★ การดำเนิน Step อย่างเป็นรูปธรรม

       ดังแสดงเป็น (ตัวอย่าง) ใบ Audit Step ดังผังที่ 6-11 ใบนี้แยกออกเป็น 4 Step ที่เขียนไว้ในตารางการดำเนิน Step AM (การสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษา)

      ใน Stage 1 ทำความเข้าใจ-ทบทวนพื้นฐานของเครื่องจักร Stage 2 ทำความเข้าใจพื้นฐานการจัดการเครื่องจักร Stage 3 ศึกษาผลกระทบของการขัดข้อง Stage 4 สร้างแผนการบำรุงรักษา สร้างโครงสร้างการบำรุงรักษา

      ผังที่ 6-11 เป็นใบที่จัดทำขึ้นเพื่อรับ Top Audit หลังทำกิจกรรม Stage 1 แล้ว  การประเมินนี้ โดยเฉพาะ “3. สภาพการพัฒนา Engineering Operator” เชื่อมโยงกับ Stage 1 ก่อนอื่น ก่อนเข้าสู่การทำความเข้าใจพื้นฐานของเครื่องจักร ให้กำหนดขอบเขตเป้าหมายของเครื่องจักรที่จะทำกิจกรรม ตรวจสอบฟังก์ชันเครื่องจักร

       ระดับความเข้าใจโครงสร้าง-ฟังก์ชันเครื่องจักร สภาพการสะสางประวัติเครื่องจักร กำหนดหน่วยย่อยที่สุดของการจัดการเครื่องจักร สำรวจเกณฑ์สมรรถนะ ซึ่งมีความหลากหลาย  ก่อนอื่นในการเริ่มกิจกรรม Stage 1 ควรต้องตรวจสอบความเข้าใจพื้นฐานแล้วจึงดำเนินการต่อไป

★ กิจกรรมหน้างานอย่างเป็นรูปธรรม

      ที่โรงงาน B เพื่อให้หน้าที่ในการจัดการเครื่องจักรสามารถมอบหมายให้ AM (หน้างานการผลิต) ได้ มีการปลูกจิตสำนึกว่า “เครื่องจักรของตัวเองต้องปกป้องด้วยตนเอง” อย่างจริงจัง พร้อมกันนั้น ได้มีการดำเนินการสร้างผู้ปฏิบัติงานให้เป็น Engineer แต่เนิ่น ๆ 

      จากการทำเช่นนี้ เป็นการสร้างกลไกที่บริหารจัดการได้ด้วยตนเอง ถึงผู้ดูแล PM (ช่างซ่อมบำรุง) จะไม่อยู่  ขอแนะนำตัวอย่าง 3 ตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม

      ที่โรงงาน Bได้มีการใช้ไอเดียต่าง ๆ เพื่อการผลิตแบบ “น้อยชนิดปริมาณมาก” = ผลิตให้ได้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น ดังคิดเชื่อมโยงได้จากคีย์เวิร์ดที่ว่า “Double & Half” คือผลผลิตเป็นเท่าตัวด้วยการใช้เครื่องจักรเดียวกัน (ลงทุนเครื่องจักรให้น้อยที่สุด)

      โดยใช้ต้นทุนลดลงกึ่งหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนสู่โรงงานแบบผลกำไรสูง  สิ่งที่สนับสนุนกิจกรรมนั้นก็คือทักษะของผู้ปฏิบัติงานหน้างาน การดำเนินการเพื่อยกระดับทักษะนั้นดีมากเมื่อเทียบกับกิจการอื่น

1) ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของ AM (กิจกรรมกลุ่มย่อย)

      จุดมุ่งหมายของกิจกรรม AM ที่โรงงาน B คือการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้สามารถเป็น PM (ช่างซ่อมบำรุง) ได้ด้วย  ในตอนแรก เนื้อหาที่คอนซัลต์ได้แสดงเป็น 4 Stage (26 Step) แต่จำเป็นต้องมีการถกกันว่าจะดำเนินกิจกรรมอย่างไร  เป็นการประเมินทักษะของผู้ปฏิบัติงานในการดำเนิน Step นั้นมีการเขียนระดับปัจจุบันและระดับเป้าหมาย  จะดำเนินการอย่างไรเพื่อมุ่งสู่ระดับเป้าหมายนั้น

      ได้มีการถกกับเสา AM หลายครั้ง มีการจัดหาเอกสารอ้างอิง จัดประชุมอธิบาย เพื่อการเตรียมการ

      ตัวอย่างอ้างอิงของ AM ได้แนะนำตัวอย่างกิจกรรมของกลุ่มย่อยหนึ่งของโรงงาน B ตัวอย่างกิจกรรมของกลุ่มย่อยนี้ เริ่มจากการเปลี่ยนจากการใช้ปั๊มสุญญากาศแบบแนวนอนที่ใช้ในกระบวนการอบแห้งที่โรงงานเก่ามาใช้ปั๊มสุญญากาศแบบแนวตั้งที่มีข้อดีในเรื่องของความประหยัดมาใช้ที่โรงงานใหม่ 

       ปั๊มสุญญากาศแบบแนวตั้งเกิดปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดการหยุดการผลิตหรือหยุดไลน์ในระยะเวลา 4 ปี (ปัญหาใหญ่ 3 ครั้ง ปัญหากลาง 4 ครั้ง)  ผู้ปฏิบัติงานผลิตจึงได้ดำเนิน Step AM ด้วยตนเองเพื่อเป็นมาตรการแก้ไข

เหตุผลที่เลือก Theme

★ ปั๊มสุญญากาศ ถูกจัดให้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดหรือไม่เกิดของเสียได้ส่วนหนึ่ง

       จากสภาพการนี้ ทำกิจกรรม (วิเคราะห์) เพื่อมุ่งสู่การขัดข้องของฟังก์ชันของปั๊มสุญญากาศ (รวมปัญหาใหญ่-กลาง) เป็นศูนย์

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM