...

ตอน 15 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 5: จัดทำแผนโครงสร้างการบำรุงรักษา) Step 17 : จัดทำแผนการบำรุงรักษา / Step 18 : จัดทำมาตรฐาน ขั้นตอนปฏิบัติงาน

6) Step 17 : จัดทำแผนการบำรุงรักษา /  Step 18 : จัดทำมาตรฐาน ขั้นตอนปฏิบัติงาน        ในการจัดทำแผนการบำรุงรักษา ต้องจัดทำขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรมของการปฏิบัติงานบำรุงรักษาด้วย         สำหรับงานที่มีการทำซ้ำเป็นประจำ ให้สรุปเป็นเอกสารมาตรฐานของระบบ-วิธีการบำรุงรักษาของแต่ละเครื่องจักร-Unit  อีกทั้งจัดทำปฏิทินและ Check List เพื่อให้ดำเนินการบำรุงรักษาประจำวัน การบำรุงรักษารายเดือนได้อย่างราบรื่น         เอกสารมาตรฐาน ในการดำเนินการวิธีการบำรุงรักษาที่กำหนดในครั้งนี้ ให้ทำความเสี่ยง (risk) ที่ยังหลงเหลืออยู่ให้ชัดเจน และกำหนดลงไปในวิธีการด้วย  ยิ่งไปกว่านั้นให้จัดทำหนังสือขั้นตอนของการปฏิบัติงานบำรุงรักษาจริงด้วย  หนังสือขั้นตอนนี้ให้จัดทำโดยคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย  ตัวอย่างเอกสารมาตรฐานและ Check List ได้แสดงไว้ดัง ผังที่ 5-12 และ5-13       ใน Step นี้สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการทำให้ “know-how” ที่จะต้องถ่ายทอดชัดเจน แล้วจะทำการถ่ายทอดอย่างไร หรือทำให้วิธีการนั้นเป็นรูปธรรมไว้อย่างไร    […]

ตอน 14 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 5: จัดทำแผนโครงสร้างการบำรุงรักษา) Step 16: ทบทวนการแบ่งหน้าที่

  5) Step 16: ทบทวนการแบ่งหน้าที่       หลังกำหนดระบบและวิธีการบำรุงรักษาแล้ว ในการดำเนินงานบำรุงรักษาจริง ต้องมีการแบ่งหน้าที่ของหน่วยงานหรือคนที่จะทำแต่ละโปรแกรมอย่างเป็นรูปธรรม         การทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรในความเป็นจริงคือคน  หากไม่กำหนดว่า “ใครทำอะไร” งานก็ไม่เดินหน้า  การแบ่งงานนี้ เป็นการรักษาระบบการบำรุงรักษา และกำหนดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา  ตัวอย่างการแบ่งหน้าที่โดยภาพรวมของกิจกรรมการบำรุงรักษาได้แสดงในผังที่ 5-10        ตัวอย่างการแบ่งหน้าที่ตามเนื้อหารายละเอียดของงานดังแสดงในผังที่ 5-11         ค่าจัดซื้อสิ่งของ ค่าเช่าเครื่องจักรหนัก การปรับปรุงวิธีการบำรุงรักษา ยกระดับความน่าเชื่อถือ นำเข้าเทคนิคการวินิจฉัยเครื่องจักร เป็นต้น        เป็นงานที่ควรต้องดำเนินการโดยช่างซ่อมบำรุง  อีกทั้ง กรณีที่ขอบเขตของเครื่องจักรกว้างขวาง จุดที่ต้องตรวจเช็คมาก แทนที่จะต้องเพิ่มช่างซ่อมบำรุง สู้แบ่งหน้าที่ไปให้ผู้ปฏิบัติงานทำจะดีกว่า  “ผู้ใช้เครื่องจักร” จะสามารถค้นพบ “ความผิดปกติของเครื่องจักรที่ใช้” ได้อย่างรวดเร็ว        ในกรณีนี้ ผู้ปฏิบัติงานอาจมีทักษะไม่เพียงพอ […]

ตอน 13 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 5: จัดทำแผนโครงสร้างการบำรุงรักษา) Step 14: จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการจัดการเทคโนโลยี

  4) Step 14: จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการจัดการเทคโนโลยี        ตัวอย่างหนึ่งของเกณฑ์เทคโนโลยีดังแสดงในผังที่ 5-9  ต้องทำให้รากฐานการกำหนดค่าทางตัวเลขและสิ่งที่กำหนดต่าง ๆ จากเทคโนโลยี  เกณฑ์เทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นความสามารถด้านเทคโนโลยีของบริษัท         ดังที่กล่าวมาแล้ว แม้ในเกณฑ์เทคโนโลยีเหล่านี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการลงมือทำจริงหรือการลาดตระเวนตรวจเช็ค มักจะเป็นความรู้ที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล  จึงจำเป็นต้องสะสางเทคโนโลยีเหล่านี้ ให้คงไว้เป็นเกณฑ์เทคโนโลยีของบริษัท        เกณฑ์เทคโนโลยีเหล่านี้ เดิมเป็นหัวข้อที่เป็นรากฐานทางเทคโนโลยีในตอนออกแบบ  จากการคงรากฐานทางเทคโนโลยีนี้จะทำให้ สามารถเข้าใจเครื่องจักรและสิ่งที่กำหนด เช่น “ทำไมกฎกติการนั้นจึงถูกสร้างขึ้น” สามารถใช้ดูในการพิจารณาเมื่อเกิดของเสียว่า “สาเหตุของของเสียเกิดจากปัญหาตรงไหนเป็นจุดเริ่มต้น” เป็นต้น การกลับไปที่พื้นฐานเป็นการสืบทอดความสามารถในการคิด (Step 15 ขอข้าม)        การจัดวางกำลังคน ที่ถูกแล้วควรต้องดำเนินการจัด “องค์กร” ตาม “งาน”  แต่ในความเป็นจริง ทุกบริษัทล้วนแต่มีองค์กรอยู่แล้ว แทบทุกบริษัทจึงต้องดำเนินการโปรแกรมนี้ตามองค์กรที่มีอยู่        ดังนั้น ในที่นี้ […]

ตอน 12 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program (Stage 5: จัดทำแผนโครงสร้างการบำรุงรักษา) Step 13: กำหนดรอบหรือคาบ

3) Step 13: กำหนดรอบหรือคาบ        เมื่อกำหนดระบบและวิธีการบำรุงรักษาดังข้างต้นแล้ว ต่อจากนั้นจะเป็นการกำหนดรอบของการบำรุงรักษาว่าควรเป็นแค่ไหน         โดยกำหนดรอบอันเป็นเสาหลักพื้นฐานของงบประมาณ  รอบในการบำรุงรักษา ดำเนินการเพื่อให้การเกิดปัญหาเป็น 0  แต่ต้องกำหนดรอบที่เหมาะสมที่สุดโดยคำนึงถึงความประหยัด        ก่อนอื่น รอบของรูปแบบของการเสื่อมสภาพที่ได้รับการรับประกันไว้เรียบร้อย ให้เริ่มจากการกำหนดรูปแบบการเสื่อมสภาพนั้นก่อน         ผู้ผลิตชิ้นส่วน มีการทดลองและตรวจวัดรูปแบบการเสื่อมสภาพและเวลาจนกว่าจะเสียหายของชิ้นส่วนที่ผู้ผลิตนั้นจำหน่าย  ให้กำหนดเวลาจนกว่าจะขัดข้องและเวลาในการซ่อมบำรุงจากข้อมูลนี้       แต่ในความเป็นจริงการจะกำหนดรอบการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยเพียงคำแนะนำของผู้ผลิตเป็นเรื่องยาก จากเหตุผลที่ว่า item ของชิ้นส่วนมีมาก การจะกำหนดอายุของชิ้นส่วนทั้งหมดเป็นเรื่องยาก เช่น ใช้นอกอาคาร ต่างจากคำแนะนำของผู้ผลิต ชิ้นส่วนที่มีรอบยาวนาน การจะกำหนดอายุให้หน่วยเป็นเดือนเป็นเรื่องยาก อายุอาจต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการเดินเครื่อง อายุต่างกันมากหลังจากนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการดูแล        ดังนั้น ในความเป็นจริงจึงคะเนอายุได้ยาก  ดังนั้น จึงต้องกำหนดอายุโดย วิเคราะห์ผลกระทบตอนเครื่องหยุด กำหนดเวลาจากค่าที่ผู้ผลิตและการออกแบบให้มา […]

ตอน 11 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program ( Stage 4: ไคเซ็นฟังก์ชัน / Stage 5: จัดทำแผนโครงสร้างการบำรุงรักษา)

  (5) Stage 4: ไคเซ็นฟังก์ชัน       สาเหตุที่มีการวิเคราะห์ใน Stage 2 และ Stage 3 และฟังก์ชันที่อยากจะเพิ่มเติมขึ้นใหม่ เป็นต้น       ให้ดำเนินการไคเซ็น  มีมาตรการต่อจุดที่ยาก-ทำให้มองเห็น มาตรฐานป้องกันการเกิดการขัดข้องซ้ำ และยกระดับฟังก์ชัน เป็นต้น (6) Stage 5: จัดทำแผนโครงสร้างการบำรุงรักษา 1) Step 10: นิยามระบบ-วิธีการบำรุงรักษา        เมื่อทำการศึกษากลไกของการเกิดการขัดข้อง และผลกระทบเมื่อเกิดใน Stage 1 – 3 เพื่อไม่ให้เกิดรูปแบบเช่นนั้น จึงมีการกำหนดระบบการบำรุงรักษาที่เหมาะสม        ก่อนอื่นใน Step 10 ให้นิยามระบบและวิธีการบำรุงรักษาที่ทำกันในบริษัท ดังแสดงในตัวอย่างจริงในผังที่ 5-1 (1) (2) (3)  […]

ตอน 10 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program (Stage 3: ศึกษาผลกระทบตอนสูญเสียฟังก์ชัน)

(4) Stage 3: ศึกษาผลกระทบตอนสูญเสียฟังก์ชัน        ศึกษาผลกระทบเมื่อชิ้นส่วนขัดข้อง จากการนี้ ให้คิดคะเนความเสี่ยงตอนขัดข้อง และกำหนดระบบการบำรุงรักษา  สิ่งที่ขัดข้องเป็นชิ้นส่วนในเครื่องจักร        เมื่อชิ้นส่วนเกิดการบกพร่อง ต้องทำให้ชัดเจนว่าผลกระทบนั้นปรากฏที่ไหน  พิจารณาผลกระทบเมื่อเกิดการสูญเสียฟังก์ชันของ เครื่องจักร Unit ชิ้นส่วน เป็นต้น ว่ามีผลกระทบแบบใด        อีกทั้งพิจารณาว่าผลกระทบเกิดขึ้นที่ไหน  และจำแนกเครื่องจักร Unit ชิ้นส่วน ตามขนาดของผลกระทบนั้น  หัวข้อการประเมินในการพิจารณาผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมให้พิจารณา เช่น การล่าช้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ การสูญเสียทางเศรษฐกิจ อุปสรรคด้านคุณภาพต่อผลิตภัณฑ์  สรุปเป็น Flow ของการกำหนดระบบการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิผลดังผังที่ 3-1  อีกทั้งมีตัวอย่างจริงดังแสดงในผังที่ 1-1 ★ ความหมายของ Stage 1 – 3   ถึงไม่ต้องมี Stage 1 – 3 ก็สามารถทำ Stage […]

ตอน 9 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 2 : แจกแจงสาเหตุการขัดข้อง)

  (3) Stage 2 : แจกแจงสาเหตุการขัดข้อง        ทำไม และอย่างไร เครื่องจักรจึงขัดข้อง  เกี่ยวกับเครื่องจักรจริงที่หน้างาน ให้ศึกษากลไกของการขัดข้องจากการจำแนกสภาพแวดล้อมการใช้งานและรูปแบบการเสื่อมสภาพ เพื่อแจกแจงสาเหตุการขัดข้องนั้น         จากการแจกแจงนี้ ทำให้เรียนรู้ว่าควรจัดการอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการขัดข้อง  นี่คือจุดประสงค์ของ Stage 2 พิจารณาสายลำดับของ Failure Mode ของเครื่องจักร (ผังที่ 2-1) จำแนกฟังก์ชันของเครื่องจักรและกระจายตามลำดับชั้น กระจายจนถึงระดับชิ้นส่วน  ในตอนนี้ให้กำหนด Failure Mode ของแต่ละลำดับชั้น พิจารณาสาเหตุการเกิด Failure Mode และปัจจัยการขัดข้อง แล้วกำหนดรูปแบบการเสื่อมสภาพและรูปแบบการขัดข้อง (Failure Pattern)        การรับรู้การขัดข้องจะรับรู้ในแบบใด ให้พิจารณาว่าจะรับรู้ด้วย Unit หรือจะรับรู้ด้วยระดับชิ้นส่วน  ซึ่งจะส่งผลทำให้ได้พื้นฐานที่สามารถพิจารณาว่าจะใช้ระบบการบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และการรับรู้การขัดข้องจะเป็นตัวกำหนดระบบการบำรุงรักษาจากความสำคัญของ “ผลกระทบเมื่อเกิดขึ้นจริง” ที่จะศึกษาใน Stage ต่อไป […]

ตอน 8 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program (Stage 1 : ทำความเข้าใจ-ทบทวนพื้นฐานของเครื่องจักร)

(2) Stage 1 : ทำความเข้าใจ-ทบทวนพื้นฐานของเครื่องจักร        ทำความเข้าใจโครงสร้าง-การเคลื่อนไหว-การทำงานของเครื่องจักร จากการทำความเข้าใจฟังก์ชันของเครื่องจักร กระจายชิ้นส่วน และเข้าใจฟังก์ชันของชิ้นส่วน สำรวจเกณฑ์สมรรถนะ สำรวจประวัติเครื่องจักร         จุดสำคัญของ Stage นี้คือการกำหนดหน่วยย่อยที่สุดในการจัดการเครื่องจักร  อีกทั้งใน Stage นี้ ให้ทำเกณฑ์สมรรถนะให้ชัดเจน แล้วสะสางเป็นเกณฑ์เทคโนโลยี        เกณฑ์เทคโนโลยีไม่เพียงเป็นการกำหนดเกี่ยวกับอายุหรือปัญหาของเครื่องจักร ยังเป็นการกำหนดเกณฑ์ในการทำฟังก์ชันของเครื่องจักร        ดังนั้น จึงต้องกำหนดไม่เพียงสิ่งแวดล้อมในการใช้งานของเครื่องจักร ยังต้องเสริมด้วยเงื่อนไขในการเดินเครื่องด้วย  ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของ Step ต่อ ๆ ไป  ตัวอย่างในการดำเนินการจริงจะแสดงดังผังที่ 1-1 ★ การกระจายเครื่องจักรต้องทำถึงแค่ไหน à กำหนดหน่วยย่อยที่สุดของการจัดการเครื่องจักร       ตอนกระจายเครื่องจักรเป็น unit – ชิ้นส่วน ต้องกำหนดว่าจะกระจายชิ้นส่วนถึงระดับไหน  […]

ตอน 7 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program (Stage 0 : จำแนกลำดับความสำคัญของเครื่องจักร)

ต่อจากนี้จะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับ Mother Program โดยอยากให้คำนึงถึงวิธีการสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามทฤษฎี   (1) Stage 0 : จำแนกลำดับความสำคัญของเครื่องจักร        ในการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรจริง ไม่ใช่ว่าจะจัดการกับเครื่องจักรทั้งหมดเท่าเทียมกัน แต่ต้องเริ่มจากการตรวจสอบลำดับความสำคัญของฟังก์ชันของเครื่องจักรทั้งหมดของบริษัทตัวเอง         ก่อนอื่นดำเนินการ Risk Assessment แต่ละหน่วยของเครื่องจักร และจำแนกลำดับความสำคัญนั้น  ลำดับความสำคัญในที่นี้ไม่มีจุดประสงค์ในการจำแนกอย่างละเอียด        แต่มีจุดประสงค์เพื่อแยกเครื่องจักรจากลำดับความสำคัญเฉพาะของเครื่องจักร  ตามการจำแนกนี้ ก่อนอื่น ให้กำหนดนโยบายการบำรุงรักษาแต่ละตัวคร่าว ๆ  วิธีการจำแนกระดับความสำคัญนี้ได้แสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้       1. เครื่องจักร-ขอบเขตที่กำหนดระบบการบำรุงรักษาตามกฎหมายหรือข้อบังคับ           เช่น : อุปกรณ์ก๊าซแรงดันสูง ตู้แช่แข็ง เครนขนาดใหญ่ ฯลฯ       2. ประเมิน […]

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.