6-1 กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM)

      กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่เป็นลักษณะพิเศษของ TPM  จุดกำเนิดของ TPM มีรากฐานมาจาก “กิจกรรมการขัดข้องเป็น 0 ของเสียเป็น 0 อุบัติเหตุเป็น 0” ซึ่งเป็นกิจกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม 

      สิ่งที่ทำ คือการทำให้เครื่องจักรสมบูรณ์โดยมีผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก  แล้วจึงพัฒนามาเป็นกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง  จุดมุ่งหมายของ TPM ที่ว่า “ด้วยการเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนสถานที่ทำงาน จะเปลี่ยนมุมมอง-แนวคิดของคน นำไปสู่การไคเซ็นระบบโครงสร้างของหน้างาน” จะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง 

       โดยผ่านกิจกรรมนี้ จะเป็นการสร้างคนที่สามารถอุทิศตนให้กับผลประกอบการของบริษัทได้  อีกทั้งจากการใส่กิจกรรมการบำรุงรักษาของผู้ปฏิบัติงานเข้าไปในการไคเซ็นระบบโครงสร้างของบริษัท จึงเป็นการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

       กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นที่การยกระดับ “การบำรุงรักษาประจำวัน” ให้สูงขึ้น  โดยเริ่มจากการยกระดับความรู้ในเครื่องจักรให้สูงขึ้น จากการเรียนรู้ใน Stage 1, 2 ของ Mother Program 

       อีกทั้งยังใช้ Stage 4 ในการไคเซ็นการทำให้มองเห็น หลังจากนั้น จาก Stage 5 – Step 12, 13, 14 จัดทำมาตรฐานที่พวกตัวเองสามารถปฏิบัติตามได้  ยิ่งไปกว่านั้น จาก Step 19, 20 จะกลายเป็น Sub Cycle ในการควบคุมข้อมูลการบำรุงรักษาให้เป็นหนึ่งเดียว

       แรกเริ่มเดิมที การบำรุงรักษาเครื่องจักร มักมีหัวข้อให้ทำเพื่อการควบคุมทุกชิ้นส่วนเป็นจำนวนมาก  แต่ในอีกด้าน การหล่อลื่น หาจุดรั่ว ดูสภาพการเดินเครื่อง การเปลี่ยนชิ้นส่วนง่าย ๆ … เหล่านี้เป็นต้น

      การควบคุมแต่ละตัวมีความละเอียดและจำนวนมาก นั่นคือ “แรงงานคน” เป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ อีกทั้ง การกระทำดังกล่าวยังต้องทำโดยต้องอยู่ใกล้เครื่องจักร  จำนวนช่างซ่อมบำรุงของบริษัทความจริงแล้วมีไม่มาก

       ดังนั้น การให้คนใช้เครื่องจักร = ผู้ปฏิบัติงานหรือคนควบคุมเครื่องทำการบำรุงรักษาประจำวันจึงเป็นที่สมเหตุสมผลที่สุด  แต่ไม่ใช่ให้ผู้ปฏิบัติงานหรือคนควบคุมเครื่องทำการบำรุงรักษาส่วนใหญ่ แต่ให้สละเวลาเล็กน้อยในการบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำวัน คือจุดประสงค์ของกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง 

       เมื่อคิดเช่นนี้ กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองจึงเป็นกิจกรรมที่จะขาดเสียมิได้ในการปฏิรูปการบำรุงรักษาของบริษัท  ไม่ใช่กิจกรรม “เพื่อช่วยงานหน่วยงานซ่อมบำรุง” แต่เป็นกิจกรรมเพื่อให้ “ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมรับผิดชอบการบำรุงรักษาเครื่องจักร”

ผู้ปฏิบัติงาน มีงานหลักคือการเดินเครื่อง ควบคุมเครื่อง
  • พื้นฐานคือการตรวจเช็ค-ลาดตระเวนดูเครื่องจักรขณะกำลังเดินเครื่องด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
  • คำว่า “เครื่องจักรขณะกำลังเดินเครื่อง” ให้รวมการตรวจเช็คก่อนเริ่มงานและหลังเลิกงานด้วย
  • อีกทั้งรวมถึงการวินิจฉัยเครื่องจักรที่ใช้อุปกรณ์ เช่น มาตรวัดแรงสั่นสะเทือน
  • แน่นอน การตรวจเช็คหรือตรวจสอบตอนเครื่องหยุด ก็ควรสามารถถอดประกอบเครื่องและเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ด้วย

       จากการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองเช่นนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร ทำหน้าที่ของแต่ละคนโดยทุกคนมีส่วนร่วม  ผลก็คือได้ผลสัมฤทธิ์ เช่น ยกระดับอัตราการเดินเครื่อง รักษาไว้ซึ่งความปลอดภัย บรรลุต้นทุนและการผลิต ลดของเสียด้านคุณภาพ

       Step ของกิจกรรมใน Part I ดังแสดงในผังที่ 6-4  สิ่งสำคัญคือ กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองต้องดำเนินการตาม Step นี้  “ผู้ปฏิบัติงานผู้เก่งเรื่องเครื่องจักร” ดังแสดงในผังที่ 6-5  หากไม่พัฒนาบุคลากร พัฒนากลไก ฟังก์ชันการบำรุงรักษาประจำวันก็จะไม่สามารถแสดงผลงานได้อย่างเต็มที่

Step การดำเนินกิจกรรมการบำรุงรักาด้วยตนเองหลัง Part II –การทวนซ้ำ “การบำรุงรักษาด้วยตนเอง”

      กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองเป็นกิจกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อบรรลุฟังก์ชันอย่างหนึ่งในการบำรุงรักษาเครื่องจักร

       กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองใน Part I โดยหลักการจะจบลงที่ Step 5 การสร้างระบบกลไกที่ทำให้สามารถบำรุงรักษาสภาพของสถานที่ทำงานเอาไว้ได้

  1. ในส่วนของการบำรุงรักษาเครื่องจักร สามารถที่จะรักษาสภาพที่ถูกต้องโดยเฉพาะเรื่องเงื่อนไขพื้นฐาน
  2. พัฒนาระบบกลไกและคนที่สามารถดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำวัน
  3. รักษาสภาพ 3 ส. (สะสาง สะดวก สะอาด) ของที่สถานที่ทำงาน

       จะทำให้สามารถสร้าง “เครื่องจักร-คน-ระบบกลไก” ที่มีสภาพเช่นนี้ได้

ผังที่ 6-4 ตัวอย่าง 7 Step ของการดำเนินการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (อุตสาหกรรมแปรรูป)

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM