โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับจำนวนเป้าหมายการซ่อมบำรุงซึ่งเป็นโจทย์ที่ใหญ่  นั่นเป็นสาเหตุให้ระยะเวลาการปรับก่อนเริ่มดำเนินการยืดเวลาออกไป และยังมีภาระในการหาคนมาปฏิบัติงานนั้น จึงจำเป็นต้องทำการไคเซ็น  ในการไคเซ็น ดังแสดงในผังที่ 6-28

        ลดจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุง

      ② ทบทวนแผนการบำรุงรักษาระยะยาว  ผลคือสามารถลดจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์เป้าหมายการซ่อมบำรุงได้มากกว่า 20%

      เกี่ยวกับหัวหน้าผู้ควบคุมในการจัดการการซ่อมแซมเป็นประจำโดยรวม เกิดโจทย์การบริหารหน้างานว่าคนในตำแหน่งหน้าที่ระดับไหนจึงจะเหมาะกับหน้าที่ที่จะทำให้ “การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพดีและทำได้ด้วยความปลอดภัย” 

      บริษัทของเรามีหัวหน้างานของหน้างาน คือ หัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน, Team Leader, Group Manager  ผู้ที่รู้จักหน้างานเป็นอย่างดีน่าจะเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน จึงเปลี่ยนหัวหน้าผู้ควบคุมจาก Team Leader ในตอนแรกมาเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน  เรามี 4 ทีม 3 ผลัด หัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน 4 คนเปลี่ยนเวรกันคนละปี โดยจุดมุ่งหมายอีกอย่างคือการทำให้เกิด (พัฒนา) วิธีการจัดการติดตัวไปด้วย (ผังที่ 6-29)

      โรงงาน B มีการจัดสรรกำลังคนในการผลิต แต่ไม่มีการจัดสรรผู้ดูแลเครื่องจักร  ดังนั้น จากมุมมองการรักษากำลังคนในการซ่อมบำรุงเป็นประจำ การใช้ประโยชน์จากบริษัทที่ให้ความร่วมมือรอบข้างโรงงานจึงเป็นเงื่อนไขที่จำเป็น  แต่เพราะเป็นเครื่องจักรที่ในพื้นที่นั้นแทบไม่เคยมีประสบการณ์ การฝึกอบรมพนักงานบริษัทที่ให้ความร่วมมือจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดเสียมิได้ 

      จึงมีการดำเนินการโดยฝึกอบรมล่วงหน้าก่อนเข้าสู่การซ่อมบำรุงเป็นประจำ พร้อมกับการรักษาความปลอดภัยโดยร่วมมือกับผู้ปฏิบัติงานของบริษัทของเราในการทำงานจริง (ผังที่ 6-30)

       ในเครื่องจักรประเภทกระบวนการ จำเป็นต้องตัดการดูแลท่อทางและเครื่องจักรอุปกรณ์ออกจากกัน สิ่งที่ใช้ที่นั่นคือ “แผ่นกั้น”  แผ่นกั้นนี้เป็นสิ่งที่ต้องถอดออกเมื่อซ่อมบำรุงเสร็จแล้ว  แต่เพราะที่แล้วมาไม่ชัดเจนว่ามีการติดตั้งแผ่นกั้นอยู่ที่ไหนบ้าง จึงเกิดการลืมถอด

      จึงได้ดำเนิน “การไคเซ็นวิธีการจัดการแผ่นกั้น” ดังแสดงในผังที่ 6-31 ถึง 6-33 ทำการใส่หมายเลขซีรีส์ให้กับแผ่นกั้นแต่ละแผ่น อันเป็นการควบคุมปริมาณรวม และควบคุมตำแหน่งสถานที่  ผลของมันทำให้การลืมถอด “เป็นศูนย์” ได้

       Key Point ของงานการซ่อมบำรุงเป็นประจำ คือต้องทำให้ “ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่คุ้นเคยสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย” และ “ถ่ายทอดงานได้อย่างราบรื่น” และต้องทำให้ “ข้อมูลการซ่อมบำรุงเป็นประจำสามารถแชร์ร่วมกันทุกคน” ดังแสดงในผังที่ 6-34 เป็นเนื้อหา theme ที่สมาชิกของผู้ปฏิบัติงานใช้ไอเดียในการไคเซ็นกัน

ผังที่ 6-35 ผลสัมฤทธิ์ (ลดระยะเวลาการซ่อมบำรุง)

★ ผลสัมฤทธิ์ ★

ทำให้สามารถแบ่งระยะเวลาการซ่อมบำรุงเป็นประจำได้ !!

  • กรณีต้องการระยะเวลา minimum
    • สามารถบรรลุระยะเวลา 30 วัน ทำให้สามารถผลิตได้ 11 เดือน
  • กรณีต้องการค่าใช้จ่าย minimum
    • กรณีมีเวลาว่างจากแผนการผลิตพอสำหรับระยะเวลาการซ่อมบำรุง  ก็เปลี่ยนการช่วยงานจากบริษัทที่ให้ความร่วมมือมาเป็นการทำเองภายใน ทำให้งาน outsource เป็น minimum ได้ส่งผลค่าการช่วยงานในปี 2019 ลดลง 163,230 บาท
★ การดำเนินการตามโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักร

ดังที่กล่าวมาข้างต้น การบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นกิจกรรมที่กว้างขวางมาก อีกทั้งเวลาก็ยาวนาน  ดังนั้น จำเป็นที่พนักงานทุกคนต้องร่วมกันบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อให้เดินเครื่องได้อย่างมั่นคง เพื่อให้รักษาผลกำไรได้เป็นพื้นฐาน  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยการทำสิ่งเดียวกัน ใช้เวลาเท่ากัน  อยากให้ใช้บทนี้อ้างอิง แล้วอยากให้ทุกคนทบทวนโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วมกันใหม่

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM