3.3 Autonomous Management และกิจกรรมไคเซ็น ใน TPM เราจะกำหนดโจทย์หรือหัวเรื่องที่ต้องบรรลุในปีนี้ จากเป้าหมายเบื้องบนของสถานที่ทำงาน แล้วแสดงออกมาให้เห็น เช่น บน Activity Board ถ้าหัวเรื่องกิจกรรมเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ยากเมื่อยังทำเป็นส่วนหนึ่งของ Daily Management และหวังผลลัพธ์ไม่ได้ ก็จำเป็นทำกิจกรรมไคเซ็นเพื่อมีมาตรการแก้ไข ในการสร้างมาตรการ ต้องทำให้สาเหตุที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลังชัดเจน เพื่อการนี้ เราจะไม่อาศัยความสามารถในการจัดการที่ต้องพึ่งเคล็ด-ประสบการณ์เก่า ๆ แต่ต้องการความสามารถในการลิสต์ปัจจัย ตามไคเซ็นสตอรี่ที่มีเหตุมีผล ตามข้อเท็จจริงและระบบ และยังสามารถพิสูจน์ได้ด้วย ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมไคเซ็น จึงเป็นการหาปัจจัยที่ไม่เพียงพอในกิจกรรม Maintain แล้วทำการไคเซ็น สร้างมาตรการ ในที่นี้ เราจะเรียก “ความสามารถในการวิเคราะห์ปัจจัย” “ความสามารถในการทำไคเซ็น” และ“ความสามารถในการกำหนดเงื่อนไข” ว่าเป็น ความสามารถ 3 ประการที่จำเป็นในกิจกรรมไคเซ็น ในสถานที่ทำงานที่เป็น Autonomous Management ก็คือ สถานที่ทำงานที่มีฟังก์ชั่นทั้งสอง คือ Maintain และไคเซ็น อีกทั้ง ใน Step 7 ซึ่งเป็น […]
3. Quality Maintenance และ Autonomous Management 3.2 Daily Management และ Autonomous Maintenance
3.2 Daily Management และ Autonomous Maintenance หนึ่งในการทำ Daily Management เพื่อบรรลุเป้าหมายงานในที่ทำงาน ก็คือกิจกรรม Autonomous Maintenance กิจกรรม Autonomous Maintenance เป็นกิจกรรมของโอเปอเรเตอร์เพื่อ “ปกป้องเครื่องจักรของตัวเองด้วยตัวเอง” (1) Step 1: การทำความสะอาดเบื้องต้น ด้วยการทำความสะอาดสถานที่ทำงาน หรือเครื่องจักรอย่างจริงจัง ทำให้ค้นพบสิ่งผิดปกติ หรือข้อบกพร่อง อย่างเช่นการเปื้อนน้ำมัน หรือสกรูหลวม ได้ แล้วติด tag >>ค้นพบสิ่งผิดปกติ และสิ่งที่จัดการได้ด้วยพวกตนเองก็จัดการแก้ไข (ปลด tag) >> ฟื้นสภาพ (2) Step 2: มาตรการต่อแหล่งต้นตอ จุดที่ยาก ถึงทำความสะอาดหลายครั้งแล้วก็ยังสกปรกอีก ถึงจะฟื้นสภาพแล้วก็ยังกลับไปเป็นสภาพเดิม น่ารำคาญ และเสียเวลา สิ่งเหล่านี้เราจะมามีมาตรการต่อแหล่งต้นตอ จุดที่ยากกัน >> ไคเซ็นเงื่อนไข (ไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย) (3) Step 3: จัดการมาตรฐานชั่วคราวของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง […]
3. Quality Maintenance และ Autonomous Management 3.1 กิจกรรม Maintain และกิจกรรมไคเซ็น
งานประจำวันของพวกเราดำเนินการอยู่ในระบบ “Daily Management” Daily Management ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงคุณภาพ-ปริมาณของงาน แต่เป็นการบรรลุเป้าหมา ยของงาน ด้วยวิธีการทำงานแบบดั้งเดิม และภายใต้กติกาเดียวกัน สิ่งนี้จึงเรียกว่า เป็น “กิจกรรม Maintain” แต่เมื่อมีความเข้มงวดกับความแม่นยำของผลิตภัณฑ์มากขึ้น เป้าหมายการผลิตก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายงานอย่างมาก จะทำให้วิธีการทำงานแบบเดิมรับมือไม่ไหว ในกรณีเช่นนี้ จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายหรือวิธีการทำงานที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายใหญ่ของงาน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้นใหม่นั้น จำเป็นต้องมีการไคเซ็นต่าง ๆ และสร้างเกณฑ์มาตรฐานเพื่อรักษาประสิทธิผลนั้นไว้อย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้เรียกว่า “กิจกรรมไคเซ็น” กิจกรรม Maintain ก็คือ (1) ถ้ามีข้อบกพร่อง (ค้นพบ) (2) ฟื้นสภาพข้อบกพร่อง (3) ไคเซ็นเงื่อนไข (วิธีการทำงาน) ให้ปฏิบัติตามได้ง่าย (4) Maintain-ควบคุมเงื่อนไข (วิธีการทำงาน) นั้น และกิจกรรมไคเซ็นก็คือ (1) ค้นหาปัจจัยใหม่ ๆ (2) ทำการไคเซ็น สร้างมาตรการ (3) สร้างเกณฑ์มาตรฐานเพื่อรักษาประสิทธิผลนั้นได้อย่างต่อเนื่อง ■ ผังที่ 2-5 แนวคิดในการทำ […]
2.1 QM Matrix คืออะไร
2.1 QM Matrix คืออะไร ในการกำหนดเงื่อนไข ควบคุมเงื่อนไข หากมีเครื่องมือที่จะสะสางความสัมพันธ์ของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และเงื่อนไขที่ทำให้ของเสียเป็นศูนย์ได้ก็จะสะดวก หนึ่งในนั้นก็คือ QM Matrix (ตารางประเมินระดับการรับประกันคุณภาพ) หรือบางทีก็เรียกว่า Quality Maintenance Matrix Concept ของ QM Matrix ก็ดังแสดงไว้ในผังที่ 2-4 เป็นการใช้สัญลักษณ์ 〇 ในผัง Matrix เพื่อเปรียบเทียบเงื่อนไข 4M (หัวข้อตรวจเช็ค) ซึ่งเป็นเชิงสาเหตุ ที่เกี่ยวเนื่องกับคุณลักษณะทางคุณภาพต่าง ๆ ที่ต้องการจากผลิตภัณฑ์ และการ Built in คุณภาพนั้น อีกทั้งยังสามารถจัดเตรียม QM Matrix แบ่งตามแต่ละผลิตภัณฑ์ หรือแต่ละกระบวนการได้ ปริมาณและคุณภาพที่ดีของ QM Matrix จะเป็นการแสดงถึงความแพร่หลายของกิจกรรม QM ที่มุ่งจะทำให้ของเสียเป็นศูนย์ เคลมเป็นศูนย์ ■ ตารางที่ 2-1 ตัวอย่างคุณลักษณะทางคุณภาพ และหัวข้อตรวจเช็ค ■ […]
บทที่ 2 กลไกไม่ให้เกิดของเสีย Quality Maintenance
1. แนวคิดของ Quality Maintenance 1.1 ขั้นตอนของ Quality Maintenance ในหน้างานการผลิต เราต้องผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยคุณภาพที่ลูกค้าหรือกระบวนการถัดไปต้องการ นั่นก็คือ ขั้นตอนของ Quality Maintenance ในการดำเนินระบบเพื่อรับประกันคุณภาพในเชิงผลลัพธ์ จะเป็นดังขั้นตอน (1) – (5) ต่อไปนี้ โดยทั่วไป เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ จะมีความเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหลากหลาย เช่น อุณหภูมิ แรงดัน แต่ในที่นี้ จะอธิบายตัวอย่างเงื่อนไขตัวหนึ่ง คืออุณหภูมิของอุปกรณ์ ตัวอย่าง ►►อุณหภูมิของอุปกรณ์ กำหนดเงื่อนไข ของเสียเป็นศูนย์ ก่อนอื่น กำหนดค่าอุณหภูมิเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีของเสียเป็นศูนย์ เพื่อการนี้ จำเป็นต้องค้นหา สเปก คู่มือของที่ทำงาน รวบรวมเอกสาร เช่น มาตรฐานเทคโนโลยี ทำให้รู้ว่าต้องกำหนดให้อุณหภูมิเครื่องจักรต่ำกว่า 80˚C ตรวจเช็ค-ตรวจวัดเงื่อนไขตามเวลา ต่อจากนั้น ให้ทำการตรวจเช็ค-ตรวจวัดสภาพของอุณหภูมิของอุปกรณ์ ในการนี้ ต้องกำหนดรอบ ความถี่ของการตรวจเช็ค และวิธีตรวจวัดให้ดี แล้วดำเนินการตรวจเช็ครายวัน หรือตรวจเช็คเป็นประจำ รักษาเงื่อนไขให้อยู่ภายในค่าเกณฑ์ จากการตรวจเช็ครายวัน […]
2. การบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance)
2. การบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance) 2.1 จุดควบคุมคืออะไร พวกเรามีการควบคุมสภาพของหน้างานการผลิตด้วยหัวข้อต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า จุดควบคุม ตัวอย่างเด่น ๆ ก็เช่น คุณภาพของผลิตภัณฑ์ จุดควบคุม แบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 อย่างคือ 1.หัวข้อควบคุมที่ใช้เช็คคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้ว (เชิงผลลัพธ์) เช่น ขนาดผลิตภัณฑ์ 2.หัวข้อตรวจเช็คที่ใช้เช็คเงื่อนไขเพื่อการ built in คุณภาพในผลิตภัณฑ์ เช่น เงื่อนไขอุณหภูมิเครื่องจักร กิจกรรมป้องกันการหลุดรอดด้วยการ ตรวจสอบก่อนจ่ายของ ซึ่งทำเป็นงานการควบคุมคุณภาพ เนื่องจากเป็นหัวข้อควบคุมต่อผล “ที่เสร็จออกมาแล้ว” ส่วนใหญ่จึงเป็นการควบคุมตามหลัง ทำให้ไม่สามารถมีมาตรการได้อย่างรวดเร็ว หรือทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เป็นมูดะ และ loss ดังนั้น กิจกรรมเพื่อให้ของเสียด้านคุณภาพเป็นศูนย์ สิ่งสำคัญคือต้องเปลี่ยนจากการควบคุมเชิงผลแบบนั้น สู่การควบคุมหัวข้อการตรวจเช็คซึ่งเป็นการควบคุมเชิงสาเหตุ ที่จะต้องมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของ หลักการ-กฎเกณฑ์ของการแปรรูป 2.2 สเปกคุณภาพ สเปกคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้อธิบายมา ปกติจะแบ่งได้เป็น 3 (สเปกผลิตภัณฑ์ สเปกการตรวจสอบ สเปกการผลิต) สเปกเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันดังผังที่ […]
บทที่ 1 ทำไมถึงต้องบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance) 1. ของเสียด้านคุณภาพคืออะไร
1. ของเสียด้านคุณภาพคืออะไร 1.1 ปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบัน ในที่ทำงานของพวกเรา มีปัญหาต่าง ๆ หลากหลายมากมาย และระดับของปัญหาก็มีต่าง ๆ นานา สิ่งสำคัญคือการ “สังเกตเห็นปัญหาว่าเป็นปัญหา” ทุกคนคงเคยคิดแบบนี้อย่างน้อยสักครั้งหนึ่งใช่ไหม โดยเฉพาะปัญหาเรื่องคุณภาพ ไม่ใช่แค่ของเสียด้านฟังก์ชั่นหรือสมรรถนะ แต่ยังรวมถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อภาพรวม เช่น ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ลูกค้าต้องการ อย่างเช่น ราคาหรือกำหนดส่งมอบด้วย 1.2 กระบวนการถัดไปคือลูกค้า คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่พวกเราผลิตขึ้น ไม่ใช่สิ่งที่กำหนดโดยพวกเราซึ่งเป็นผู้ผลิต แต่กำหนดด้วยความต้องการ-needs ของลูกค้า คำว่าลูกค้าไม่ได้ใช้เรียกแค่บริษัทที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่พวกเราผลิต ในการจะผลิตจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่ง จะต้องผ่านหลายกระบวนการ และหลายการปฏิบัติงาน ก็อย่าลืมว่ากระบวนการ หรืองานถัดไปของผลิตภัณฑ์ที่พวกเราผลิตขึ้นแล้วส่งให้ไป ก็คือลูกค้าของพวกเราเหมือนกัน ▪ ผังที่ 1-1 สิ่งที่เรียกว่า “คุณภาพ” 1.3 ควบคุมคุณภาพ สิ่งสำคัญที่สุดคือการได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น แต่กลับกัน “คุณภาพไม่ดี” คือเป็นอย่างไร สิ่งที่จะกำหนดเป็นตัววัดว่าดี-ไม่ดี ก็คือก้าวแรกของกิจกรรมของเสียเป็นศูนย์ และเป็นพื้นฐานของการควบคุมคุณภาพ ก่อนอื่น ต้องทำความชัดเจนกับคำว่า “คุณภาพ” […]
ตอน 1 เข้าใจง่าย ทำได้แน่นอน การบำรุงรักษาคุณภาพที่ดำเนินการด้วย “Infinite Loop”
“Infinity Loop” เทคนิคนี้ตอนได้ยินครั้งแรก จากการทำกิจกรรม TPM ที่เพิ่งเริ่มต้น รู้สึกว่ามันสดใหม่มาก จากการ maintain สู่การไคเซ็น นั่นก็คือ ก่อนอื่นต้องลองปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนด แล้วถ้ายังไม่ดี ก็ต้องลองทบทวนสิ่งที่กำหนด ในสมัยที่ตัวอย่างและข้อมูลยังน้อย ประสบการณ์ที่ต้องต่อสู้ พยายามจะใช้เทคนิคนี้ในบริษัทของตนเอง ก็ได้กลายเป็นพื้นฐานของกิจกรรมไคเซ็น ในตอนนี้ Infinity Loop ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพที่มีปัจจัยซับซ้อนหลายตัว ให้คืบหน้าได้อย่างมั่นคง โดยดำเนินการตาม Step ที่ประกอบด้วยกิจกรรมไคเซ็นอันหลากหลาย จึงเชื่อมั่นว่านี่คือเทคนิคที่เข้าใจง่ายมาก ๆ โลกปัจจุบันนี้ เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องการคุณภาพที่ดีของทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ ในหน้างานการผลิต เพื่อมุ่งสู่การทำการบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance) ได้อย่างมั่นคงด้วยการ Built in คุณภาพ หวังว่าความรู้นี้จะเป็นตัวช่วยในการทำกิจกรรมไคเซ็นของทุกท่าน
Karakuri Concept กลไกพื้นฐานที่นำมาสร้าง Karakuri Kaizen 8. ไฟฟ้า
หลักการของมอเตอร์ ที่เปลี่ยนไฟฟ้าเป็นการทำงาน ด้วยแม่เหล็กและขดลวด -1- พลังของไฟฟ้าและพลังของแม่เหล็ก สร้างสนามแม่เหล็กด้วยกระแสไฟฟ้า เมื่อนำเข็มทิศเข้าใกล้ลวดนำไฟฟ้าที่มีไฟฟ้ากระแสตรงไหลอยู่ในทิศทางเหนือใต้ เข็มทิศจะส่าย เข็มทิศที่วางด้านบนของลวดนำไฟฟ้า กับที่วางด้านล่างของลวดนำไฟฟ้า จะส่ายไปในทางตรงข้ามกัน อีกทั้งเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าให้แรงขึ้น เข็มทิศจะส่ายกว้างมากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบลวดนำไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหล โดยจะเกิดสนามแม่เหล็กในทิศทางเดียวกับเกลียวขวาดังผังที่ 8-1 ตามทิศทางการไหลของไฟฟ้า สิ่งนี้เรียกว่า “กฎมือขวา (right-handed screw rule)” ความแรงของสนามแม่เหล็กจะเป็นสัดส่วนตรงกับความแรงของกระแสไฟฟ้า และเป็นสัดส่วนผกผันกับระยะทางจากลวดนำไฟฟ้า สนามแม่เหล็กรอบขดลวด ดังผังที่ 8-2 แม้จะทำให้ลวดนำไฟฟ้าเป็นรูปวงกลม ก็จะได้สนามแม่เหล็กตามกฎมือขวาที่จุดต่าง ๆ บนลวดนำไฟฟ้าเช่นกัน เมื่อนำมาวางเรียงกันหลายชั้นก็จะเป็นขดลวดที่ใช้กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้แนะนำในมุมทดลองของบทที่แล้ว เมื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวด สนามแม่เหล็กรอบกระแสไฟฟ้ารูปวงกลมจะต่อกันจนเป็นสนามแม่เหล็กหนึ่งเดียว สนามแม่เหล็กนี้ จะแทบขนานกันที่ด้านในของขดลวด แต่ด้านนอกจะเหมือนกับแท่งแม่เหล็ก ดังนั้น ตะปูด้านในก็จะทำหน้าที่เป็นแม่เหล็ก อีกทั้งจากทิศทางของสนามแม่เหล็ก ทำให้ทราบว่าแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวจะมีขั้ว N ทางด้านหัวตะปู แรงที่กระแสไฟฟ้าได้รับจากสนามแม่เหล็ก ก่อนอื่น ดังผังที่ 8-3 อุปกรณ์ที่ประกอบขึ้นจากชิงช้าที่ทำจากลวดนำไฟฟ้าและแม่เหล็ก เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไปที่ลวดนำไฟฟ้านี้ ลวดนำไฟฟ้ารูปชิงช้าจะขยับ เพราะอะไร ? นั่นเป็นเพราะเป็นปรากฏการณ์ที่สนามแม่เหล็กของแม่เหล็ก และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในลวดนำไฟฟ้าที่มีตำแหน่งอยู่ด้านในเกิดการทำงานร่วมกัน ถ้าทิศทางของสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็ก […]
Karakuri Concept (กลไกพื้นฐานที่นำมาสร้าง Karakuri Kaizen) 7. แม่เหล็ก
คุณสมบัติของแม่เหล็ก ที่มีอยู่มากมายรอบตัวเรา -1- หินมหัศจรรย์ซึ่งมีพลังที่มองไม่เห็น สำหรับคนยุคโบราณ แม่เหล็กเป็นหินมหัศจรรย์จริง ๆ มองไปก็เหมือนก้อนหินธรรมดาที่ไม่มีอะไรพิเศษ แต่กลับดูดเหล็กได้ เข็มเล็ก ๆ ที่ทำจากแม่เหล็กก็ชี้ทิศเหนือทิศใต้ได้อย่างถูกต้องตลอดเวลา เห็นว่าไอน์สไตน์สมัยยังเล็ก เมื่อเห็นเข็มทิศชี้ทิศเหนือ จึงได้รู้ว่ามีกฎเกณฑ์ที่ซ่อนไว้อยู่ในโลกธรรมชาติ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับ “แม่เหล็ก” มีอยู่มากมายรอบตัวเรา ตั้งแต่มอเตอร์ที่ใช้ในเครื่องซักผ้า พัดลม จนถึงวิดีโอเทป ฟล็อปปี้ดิสก์ และแม้แต่โลกของเรา ความจริงแล้วก็คือแท่งแม่เหล็กขนาดยักษ์นั่นเอง เข็มทิศที่กล่าวถึงก่อนหน้า ก็เพราะว่าที่ใกล้ขั้วโลกเหนือมีขั้ว S ของแม่เหล็กโลก และที่ใกล้ขั้วโลกใต้มีขั้ว N ของแม่เหล็กโลก ทำให้ขั้วตรงข้ามถูกดูดเข้าหา ขั้ว N ของเข็มทิศจึงชี้ทิศเหนือ และขั้ว S จึงชี้ทิศใต้อยู่เสมอ ขนาดของแรงที่กระทำระหว่างขั้วแม่เหล็ก แม่เหล็กมีคุณสมบัติคือ หากเป็นขั้วเดียวกันจะผลักกัน และจะดูดกันเมื่อขั้วต่างกัน แรงที่กระทำระหว่างขั้วแม่เหล็กทั้งสอง เป็นสัดส่วนเท่ากับผลคูณของปริมาณพลังแม่เหล็กที่ขั้วแม่เหล็กแต่ละขั้วมี อีกทั้ง เมื่อระยะห่างเป็น 2 เท่า 3 เท่า ยิ่งห่างมากเท่าไร แรงก็จะอ่อนลงเป็น 1/22 และ 1/32 ตามลำดับ เป็นกฎของพลังแม่เหล็กที่เรียกว่า […]