1. เข้าใจฟังก์ชัน โครงสร้าง การเคลื่อนไหว ของ เครื่องจักรและชิ้นส่วนจากหลักการกฎเกณฑ์ การบำรุงรักษาเครื่องจักร เป็นการ “บำรุงรักษาทุกชิ้นส่วน” นั่นก็คือ ความครอบคลุมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อการนี้ ไม่ใช่แค่เครื่องจักร จำเป็นต้องรู้ถึงฟังก์ชันกระทั่งถึงชิ้นส่วน จากการทำให้การบำรุงรักษาตามทฤษฎีเป็นพื้นฐาน จะเป็นการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาที่ไม่ขาดตกบกพร่อง สิ่งที่ห้ามลืมคือ ไม่ใช่ว่าต้องทำการบำรุงรักษาทุกชิ้นส่วนเท่าเทียมเสมอกัน อีกทั้งยังต้องจัดการแต่ละปัจจัยที่มีผู้ดูแลต่างกันให้ราบรื่น และป้องกันการตกหล่น 2. เรียนรู้กลไกของการขัดข้อง และประเมินผลกระทบเมื่อเกิดการขัดข้อง การครอบคลุมทุกชิ้นส่วนซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในความเป็นจริงจะบำรุงรักษาแบบไหนจำเป็นต้องเชื่อมโยงกิจกรรมบำรุงรักษาและความประหยัดในแง่ของการบริหารบริษัท ในการบำรุงรักษาจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย การทำให้รากฐานการกำหนดระบบการบำรุงรักษาชัดเจน จะเป็นการเชื่อมโยงการรักษา-ไคเซ็นค่าใช้จ่ายนี้กับเครื่องจักรอย่างมีเทคนิค และทักษะของหน้างาน เพื่อการบำรุงรักษาที่เป็นหนึ่งเดียวกับการบริหาร เพื่อการนี้ ต้องศึกษาว่าการขัดข้องทำไมจึงเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร และผลกระทบนั้น จากผลนั้น จึงเลือกระบบ […]
ตอน 5 Planned Maintenance(การบำรุงรักษาเครื่องจักรตามทฤษฎีที่มีแผนการเป็นตัวนำ)
เพื่อการนี้ ก่อนอื่นจำเป็นต้องกำหนดว่า “จะบำรุงรักษาอย่างไร” ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร ทรัพยากร นั่นคือ เงิน คน เป็นต้น เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แล้วจึงกำหนดงบประมาณ ดำเนินการตาม “แผนการ” นั้น และในการ “ประเมิน” ให้วิเคราะห์ผลต่างของงบประมาณ เพื่อเชื่อมโยงสู่งบประมาณครั้งถัดไป อันเป็นการหมุนตามวงจร PDCA ประเมินผลของกิจกรรม คือ ผลงาน เช่น สภาพการรักษาเครื่องจักร ความถี่ในการขัดข้อง เวลาซ่อม แล้วใช้สิ่งเหล่านี้ในการพิจารณาจัดทำแผนการของปีถัดไป การจะจัดทำแผนการได้ ต้องมีการกำหนดระบบการบำรุงรักษาอย่างเป็นรูปธรรม และจำเป็นต้องสามารถประเมินราคาของงานบำรุงรักษาและการตรวจสอบแต่ละอันได้ เพราะเกี่ยวข้องกับคนและองค์กรจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีแนวคิดของการบำรุงรักษาตามทฤษฎี ★ “มองเห็น” Know-how การบำรุงรักษา “มองเห็น” PDCA การบำรุงรักษาเครื่องจักร มีทั้งแง่มุมของ “การจัดการการบำรุงรักษา” แง่มุมของ “เทคโนโลยีเฉพาะด้าน” และยังมีแง่มุมของ “ทักษะ” […]
ตอน 1 Planned Maintenance กิจกรรมบำรุงรักษาเครื่องจักรตามทฤษฎีที่มีแผนการเป็นตัวนำ
1 “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” คือ (1) ปัจจัย 3 ประการของการบำรุงรักษาเครื่องจักร: “ความน่าเชื่อถือ” “ความครอบคลุม” “ความประหยัด” ★ เพิ่มฟังก์ชันของเครื่องจักรเสริมเข้าไปในมุมมองเครื่องจักรเป็นศูนย์กลาง “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” คือ “การรักษาความสมบูรณ์ของเครื่องจักร” นั่นก็คือ การรักษาสภาพที่ดีของเครื่องจักร เครื่องจักรเป็นเครื่องมือเพื่อทำให้ “สิ่งที่มนุษย์อยากได้” เป็นจริง การรักษาสภาพที่ดี ก็เป็นการรักษา “สภาพที่สามารถทำฟังก์ชันที่ต้องการจากเครื่องจักรได้เป็นอย่างดี” เมื่อคิดถึงเครื่องจักรในฐานะเครื่องมือ เพื่อให้เครื่องจักรในปัจจุบันทำงานได้อย่างเต็มที่ที่สุด จึงมีการทำกิจกรรมฟื้นฟูเครื่องจักรปัจจุบันเป็นพื้นฐานที่จะต้องทำ ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ได้ขนาดทรงกลม ก็ต้องควบคุมสกรูเพื่อไม่ให้เกิดการคลอนของกลไกการกด เป็นการบำรุงรักษาเพื่อรักษาเงื่อนไขที่มองจากด้านของเครื่องจักร […]