การทวนซ้ำ “การบำรุงรักษาด้วยตนเอง”

      แต่หลังจบ Step 5 แล้ว มีหลายบริษัทที่ลำบากกับการจะให้คนเข้าใหม่ทำกิจกรรมอย่างไร  ดังนั้น จึงอยากขอแนะนำการทำ “กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง Part II” ดังนี้

      1. Step 1

        ก่อนอื่น ให้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ของเครื่องจักรในระดับชิ้นส่วน มีการจัดทำ “แผนผังฟังก์ชันเครื่องจักร” ดังแสดงในผังที่ 6-6 ต่อจากนั้น เมื่อชิ้นส่วนเสียหาย ให้พิจารณาว่าเกิดปรากฏการณ์อย่างไร และสิ่งนั้นส่งผลกระทบที่ไหนของเครื่องจักร 

       จุดที่โดนผลกระทบก็คือจุดตรวจเช็ค  ในตอนนี้จะสอนประสบการณ์ในอดีตของคนเก่าให้แก่คนใหม่ แล้วบันทึกลงใน “แผนผังฟังก์ชันเครื่องจักร”

      2. Step 2

      ใช้ “แผนผังฟังก์ชันเครื่องจักร” ในการยืนยันจุดตรวจเช็คเครื่องจักร  One Point Lesson จะเป็นเครื่องมือที่ดี ให้ทำ “Visual Control” ที่จุดนั้น โดยสร้างกลไกที่สามารถตรวจเช็คได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องว่าปกติ/ผิดปกติ  สิ่งนี้จะทำให้สามารถตรวจเช็คได้โดยไม่ต้องอ่านค่าที่หน้างาน เป็นต้น ทำให้ลด “ภาระตอนตรวจเช็ค” ลง  ในการไคเซ็นนี้ให้คิดหาไอเดียที่จะ “สามารถค้นพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ ได้อย่างไร”

      3. Step 3

       ต่อจากนั้น ทบทวนหรือจัดทำมาตรฐานการตรวจเช็ค และจัดทำ Check List ตามมาตรฐาน และดำเนินการตรวจเช็ค  ผลของการลาดตระเวนตรวจเช็คให้ทำเป็นลิสต์ ดำเนินการจัดการแก้ไขอย่างมีแผน  ถ้าจัดทำบอร์ดควบคุมสภาพหน้างานที่หน้างานด้วยก็จะดี  อีกทั้งมีการนำเทคนิคการวินิจฉัยเครื่องจักรมาใช้อย่างกระตือรือร้น เพื่อยกระดับการตรวจเช็คให้สูงขึ้น

       ดังนี้ โดยผ่านกิจกรรม ทำให้มีจิตสำนึก “การบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบ Proactive” ตรวจสอบระดับทักษะของทุกคน ยกระดับความรู้ของคนใหม่ ให้เขาได้สั่งสมประสบการณ์และ know-how ของคนเก่าได้

★ Step การดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) หลัง Part III

       ลองมาคิดถึงกิจกรรมหลัง Part III  กิจกรรมมี 2 หน้าที่คือ “การไคเซ็น” และ “การรักษาสภาพ”  “การดำเนินการบำรุงรักษาประจำวันอย่างเคร่งครัด” เป็นจุดประสงค์ของกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองโดยผู้ปฏิบัติงาน การสร้างโครงสร้างที่ช่วยสร้างความสามารถนี้คือกิจกรรมจนถึง Part II 

       ใน Part III จึงให้น้ำหนักไปที่ “การรักษาสภาพ”  ทำตามมาตรฐานการบำรุงรักษา รักษาเครื่องจักรให้มั่นคง  อีกทั้ง ให้ทำ “การทวนซ้ำ” กิจกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของหน้างานจากการรับคนใหม่เข้ามา เป็นต้น  จนถึง Part II มี “การไคเซ็น” เป็นศูนย์กลาง เป็นกิจกรรมเตรียมการสำหรับ Part III

       “การทวนซ้ำ” มีทั้งการทวนซ้ำ “คน” และ “เครื่องจักร”  “คน” จะมีการที่คนเก่าต้องไปและคนใหม่เข้ามา ส่วนเครื่องจักรยังไงก็ต้องเสื่อมสภาพ  จึงต้องสร้างโครงสร้างที่สามารถรักษา “สภาพที่ถูกต้อง” ไว้ได้ ถึงจะมีความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้  นั่นก็คือ การต้อง “พัฒนาคนขณะทำงาน”

      ในตอนนั้นสิ่งที่สำคัญคือการสืบทอด “หลักการ-กฎเกณฑ์” “เทคโนโลยีเครื่องจักรพื้นฐาน” เป็นต้น  สิ่งที่จะถูกนำมาใช้ในตอนนี้คือ “แผนผังฟังก์ชันเครื่องจักร” ที่จัดทำขึ้นจากการทำกิจกรรม  แน่นอนคนที่จะเป็นครูก็คือ “คนรุ่นใหม่” ที่จัดทำสิ่งนี้ขึ้นมา  ด้วยการทำเช่นนี้จะเป็นการอุดช่องว่างของอายุได้

(1) ตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรมของกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
สร้างผู้ปฏิบัติงานผู้มีทักษะในการบำรุงรักษาอย่างมีแผน

       การเปลี่ยนแปลงของจิตสำนึกของผู้ปฏิบัติงานจากการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เรามุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงจาก “การระวัง” ในกิจกรรม Part I สู่ “การรู้ตัว”

       ในกิจกรรม Part II เราจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจาก “การรู้ตัว” สู่ “การติดใจสงสัย”  จุดมุ่งหมายของกิจกรรมคือการดำเนิน Step การเปลี่ยนแปลงจาก “การเปลี่ยนเครื่องจักร” สู่ “การเปลี่ยนคน” เมื่อเป็นเช่นนี้ “หน้างานเปลี่ยน” พร้อมกับการดำเนินการโดยมีหัวข้อกิจกรรมชัดเจน

       ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการเช่นนั้น ใน Part I ทำให้การขัดข้อง-ของเสียลดลง และใน Part II เริ่มเห็นตัวอย่างของเสียเป็นศูนย์บ้าง เพื่อเชื่อมโยงสู่ปัญหาด้านคุณภาพเป็นศูนย์ต่อไป

       ผังที่ 6-7 เป็นการสรุปเนื้อหาและการเปลี่ยนแปลงจาก Part I ไป Part II

กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองในกิจกรรม Part III

      ในการเริ่มกิจกรรม Part III เพื่อยกระดับทักษะของผู้ปฏิบัติงาน กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองจะต้องมีการร่วมมือกับกิจกรรมบำรุงรักษาอื่น ๆ อย่างแน่นแฟ้น ดำเนินกิจกรรมในท่ามกลางเสาการบำรุงรักษาทวีผล (ที่เรียกว่าสามพี่น้องการบำรุงรักษา (Three Maintenance) คือการร่วมมือของกิจกรรมบำรุงรักษา 3 เสา คือ การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM)-การบำรุงรักษาตามแผน (PM)-การบำรุงรักษาคุณภาพ (QM)) 

       โดยเริ่มความร่วมมือในกิจกรรม Part II ให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ในเรื่องของการบำรุงรักษาตามแผน และการบำรุงรักษาคุณภาพ เพื่อยกระดับทักษะของผู้ปฏิบัติงานมาแล้ว ในครั้งนี้เราจะมุ่งสู่การยกระดับสูงขึ้นอีกขั้นโดยเน้นย้ำจุดยืน เพื่อการสร้างทักษะการบำรุงรักษาตามแผนให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน 

       มีการอบรมถ่ายทอดความรู้จากผู้รับผิดชอบการบำรุงรักษาตามแผน (การวัดคุม Instrument) สู่ผู้รับผิดชอบการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาให้เป็น Engineering Operator

ผังที่ 6-7 จุดมุ่งหมายและผลสัมฤทธิ์การดำเนิน Step ของการบำรุงรักษาด้วยตัวเอง “ฉบับสรุป”

       อีกด้าน ที่โรงงานสำหรับผู้รับผิดชอบการบำรุงรักษาตามแผน (เครื่องจักร) จัดอบรมเทคนิคการวินิจฉัยให้ผู้รับผิดชอบการบำรุงรักษาด้วยตนเอง  ดำเนินการอบรมทักษะเพื่อให้การตรวจวัดวินิจฉัยที่ที่แล้วมาฝ่ายการบำรุงรักษาตามแผนทำให้ฝ่ายการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (ผู้ปฏิบัติงาน) ก็สามารถทำได้ด้วย 

       จากการดำเนินการแบบนี้ ทำให้จากสภาพที่ต้องมีช่างซ่อมบำรุงเป็นจำนวนมากขนาดหนึ่ง แล้วทำให้การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (ผู้ควบคุมเครื่องจักร) สามารถทำได้ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงสู่ “คนผลิต สามารถจัดการเครื่องจักรได้ด้วย” 

       เบื้องหลังสิ่งนี้คงเป็นอิทธิพลมาจากความคิดการจัดการเครื่องจักรอย่างจริงจังจนถึงระดับ “ชิ้นส่วน-ส่วน” ด้วย “การดำเนิน Step การบำรุงรักษาด้วยตนเองเป็นแน่

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM