ผังที่ 6-8 ระบบการบำรุงรักษาด้วยตนเอง/การบำรุงรักษาตามแผน
★ หน้าที่ของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) และการบำรุงรักษาตามแผน (PM) ใน Part III

      การแบ่งหน้าที่ของ AM และ PM เป็นดังในผังที่ 6-8 ในส่วนของการบำรุงรักษาที่ดูแลโดย AM (ฝ่ายผลิต) ก็มี “การตรวจเช็คประจำวัน การตรวจวัดการสั่นสะเทือน การหล่อลื่น การตรวจเช็คด้วยตา การตรวจเช็คการรั่วไหล การจัดการเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติ” 

       อีกด้านการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือของ AM และ PM ก็คือการสร้าง “ระบบการบำรุงรักษา” โดยเฉพาะที่โรงงานB ไม่มีการจัดช่างซ่อมบำรุงประจำ มีโครงสร้างการรักษาเครื่องจักรของตัวเองด้วยตัวเอง มีการบริหารจัดการระบบบำรุงรักษาด้วยการจัดการ Tag อย่างสมบูรณ์ นำหน้าโรงงานA ถือเป็นผลสัมฤทธิ์อันยิ่งใหญ่อันหนึ่ง และ output นั้นเชื่อมโยงถึง “แผนงบประมาณ การทบทวนรอบการตรวจเช็คซ่อมบำรุง การประชุมพิจารณาเครื่องจักร”

       ส่วนการบำรุงรักษาของ PM (เครื่องจักร) ก็มี “การซ่อมแซมตามรอบ การจัดการข้อมูล” ในการจัดการข้อมูล ให้เอาเนื้อหาที่ดำเนินการโดย AM เช่นการวัดการสั่น มาทบทวนรอบ เป็นการเพิ่มเนื้อหาการร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น

       ในการซ่อมบำรุงเป็นประจำ จะมีการดำเนินการแบบร่วมมือกัน เช่น ประชุมทุกวัน ลาดตระเวนเป็นประจำ มีการประชุมความปลอดภัย  อีกทั้งมีการทำให้มองเห็นกิจกรรมรักษาฟังก์ชันเครื่องจักรและกิจกรรมไคเซ็นฟังก์ชันเครื่องจักร  การแบ่งงานของแต่ละคนให้ชัดเจนได้ก็ถือว่าเป็นผลสัมฤทธิ์อันยิ่งใหญ่

★ การดำเนินการยกระดับความสามารถในการบำรุงรักษาของหน้างานการผลิต

      กิจกรรมเพื่อยกระดับความสามารถในการบำรุงรักษาที่หน้างาน ใน Part III กิจกรรม AM ทำให้สามารถยกระดับทักษะการบำรุงรักษาของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก

       AM “ เป็นการดำเนินการแบบใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ “สร้างกิจกรรมการบำรุงรักษาตามทฤษฎี” เป็นการสะสางแนวคิดเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้ไลน์การผลิตเป็นอย่างดี และ “รักษาเครื่องจักรของตนเองด้วยตนเอง” อย่างไรให้เป็นไปตามคอนเซปต์ของ TPM

ในการนำการดำเนิน Step มีภาพลักษณ์ดังแสดงในผังที่ 6-9

      ฝ่ายผลิตก่อนอื่นต้องดำเนินการประเมินทักษะของผู้ปฏิบัติงานตาม Stage (หัวข้อการดำเนินการ) แต่ละอัน เพื่อเป็น BM (Bench Mark)

       โดยให้ประเมินระดับของตัวเองในแต่ละหัวข้อการประเมินแล้วจึงให้ทีมลีดเดอร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาประเมิน แล้วทำการแก้ไขผลต่างของการประเมิน  ในที่นี้ การประเมินตนเองมักมีแนวโน้มเข้มงวดมากกว่า

      ในความเป็นจริง การแสดงภาพลักษณ์ของ output ของกิจกรรม AM ดังผังที่ 6-10  เพื่อให้ได้ตาม Output นี้ มาใช้เพื่อ challenge Part III

★ การดำเนิน Step AM

      ในกิจกรรม Part III เพื่อจุดมุ่งหมายให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งได้ทำกิจกรรม AM มาได้เรียนรู้แนวคิดการบำรุงรักษาตามทฤษฎี (อย่างมีแผน) ให้กลายเป็นทักษะติดตัว

ความเชื่อมโยงกับเสาการบำรุงรักษาทวีผลและ Output

       ผู้บริหารได้มีการประกาศเมื่อทำกิจกรรม Part II ว่างานและ TPM เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกว่า “งาน = TPM” 

       ในมุมมองเช่นนั้นในการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผล เราใช้เทคนิคต่าง ๆ ของ “TPM” เป็นเครื่องมือเพื่อลด “Loss & Risk” ซึ่งเป็นโจทย์ของหน้างานผลิตซึ่งดูแลเรื่อง “คามปลอดภัย-คุณภาพ-ต้นทุน” เพื่อลดสิ่งเหล่านั้น

       เพื่อลด Loss & Risk ของหน้างาน การดำเนินการไคเซ็นระดับความต้องการของทักษะของผู้ปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญ  ในกิจกรรม AM PART III เพื่อการทำให้ 3 ขัดข้อง ได้แก่ “เครื่องจักรขัดข้อง กระบวนการขัดข้อง (Process Failure) และคุณภาพขัดข้อง” เป็นศูนย์

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM