...

ตอน 38 (Autonomous Maintenance)Step 7 การบริหารจัดการด้วยตนเองอย่างจริงจัง 6. มาดำเนินการกระตุ้นกลุ่มย่อยให้คึกคักด้วย AM กันเถอะ

กิจกรรม AM ไม่ใช่แค่สร้างผลกำไร  หากดำเนินกิจกรรม AM ก่อนอื่น เครื่องจักรและสภาพแวดล้อมของหน้างานจะเปลี่ยน  เมื่อเป็นเช่นนั้น การเปลี่ยนแปลงจนถึงความคิดและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานก็จะปรากฏให้เห็น บรรยากาศของหน้างานก็จะเปลี่ยนไป  นั่นก็คือเป็นการกระตุ้นกลุ่มย่อยให้คึกคัก  เราลองมาดูตัวอย่างของบริษัทอื่นเกี่ยวกับ Intangible Results เหล่านี้กัน ● เครื่องจักร หน้างาน คนจะเปลี่ยน ! จิตสำนึกว่า “ตัวเอกของการผลิต คือพวกเราที่ทำงาน” สูงขึ้น ดำเนินการบริหารจัดการงานของตัวเองด้วยตัวเองกันมากขึ้น 7.จำนวนข้อบกพร่องที่ค้นพบโดยรวมสูงถึง 3 แสนรายการ (60 รายการต่อเครื่อง) การจัดการตอนช่วงแรกก็อยู่ที่ 20-30%  แต่พอช่วง Step 7 กลุ่มย่อยก็สามารถจัดการได้ถึงมากกว่า 90% (การค้นพบข้อบกพร่อง มีตัวอย่างที่มีพนักงาน 670 คน หาข้อบกพร่องได้ 1.3 ล้านรายการใน 4 ปี) 8.สภาพแวดล้อมของที่ทำงานก็ได้รับการดูแล ผู้มาเยือนก็ประทับใจ 9.จากการมีประสบการณ์ความลำบากของการปฏิบัติตาม ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจึงเข้าใจความสำคัญของการปกป้องเครื่องจักรด้วยตนเอง ●  เปลี่ยนเป็นผู้ปฏิบัติงานที่คิดและทำได้ด้วยตนเอง จากนี้ไป คิดว่าสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมการผลิตอย่างพวกเราจะยิ่งเข้มงวดขึ้น  พวกเราจึงต้องสร้างโครงสร้างระบบของหน้างานที่ไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งนั้น  […]

ตอน 37 (Autonomous Maintenance)Step 7การบริหารจัดการด้วยตนเองอย่างจริงจัง 5. มาดำเนินการ AM ที่สร้างผลกำไรกันเถิด

– การฟื้นสภาพและไคเซ็นสร้างผลสัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์สร้างความยินดีในการบรรลุ – ที่นี้ ด้วยการดำเนินการกิจกรรม AM ดังที่ได้พูดมาจนถึงตรงนี้ จะได้ Tangible Results อย่างไร จะขอยกตัวอย่างของกลุ่มย่อยของบริษัทต่าง ๆ ที่ทำ TPM มาให้ฟัง ●  ได้ผลแบบนี้ “เวลาทำความสะอาด-หล่อลื่น-ตรวจเช็ค” ซึ่งดำเนินการโดยมีเป้าหมายภายใน 10 นาที เหลือ 3 นาที “ปริมาณการเติมน้ำมันไฮดรอลิกและสารหล่อลื่น” ของทุกเดือนของสถานที่ทำงาน ได้มีมาตรการป้องกันรั่ว ทำให้จากที่เคยใช้ 50 ลิตรเหลือต่ำกว่า 2 ลิตร (น้ำมันในพิตใต้ดินหายไป) ก่อนดำเนินกิจกรรม “เครื่องขัดข้องกะทันหัน” จากทั่วบริษัทมี 4,106 ครั้งเหลือ 28 ครั้ง กลุ่มย่อยที่ทำ “ขัดข้องเป็นศูนย์-ของเสียเป็นศูนย์” ได้ต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน มีถึง 41 กลุ่มจากกลุ่มย่อยของทั้งบริษัท 342 กลุ่ม เพราะการขัดข้องลดลง “เวลาหยุดไลน์” เหลือเพียง […]

ตอน 36 (Autonomous Maintenance)Step 7 การบริหารจัดการด้วยตนเองอย่างจริงจัง 4. การบริหารจัดการด้วยตนเองคืออะไร

ถึงตรงนี้ ได้พูดถึง “การบริหารจัดการประจำวัน” “การบริหารจัดการนโยบาย” “ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง” มาแล้ว  จากตรงนี้ไป คิดว่าอยากจะพูดถึงวิธีการประเมินโดยรวมของ 3 เรื่องเหล่านั้น และวิธีการประเมินระดับการบริหารจัดการด้วยตนเองของพวกตน ●  ปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนด + ไคเซ็น = ผลสัมฤทธิ์ ได้พูดถึงแล้วว่าระดับของการบริหารจัดการด้วยตนเองจะถูกประเมินด้วย การบริหารจัดการประจำวัน การบริหารจัดการนโยบาย และผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง  ดังนั้น พวกเราเองก็จำเป็นต้องประเมินในจุดเหล่านั้นด้วยตัวเองด้วย ก่อนอื่น การบริหารจัดการประจำวัน เป็นการปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดให้ดีด้วยกิจกรรม AM ประเมินระดับจากจุดที่ว่า “ปฏิบัติตามอยู่หรือไม่” “มีการทำให้ปฏิบัติตามได้ง่ายหรือไม่”  ระดับการบริหารจัดการนโยบาย ประเมินจากจุดที่ว่า จากการทำ FI “มีการทำไคเซ็นอย่างคึกคักหรือไม่” “ได้มีการยกระดับการเสร็จสมบูรณ์ของไคเซ็นหรือไม่” และผลสัมฤทธิ์ซึ่งก็คือผลของการทำกิจกรรมเหล่านั้น ก็ได้รับการประเมินด้วย “หัวข้อการประเมินแต่ละหัวข้อได้บรรลุระดับไหนจากที่ได้กำหนดไว้” ●  จากการผ่านจนถึงการรับรอง เมื่อเราได้ทำกิจกรรมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จะเชื่อมโยงสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์อย่างแน่นอน ถ้าหากเชื่อมโยงไม่ได้ แสดงว่ายังมีจุดอ่อน จุดที่ไม่เพียงพอในการดำเนินการ AM หรือ FI อย่างใดอย่างหนึ่ง  ให้พวกเราทบทวนตัวเองในจุดนั้น เพื่อเชื่อมโยงสู่การทบทวนเนื้อหาสิ่งที่ต้องทำใหม่ จนถึง Step […]

ตอน 35 (Autonomous Maintenance)Step 7 การบริหารจัดการด้วยตนเองอย่างจริงจัง 3. ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากพวกเรา

ผลสัมฤทธิ์ที่พวกเราถูกคาดหวังในฐานะที่เป็นหน้าที่ที่ควรทำให้บรรลุในกิจกรรมการผลิตคือ “ต้นทุนถูก ผลิตภาพสูง ประสิทธิภาพสูง และรักษาสภาพเหล่านั้นไว้ได้” เป็นต้น  และเพื่อบรรลุสิ่งเหล่านั้น จำเป็นต้องทำให้ Loss ชัดเจน และดำเนินกิจกรรมเพื่อลด Loss นั้น ●  ในการบรรลุผลสัมฤทธิ์จำเป็นต้องลด Loss ต้นทุน สามารถคำนวณได้จากการดูว่าใช้ค่าใช้จ่ายไปแค่ไหน และผลิตออกมาได้แค่ไหน  ดังนั้นก่อนอื่น สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่า “ในสถานที่ทำงานของพวกตน มีการใช้ค่าใช้จ่ายอย่างไร ใช้ไปแค่ไหน”  ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในหน้างานการผลิตมี ค่าวัตถุดิบ ค่าพลังงาน ค่าแม่พิมพ์-จิ๊กเครื่องมือ ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่อง เป็นต้น และเพื่อการบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ ต้องทำให้ชัดเจนว่า “Yield ของวัตถุดิบ” “Unit used ของพลังงาน” “อายุของแม่พิมพ์-จิ๊กเครื่องมือ หรือว่าค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์” อยู่ในสภาพเช่นใด ต้องลดหรือยกระดับถึงแค่ไหน จากนั้นจึงดำเนินการไคเซ็น ในการยกระดับผลิตภาพ ต้องเร่งความเร็วของการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรหรือประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น  ดังนั้นก่อนอื่นต้องทำให้ชัดเจนในสภาพปัจจุบันของ “เวลามาตรฐาน” “OEE” “Actual Man-Hour ต่อ Man-Hour มาตรฐาน” จากนั้นจึงต้องทำให้ชัดเจนถึงเนื้อหา Loss […]

ตอน 34 (Autonomous Maintenance)Step 7 การบริหารจัดการด้วยตนเองอย่างจริงจัง 2. การบริหารจัดการนโยบายคืออะไร

ต่อไปจะขอพูดถึงอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นที่ต้องการในการทำการบริหารจัดการด้วยตนเอง นั่นคือการบริหารจัดการนโยบาย การบริหารจัดการนโยบาย หมายถึง “ทำให้ theme ไคเซ็นที่ควรต้องแก้ไขในสถานที่ทำงานของพวกตนตามนโยบายเบื้องบนชัดเจน แล้วยกระดับการบรรลุกิจกรรมการผลิตโดยดำเนินการไคเซ็นอย่างกระตือรือร้น” ●  สิ่งที่ทำมาแล้วและสิ่งที่ต้องทำต่อไป พวกเรายังดำเนินการอีกเสาของ TPM นั่นคือการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (FI) ด้วย  Theme ในการไคเซ็นนั้นคิดว่าได้กำหนดจากว่า “ตอนนี้พวกตนจะต้องดำเนินการ Theme ไคเซ็นแบบไหน” เพื่อลดต้นทุน เพื่อยกระดับผลิตภาพ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ  ดังนั้น กิจกรรม FI ที่แล้วมา จึงทำมาเพื่อยกระดับการบริหารจัดการนโยบายนั่นเอง โจทย์ใน Step นี้คือการทำอย่างต่อเนื่อง โดยพวกตนเองทำการประเมินว่า “Theme ไคเซ็นได้เสร็จสมบูรณ์ตามแผนหรือไม่” “เนื้อหาการไคเซ็นนั้นได้ยกระดับมากขึ้นกว่าที่แล้วมาหรือไม่” ขณะเดียวกันก็ต้องเอาชนะจุดอ่อนของตัวเอง  นั่นก็คือ เพื่อการ “ลดต้นทุน-ยกระดับผลิตภาพ-ยกระดับประสิทธิภาพ” ตามที่พวกเราได้รับการคาดหวัง การดำเนินการยกระดับกิจกรรมไคเซ็นของพวกตนก็เป็นอีกโจทย์หนึ่งนั่นเอง เพื่อการนี้ เพื่อการยกระดับกิจกรรม FI จำเป็นต้องสร้างมาตรฐาน 3 ประการต่อไปนี้ กระดานกิจกรรม (Activity Board) ได้รับการเรียบเรียงอย่างดี ประเมินกิจกรรมที่แล้วมา เพื่อทำให้รู้ถึงโจทย์ต่อไป การดำเนินการ Theme […]

ตอน 33 (Autonomous Maintenance)Step 7 การบริหารจัดการด้วยตนเองอย่างจริงจัง 1. การบริหารจัดการประจำวันคืออะไร

  เอาละ มาถึง Step 7 “การบริหารจัดการด้วยตนเองอย่างจริงจัง”  การบริหารจัดการด้วยตนเองนี้ ประกอบด้วย “การบริหารจัดการประจำวันและการบริหารจัดการนโยบาย”  การอธิบายเพียงแค่นั้น คงไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร  ดังนั้น จะขออธิบายไล่ตามลำดับว่าการบริหารจัดการด้วยตนเองในทางรูปธรรมว่า “จะต้องทำอะไรอย่างไร”  ก่อนอื่นจะขอพูดเรื่องการบริหารจัดการประจำวันที่ต้องการในการทำการบริหารจัดการด้วยตนเอง การบริหารจัดการประจำวัน หมายถึง “การทำให้สิ่งที่กำหนดของทุกสถานที่ทำงานอยู่ในสภาพปฏิบัติตามได้ง่าย เพื่อยกระดับการบรรลุกิจกรรมการผลิตด้วยการปฏิบัติตามอย่างแน่นอน” ●  สิ่งที่ทำมาแล้ว คำขวัญร่วมกันของพวกเราจนถึง Step 6 ของ AM ก็คือ “สิ่งที่กำหนดต้องปฏิบัติตามให้ดี  เพื่อการนี้ ต้องไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย” และน่าจะทำให้สิ่งที่กำหนดของสถานที่ทำงานของพวกเราปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อน น่าจะยกระดับทักษะการปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดของพวกเรากันเอง เมื่อคิดอย่างนี้ ก็อาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่พวกเราทำกันมาในกิจกรรม AM ก็คือ “การยกระดับการบริหารจัดการประจำวัน” ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการในการบริหารจัดการด้วยตนเอง ●  สิ่งที่ต้องทำต่อไป ดังนั้น ใน Step ของการบริหารจัดการด้วยตนเองจากนี้ ต้องประเมินด้วยตนเองว่า “ได้ปฏิบัติตามอย่างแน่นอน” ในสิ่งที่กำหนดว่าต้องปฏิบัติตามที่ได้ทบทวนกันมาจนถึงตอนนี้  และในตอนนั้นสิ่งที่รู้สึกว่าปฏิบัติตามได้ยาก ต้องไคเซ็นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ “ปฏิบัติตามได้ง่าย” ด้วยการทำกิจกรรมอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง  เอกสารมาตรฐาน AM หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่พวกเราต้องปฏิบัติตาม […]

ตอน 32 (Autonomous Maintenance)Step 6 การสร้างมาตรฐานและการควบคุมรักษา 3. ทบทวนสิ่งที่กำหนดอย่างไร

เพื่อให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน จำเป็นที่ทุกคนต้องพูดคุยหารือ ทบทวนแต่ละหัวข้อเหล่านั้นว่า “จะปฏิบัติตามอย่างไร” “อะไรที่ปฏิบัติตามได้ยาก” “ตรวจสอบอย่างไรว่ามีการปฏิบัติตามอยู่”  นั่นก็คือสิ่งที่ต้องดำเนินการใน Step 6 “การสร้างมาตรฐานและควบคุมรักษา” ●  พิจารณาหัวข้อที่ควรต้องทบทวน ในการดำเนินการ Step 6 ก่อนอื่นต้องพิจารณาเกี่ยวกับว่า “หัวข้อไหนที่จำเป็นต้องทบทวนเพื่อให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง” สิ่งสำคัญคือการกำหนดหัวข้อที่ต้องทบทวนใน Step นี้จากจุดที่ว่า ต่อผลสัมฤทธิ์ที่พวกเราคาดหวัง “อะไรเป็นสิ่งที่ระดับการประเมินต่ำ” “เพื่อการยกระดับนั้น ต้องปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดอย่างไรให้ดี”  โดยดำเนินการในแต่ละหัวข้อตามขั้นตอนที่แสดงดังต่อไปนี้ โดยใช้เวลาราว 2-3 เดือน ●  ลิสต์สิ่งที่กำหนด และประเมินระดับการปฏิบัติตาม ก่อนอื่น ต่อแต่ละหัวข้อที่ต้องทบทวนใน Step นี้ ให้พวกเราลิสต์ “ขั้นตอนหรือจุดสำคัญ” ที่ต้องปฏิบัติตาม จากเอกสารมาตรฐาน AM หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่กำหนดเอาไว้  เพราะว่าในเอกสารมาตรฐาน AM หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานมีสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามเกี่ยวกับ 4M (Machine-Material-Man-Method) เอาไว้แล้ว จุดสำคัญคือลิสต์สิ่งที่กำหนดเหล่านั้นออกมา  หากยังไม่มีการจัดทำเอกสารมาตรฐาน AM หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ต้องจัดทำมาตรฐาน AM ชั่วคราว-มาตรฐานการปฏิบัติงานชั่วคราวขึ้นมา ถัดจากนั้น […]

ตอน 31 (Autonomous Maintenance)Step 6 การสร้างมาตรฐานและการควบคุมรักษา 2. ทบทวนสิ่งที่กำหนดอย่างไร

2 ทบทวนสิ่งที่กำหนดอย่างไร พวกเราต้องใช้สิ่งของต่าง ๆ (ทรัพยากร) ที่มีอยู่หน้างานเพื่อทำกิจกรรมการผลิต และคาดหวังผลสัมฤทธิ์จากแง่มุมต่าง ๆ ระหว่างสิ่งเหล่านั้น มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ให้ลองคิดว่าต้องปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดอย่างไรบ้าง ●  คาดหวังผลสัมฤทธิ์แบบไหน พวกเราต้องการผลสัมฤทธิ์ต่อ PQCDSM (ยอดผลิต คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ ความปลอดภัย ขวัญกำลังใจ) จากกิจกรรมการผลิต  นั่นก็คือ ความคาดหวังว่าจะมีการยกระดับ “การผลิตผลิตภัณฑ์ตามปริมาณที่จำเป็น คุณภาพที่จำเป็น ด้วยต้นทุนที่จำเป็น ไม่ล่าช้าต่อระยะเวลาส่งมอบที่จำเป็น ด้วยความกระตือรือร้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย” และในหัวข้อที่คาดหวังแต่ละอัน มีดัชนีชี้วัดเพื่อการประเมิน พวกเราจะมองสิ่งเหล่านี้ขณะต้องประเมินว่า “อะไรทำได้ อะไรที่ยังทำไม่ได้” อยู่เสมอ  สิ่งที่จำเป็นเพื่อการประเมินนี้คือ “กระดานกิจกรรม (Activity Board)”  เป็นสิ่งที่พวกเราต้องดำเนินการในกิจกรรมกลุ่มย่อย ●  สิ่งต่าง ๆ ในกิจกรรมการผลิต พวกเรา ต้องทำกิจกรรมการผลิตโดยใช้ของหลายอย่างจริง ๆ  และเพื่อใช้ “สิ่ง” เหล่านั้น มีสิ่งที่กำหนด (สิ่งที่สัญญา) ให้ต้องปฏิบัติตาม ในการบรรลุผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง ต้องปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดให้ปฏิบัติตามอย่างแน่นอน […]

ตอน 29 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คด้วยตนเอง 6. การตรวจเช็คด้วยตนเองในสถานที่ปฏิบัติงานด้วยมือ

       การตรวจเช็คโดยรวมของสถานที่ปฏิบัติงานด้วยมือ ให้ตรวจเช็คมาตรฐานการปฏิบัติงานชั่วคราวตาม “Check Sheet การปฏิบัติตามได้ยาก (การประเมินระดับความยากง่ายของการปฏิบัติงาน)”        แล้วทำการไคเซ็นข้อบกพร่อง จากนั้นจึงแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงานชั่วคราวด้วยตัวหนังสือสีแดง       ใน Step 5 “การตรวจเช็คด้วยตนเอง” ให้ดำเนินการฝึกฝนการปฏิบัติงานให้ทุกคนตามเนื้อหานั้นก่อนที่จะทำให้เป็นมาตรฐานตัวจริง        มีการตรวจสอบเนื้อหาการปฏิบัติงาน และต้องทำการยกระดับทักษะการปฏิบัติงานของทุกคน  ในตอนนั้น จำเป็นต้องสร้างกลไกด้วยการจัดเตรียม “ตารางประเมินระดับทักษะ” และตรวจเช็คทักษะของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อทำการฝึกฝนยกระดับทักษะอย่างต่อเนื่อง        ในการประเมินทักษะ ขอให้จำไว้ว่ามี 4 ระดับ คือ “รู้” “พอทำได้” “ทำได้ด้วยความมั่นใจ” “สามารถสอนได้” เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอนที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.