7) Step 19 : กำหนดดัชนีควบคุม Step 21 : จัดทำระบบข้อมูล

       งานการบำรุงรักษาจะถูกผลักดัน ขณะที่หมุนตาม Main Cycle และ Sub Cycle ของโครงสร้างการบำรุงรักษา  จากการนี้ สภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักรก็ได้รับการพัฒนา  ดัชนีการบำรุงรักษาเครื่องจักรแต่ละตัวไม่ได้เป็นเอกเทศกัน แต่ผลที่ได้ ดัชนีต่าง ๆ จะเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน 

       ดังนั้น จึงไม่ควรตัดสินด้วยดัชนีตัวใดตัวหนึ่ง แต่ควรตัดสินถึงความเหมาะสมของการบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยดูโดยรวม ดังแสดงเป็นโครงสร้างในผังที่ 5 -14

      ดังได้ทราบจากผังนี้ ผลของค่าซ่อมแซมจะเปลี่ยนไปตามการขัดข้องและการ set up จริง  หรือคิดในทางกลับกัน การขัดข้องหรือการ Set up ที่เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของค่าซ่อมแซม  ในการดำเนินการบำรุงรักษาตามแผนการนี้

      ในตอนนั้น ควรนำบันทึกของสิ่งต่อไปนี้มาสร้างเป็น database เพื่อทำการประเมินผลของการบำรุงรักษาและทบทวนแผนการบำรุงรักษาต่อไป  การบันทึกควรรวบรวมและควบคุมให้เป็นหนึ่งเดียวจะดีกว่า  ตัวอย่างดัชนีมีดังต่อไปนี้

ส่วนที่เกี่ยวกับ Performance
  • ค่าบำรุงรักษา: ค่าแรง ค่าเครื่องจักรหนัก ค่าทาสี ค่าล่วงเวลา ค่าจัดซื้อสิ่งของ
  • OEE: Availability Rate, Performance Rate, Quality Rate
  • เกี่ยวกับความปลอดภัย: จำนวนการเกิดอุบัติเหตุ, จำนวน Near Miss, ผลของการลาดตระเวน
  • การส่งมอบ: จำนวนวัน SD, สภาพการหยุดหลังทดลองเดินเครื่อง, อัตราการเกิดของเสียด้านคุณภาพหลังทดลองเดินเครื่อง
  • MTBF, MTTR
  • ความสามารถในการประเมินแผนงาน
  • ความสามารถในการตรวจรับงาน
ส่วนที่เกี่ยวกับ Process
  • การเพิ่มลดของการเกิดการขัดข้อง : จำนวนการขัดข้อง
  • เวลาหยุดเพราะการขัดข้อง: เวลาระบุสาเหตุการขัดข้อง, เวลาฟื้นสภาพ
  • ผลของการตรวจเช็คหน้างาน: จำนวนข้อบกพร่องที่ค้นพบ, จำนวนข้อบกพร่องที่มองตกหล่น
  • การหยุดกะทันหัน: จำนวนครั้ง-เวลาที่หยุดกะทันหัน, จำนวนครั้งที่ถูกเรียกฉุกเฉิน
  • ทักษะหน้างาน: การเชื่อม การตั้งศูนย์ เป็นต้น
  • เอกสารมาตรฐาน หนังสือคู่มือ หนังสือขั้นตอน Check List เป็นต้น
  • การใช้เทคนิควินิจฉัยเครื่องจักร: การวินิจฉัยแรงสั่นสะเทือน การควบคุมน้ำมัน เป็นต้น
หมายเหตุ:  MTBF: Mean Time Between Failure
                   MTTR: Mean Time To Repair
ความเชื่อมโยงของข้อมูลการบำรุงรักษา: ตัวอย่างการสร้างระบบดัชนีและการดำเนินกิจกรรม

       มาอธิบายตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมกันดีกว่า  ผลสัมฤทธิ์ของการบำรุงรักษาดังแสดงในผังที่ 5-15 

