนระยะกลางระยะยาว อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การบำรุงรักษาเครื่องจักรไม่สามารถทำได้โดยให้ “ค่าใช้จ่ายเป็นศูนย์” จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าตรวจสอบเป็นประจำ ค่าแรงในการตรวจเช็ค-ลาดตระเวน ค่าจัดซื้อสิ่งของ ในทางทฤษฎี มีการประเมินความคุ้มทุน แต่กลับกันในความเป็นจริง การคำนวณว่าได้ลงทุนในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นจำนวนเท่าไรเป็นเรื่องยาก การบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็น “การจัดการความเสี่ยง” วิธีวางเงื่อนไขพื้นฐานหรือวิธีการคำนวณจะทำให้ต่างกันมาก ดังนั้น จึงต้องจัดทำระบบดัชนี ดูค่าใช้จ่ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงที่หน้างาน มาเปรียบเทียบกับ Step ที่อธิบายมา เพื่อประเมิน ในตอนนั้น การดำเนินการแบบนำใช้ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อตัดสินว่างวดต่อไปจะใช้เท่าไร และลดลง X%…เป็นต้นนั้น ไม่ได้เป็นการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิผล ต้องร่างงบประมาณอย่างสมเหตุสมผล ประเมินผลจริงโดยภาพรวม โดยอ้างอิงระบบดัชนี เป็นสิ่งสำคัญ […]
ตอน 16 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 5: จัดทำแผนโครงสร้างการบำรุงรักษา) Step 19 : กำหนดดัชนีควบคุม Step 21 : จัดทำระบบข้อมูล
7) Step 19 : กำหนดดัชนีควบคุม Step 21 : จัดทำระบบข้อมูล งานการบำรุงรักษาจะถูกผลักดัน ขณะที่หมุนตาม Main Cycle และ Sub Cycle ของโครงสร้างการบำรุงรักษา จากการนี้ สภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักรก็ได้รับการพัฒนา ดัชนีการบำรุงรักษาเครื่องจักรแต่ละตัวไม่ได้เป็นเอกเทศกัน แต่ผลที่ได้ ดัชนีต่าง ๆ จะเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ดังนั้น จึงไม่ควรตัดสินด้วยดัชนีตัวใดตัวหนึ่ง แต่ควรตัดสินถึงความเหมาะสมของการบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยดูโดยรวม ดังแสดงเป็นโครงสร้างในผังที่ 5 -14 ดังได้ทราบจากผังนี้ ผลของค่าซ่อมแซมจะเปลี่ยนไปตามการขัดข้องและการ set up จริง หรือคิดในทางกลับกัน การขัดข้องหรือการ Set up ที่เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของค่าซ่อมแซม ในการดำเนินการบำรุงรักษาตามแผนการนี้ ในตอนนั้น […]