       แสดงด้วยการผลรวมของ [ปริมาณการสึกหรอ V / ความแม่นยำของแผนการบำรุงรักษา] และ [1 / ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Koritsu) X ความสามารถในการผลิต (Noritsu)] หารด้วย การผลิต P จากสูตรนี้จะเห็นได้ว่า

  1. การทำให้ปริมาณการสึกหรอน้อยที่สุด
  2. ยกระดับความแม่นยำของแผนการบำรุงรักษา
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Koritsu) ความสามารถในการปฏิบัติงาน (Noritsu)
  4. ทำให้ปริมาณการผลิต ผลสัมฤทธิ์สูงสุด

       จะเป็นมุมมองในการไคเซ็น ตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรมดังแสดงในผังที่ 5-16  เมื่อเป็นเช่นนี้ จากการทำให้กิจกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นดัชนีชี้วัด ทำให้การบำรุงรักษาเครื่องจักรและความต้องการทางการบริหาร (Management Needs) ตรงกันได้ 

      ทำให้กิจกรรมไคเซ็นหน้างานและการยกระดับดัชนีการบริหารเป็นหนึ่งเดียวกัน  จากกิจกรรมดังกล่าว คราวนี้ เราก็มากำหนดดัชนีผลสัมฤทธิ์แต่ละตัว แล้วดำเนินกิจกรรมไคเซ็น ดังตัวอย่างที่แสดงในผังที่ 5-17

      ทีนี้ เมื่อจะดำเนินกิจกรรมนี้ที่หน้างานจริง จุดสำคัญอยู่ที่ว่าจะจับผลลัพธ์ได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น

  1. ดัชนีระดับบนที่ใกล้กับดัชนีการบริหาร เช่น ค่าซ่อมแซม ปริมาณการผลิต คุณภาพ
  2. ดัชนีกระจายครั้งที่ 1 ของดัชนีระดับบน เช่น ค่า outsource ค่าจัดซื้อสิ่งของ
  3. ดัชนีกระจายของ 2 เช่น ชั่วโมงแรงงาน (Man-Hour) ของการซ่อมบำรุงใหญ่ จำนวนเครื่องจักรหนัก
  4. ข้อมูลการตรวจรับหลังการตรวจสอบ ข้อมูลตรวจวัดต่าง ๆ เมื่อถอดเครื่อง
  5. ดัชนีกิจกรรมหน้างาน เช่น การขัดข้อง ความผิดพลาดของการซ่อมบำรุงใหญ่
  6. สารสนเทศ เช่น การวินิจฉัยเครื่องจักร การตรวจสอบ-หล่อลื่น

       เป็นต้น การรวบรวมข้อมูลมากมายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  นั่นก็คือ จำเป็นต้องมีการจัดการข้อมูล 

       การจัดการข้อมูลนี้หากฟังก์ชันได้ดี  ก็ใช้สิ่งนี้เป็นรากฐานของการจัดทำแผนงานและประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินการ  ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถมีจิตสำนึกร่วมกันด้วยการเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น 

       อีกทั้ง ใช้พื้นฐานเหล่านี้ ในการทำให้งบประมาณกับกิจกรรมสอดคล้องกัน ก็จะทำให้สามารถควบคุมงบประมาณ/ผลจริงให้ราบรื่น

       โดยทั่วไป การจัดการข้อมูลเช่นนี้ ช่างซ่อมบำรุงที่ระดับหน้างาน มักจะไม่ถนัด  แต่การจัดการข้อมูลเช่นนี้จึงจะมีจิตสำนึกต่อกิจกรรมการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง  ขอแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ในการจัดการข้อมูลที่บริษัทวิศวกรรมหลายแห่งจัดจำหน่าย 

       สิ่งที่ควรระวังคือ หากไม่มีการพิจารณาและพัฒนาว่าจะใช้ด้วยแนวคิดอย่างไรในบริษัทฝ่ายที่ทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรก็จะใช้งานได้ดีไม่ได้  หลายบริษัทจึงซื้อระบบแต่ใช้งานอะไรไม่ได้

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM