...

ตอน19 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 3. การตรวจเช็คโดยรวมของการหล่อลื่น

ถัดไปจะขอพูดเกี่ยวกับเนื้อหาการตรวจเช็คโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับการหล่อลื่น  ก่อนอื่น มี Check Point ดังต่อไปนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม สภาพการทำการสะสาง-สะดวก-สะอาดของ Oil Station ภาชนะ (เครื่องมือ) ในการหล่อลื่น อยู่ในสภาพดีหรือไม่ ตัวจ่ายน้ำมันมีความสะอาดทั้งด้านในและด้านนอก มีการหยดได้อย่างแน่นอนหรือไม่ อุปกรณ์หล่อลื่นอัตโนมัติทำงานได้ปกติหรือไม่ ปากช่องหล่อลื่นมีการสกปรก หรือท่อบี้หรือไม่มี ส่วนที่หมุนได้ ส่วนที่สไลด์ได้ โซ่ เป็นต้นมีน้ำมันหล่อลื่นอยู่หรือไม่ รอบ ๆ นั้นมีความสกปรกหรือไม่ หลังหล่อลื่นแล้ว มีน้ำมันออกมาอย่างปกติจากช่องว่างของส่วนที่หมุนหรือไม่ การฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นสำหรับการหล่อลื่น มีดังต่อไปนี้ วิธีการตรวจเช็คและวิธีใช้งาน Air Service Unit วิธีการปรับแต่งปริมาณน้ำมันหล่อลื่น วิธีการเดินท่อทางและการขันแน่นอย่างถูกต้องเหมาะสมนอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มเติม วิธีถอดอุปกรณ์จ่ายน้ำมัน เป็นต้นได้ อีกทั้ง วิธีการ “Visual Control” เกี่ยวกับการหล่อลื่น มีดังนี้ การแสดงแยกสีของชนิดของน้ำมัน และรอบในการเติมที่ช่องน้ำมัน แสดงระดับสูงสุด-ต่ำสุด แสดงปริมาณที่ใช้ต่อหน่วยชั่วโมง แสดงระดับแยกชนิดของน้ำมันในภาชนะ (เครื่องมือ) เติมสารหล่อลื่น […]

ตอน18 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 2. การตรวจเช็คโดยรวมของโบลต์-น็อต

        ถ้าเช่นนั้น ก่อนอื่น มาพูดเกี่ยวกับการตรวจเช็คโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับโบลต์-น็อตกัน         ก่อนเริ่มการตรวจเช็คโดยรวมของโบลต์-น็อต จำเป็นต้องมีการกำหนดไว้ว่า จะให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบในขอบเขตแค่ไหน         ตัวอย่างเช่น โบลต์ปรับแต่งใบมีดหรือ plain bearing ของส่วนที่สไลด์ โบลต์ปรับแต่งของ relief valve เป็นต้น ถึงจะบอกให้มีการขันแน่น แต่หากขันแน่นเกินไปก็จะขยับไม่ได้ หรือมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดปัญหาในเรื่องของความปลอดภัย        ถึงจะบอกว่าเป็นโบลต์ตัวเดียว ก็ต้องคำนึงถึงฟังก์ชันของมันให้ดี แล้วจึงกำหนดว่าจะให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบหรือไม่        มาพูดถึง Check Point ในการตรวจเช็คโดยรวมของโบลต์-น็อตนี้กัน · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม มีการหลวมคลอน หลุดร่วงของโบลต์-น็อตหรือไม่ มีการใช้แหวนรองที่รูรูปทรงยาวหรือไม่ มีการใช้แหวนรองรูปแบบต่าง ๆ ที่จุดติดตั้งเดียวกันหรือไม่ มีการหลวมคลอนของน็อตยึดโบลต์ปรับระดับหรือไม่ มีการร้อยโบลต์จากด้านล่าง […]

ตอน17 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 1. วิธีดำเนินการและจุดสำคัญของการตรวจเช็คโดยรวม

     จากตรงนี้จะขอพูดถึง Step 4 “การตรวจเช็คโดยรวม”        การตรวจเช็คโดยรวมนี้ ดำเนินการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพแบบเร่งซึ่งเกิดขึ้นเพราะ “ไม่รู้” ถึงสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานควรทำ ควรปฏิบัติตาม  เพื่อการนี้ จึงต้องให้สมาชิกกลุ่มย่อยทุกคนได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานของเครื่องจักร และดำเนินการฝึกทักษะเพื่อยกระดับทักษะในการค้นพบข้อบกพร่องและฟื้นสภาพ จากนั้นจึงทำการตรวจเช็คเครื่องจักรจริง        ด้วยเหตุนี้ ใน Step 4 จึงมีการแก้ไขเอกสารมาตรฐานชั่วคราวของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) ใน Step 3 ด้วยตัวหนังสือสีแดงตามเนื้อหาที่ได้เรียน ได้ฝึก ได้ตรวจเช็ค ได้ค้นพบ ได้ฟื้นสภาพ และได้ไคเซ็นแล้ว ● ต้องมีการฝึกอบรมแบบถ่ายทอดต่อ (Cascade Training) และสอบยืนยัน       ใน Step ที่แล้วมาเป็นการเฟ้นหาข้อบกพร่องด้วยความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทั้งห้า แต่จากนี้ไป ต้องเป็นการเข้าใจฟังก์ชันและโครงสร้างของเครื่องจักรของพวกตนให้ดี และยกระดับการตรวจเช็คประจำวัน  ดังนั้น จุดสำคัญที่ 1 เพื่อการดำเนินการตรวจเช็คโดยรวม คือการทำให้ขอบเขตชัดเจนว่า […]

ตอน16 (Autonomous Maintenance)ดำเนินการตรวจสอบโดยรวม (จัดทำบัญชีจุดบกพร่องและร่างมาตรการแก้ไข)

ดำเนินการตรวจสอบโดยรวม           *มาตรฐานการตรวจสอบขันแน่น ไฮดรอลิก นิวแมติก ระบบส่งกำลังไฟฟ้า มาตรฐานการตรวจสอบ1 เกี่ยวกับการขันแน่น (Bolt & Nut)            ・  Bolt ・ Nut มีการหลวมคลอน หล่นหายหรือไม่            ・  มีการใช้แหวนอีแปะที่รูยาวหรือไม่            ・  มีการสอดโบลต์จากข้างล่าง แล้วใส่น็อตจากข้างบนแล้วขันหรือไม่2   เกี่ยวกับไฮดรอลิก            ・  ปริมาณน้ำมันเหมาะสมหรือไม่ สกปรกหรือไม่            ・  ฟิลเตอร์อุดตัน            ・  ร้อน เสียงดัง สั่นสะเทือนแรง            ・  อุปกรณ์ ท่อทางคลอน สกปรก สั่น รั่ว            ・  ท่อทาง สายที่ไม่จำเป็น            ・  เบี่ยงเบน3  เกี่ยวกับระบบส่งกำลัง            ・  โซ่ยืด            ・  Sprocket สึก            ・  ร้อน สั่นสะเทือน            ・  เพลาคด เยื้องศูนย์            ・ […]

ตอน15 (Autonomous Maintenance)เตรียมการและดำเนินการฝึกอบรมการตรวจสอบโดยรวม

・ร่างกำหนดการตรวจสอบโดยรวม แผนดำเนินการ  Step 4 ของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (ตัวอย่าง) หมายเหตุ : แต่ละวิชา ดำเนินการประมาณ 1 เดือน ・ตัวอย่างโปรแกรมการอบรมหัวหน้ากลุ่มย่อย   ・วิธีอบรมถ่ายทอดสู่สมาชิกกลุ่มและข้อควรระวัง (1) Flow การอบรมถ่ายทอดตามลำดับชั้น           สต๊าฟซ่อมบำรุง ⇒ หัวหน้ากลุ่ม ⇒ สมาชิก ⇒ ตรวจสอบโดยรวม(ติด Tag) (2) เตรียมสื่อการสอน           ・ กำหนดวิชาตรวจสอบโดยรวม เลือกวิชาที่จำเป็นที่สุดสำหรับอุตสาหกรรม           ・ ตำราใช้แบบฟอร์ม One Point Sheet           ・ เตรียม Cut Model ของอุปกรณ์  หรือใช้เครื่องจริงตามความจำเป็น           ・ เตรียมข้อสอบวัดผลแต่ละวิชา (3) ความสำคัญของการถ่ายทอดตามลำดับชั้น           ・ หัวหน้าได้เรียนรู้การเป็นผู้นำ สมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้การเป็นผู้ตามที่ดี           ・ การสอนเป็นการอบรมที่ดีที่สุด (ขัดเกลาตนเอง) และกระตุ้นกิจกรรมกลุ่มย่อย (4) อบรมหัวหน้ากลุ่ม           ・ อบรมให้เข้าใจง่าย สต๊าฟซ่อมบำรุงเองก็เรียนรู้ด้วยตนเองและหาไอเดียมาใช้สอน (5) เตรียมอบรมสมาชิก           ・ ไม่ใช่สอนแบบเดียวกับที่ได้อบรมหัวหน้ามา แต่ควรจัดทำตำราที่เหมาะกับที่ทำงานตน (6) ดำเนินการอบรมสมาชิก           […]

ตอน14 (Autonomous Maintenance)วิธีดำเนินการตรวจสอบโดยรวม

วิธีดำเนินการตรวจสอบโดยรวม           ・วัตถุประสงค์และการวางตำแหน่งการตรวจสอบโดยรวม (1) วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบโดยรวม             ・ เข้าใจงาน หน้าที่ ฟังก์ชั่น โครงสร้างของเครื่องจักรเป็นอย่างดี             ・ ทำการตรวจสอบประจำวันตามความรู้ หลักการทฤษฎีของงานและเครื่องจักร             ・ มีทักษะในการตรวจวัดความเสื่อมสภาพและคาดการณ์ปัญหาได้ (2) การวางตำแหน่งการตรวจสอบโดยรวม             ・ ใน Step 1 เน้นการค้นหาจุดบกพร่องโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5             ・ การตรวจสอบโดยรวมสามารถค้นหาจุดบกพร่องตามความรู้ หลักการทฤษฎี             ・ ปฏิบัติในสิ่งที่เรียนรู้มา เพื่อค้นพบจุดบกพร่อง             ・ สามารถค้นหาจุดบกพร่องที่ไม่พบใน Step 1             ・ จากการไคเซ็นอย่างจริงจังเพื่อกำจัดการเสื่อมสภาพที่ผิดธรรมชาติ                     ทำให้ลดปัญหาได้   ไคเซ็นอย่างจริงจังเพื่อมาตรการต่อแหล่งต้นตอ จุดเข้าถึงยาก           วิธีดำเนินการตรวจสอบโดยรวม           ・การตรวจสอบโดยรวม   เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอนที่ปรึกษา TPM-JIPM

ตอน13 (Autonomous Maintenance)วิธีดำเนินการซ่อมบำรุงให้กลับสู่เงื่อนไขพื้นฐาน

วิธีดำเนินการซ่อมบำรุงให้กลับสู่เงื่อนไขพื้นฐาน วิธีดำเนินการซ่อมบำรุงให้กลับสู่เงื่อนไขพื้นฐาน ・การซ่อมบำรุงให้กลับสู่เงื่อนไขพื้นฐาน (1) การทำความสะอาดคือการตรวจสอบ ⇒ ทำความสะอาดโดยกำหนดจุดสำคัญ (2) หล่อลื่น           ⇒ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพผิดธรรมชาติ (3) ขันแน่น            ⇒ การปล่อยให้หลวมคลอนทำลายเครื่องจักร (4) ตั้งศูนย์            ⇒ การเยื้องศูนย์ทำให้เกิด Stress กับเครื่องจักรมากเกินไป (5) ใช้เครื่องอย่างถูกต้อง (6) การทำความสะอาดคือการตรวจสอบ  ⇒ ค้นหาจุดบกพร่องด้วยการตรวจสอบ ・ซ่อมบำรุงให้กลับสู่เงื่อนไขพื้นฐาน (1)  การทำความสะอาดคือการตรวจสอบ ⇒ ทำความสะอาดโดยกำหนดจุดสำคัญ (2)  หล่อลื่น ⇒ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพผิดธรรมชาติ (3)  ขันแน่น ⇒ การปล่อยให้หลวมคลอนทำลายเครื่องจักร (4)  ตั้งศูนย์ ⇒ การเยื้องศูนย์ทำให้เกิด  Stress กับเครื่องจักรมากเกินไป (5) ใช้เครื่องอย่างถูกต้อง ตัวอย่างข้อบกพร่องจากการ “ใช้เครื่องผิด” ① ขยับ Hoist ไฟฟ้าทีละนิดบ่อยครั้ง   ขยับทีละนิด ⇒ แรงกระแทก ⇒ ลิ่มล้าและแตกหัก ② ขั้นตอนการปิดสวิทช์แผงควบคุม   ปิดสวิทช์ทันทีโดยไม่กดปุ่มหยุดสายพาน ⇒ ชิ้นงานผ่านเครื่องตรวจในสภาพ       ที่สวิทช์เครื่องตรวจปิดอยู่ ⇒ ตอนเดินเครื่องครั้งต่อไปจะเกิดเหตุขัดข้อง ③ เปลี่ยนเงื่อนไขการเดินเครื่อง   เนื่องจากเครื่องปั๊มตัดไม่ค่อยขาด จึงปรับแรงดันให้สูงกว่าที่กำหนด แล้วยังตัด            โดยให้ขยับทีละน้อย ⇒ โหลดสูง+แรงกระแทก ⇒ ลูกสูบร้าว ⇒ แตกหัก (6)  การทำความสะอาดคือการตรวจสอบ  ⇒ ค้นหาจุดบกพร่องด้วยการตรวจสอบ เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอนที่ปรึกษา TPM-JIPM

ตอน12 (Autonomous Maintenance)จุดสำคัญของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

หัวหน้างานมีหน้าที่พัฒนาลูกน้อง          เพื่อการนี้ จึงต้องส่งเสริมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง โดยยกระดับความเป็นผู้นำทำการฝึกอบรมถ่ายทอดลูกน้องด้วยตนเอง มีระบบสนับสนุนส่งเสริมการบำรุงรักษาด้วยตนเองโดยให้เวลา ให้เครื่องมือ เก็บข้อมูลที่จำเป็น มีผู้เชี่ยวชาญหนุนหลัง ดูแลรักษาความปลอดภัย กำหนดเวลาดำเนินกิจกรรม เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ต้องเตรียมการตั้งแต่ก่อน Kick Off อีกทั้งยังต้องฝึกสายตาในการมองและฝึกปรือฝีมือเอาไว้ เพราะต้อง         ทำการเช็คทิศทางและระดับของกิจกรรมด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถชี้แนะลูกน้องได้  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์เอง  เครื่องจักรเป้าหมาย ควรเลือกเครื่องจักรที่มีปัญหา  (Loss สูง สกปรกมาก เครื่องจักรหลัก ฯ)  แล้วทำการเปลี่ยนสภาพของเครื่องจักรซึ่งส่งผลต่อ         การยกระดับประสิทธิภาพของเครื่องจักร (ทำการไคเซ็นเฉพาะเรื่องควบคู่ไปด้วย) ทำให้เห็นความจำเป็นและผลที่ได้จากการบำรุงรักษาด้วยตนเองโดยถ้วนหน้า ใช้ประสบการณ์นั้นจัดทำเป็นคู่มือดำเนินกิจกรรมและทำใบตรวจประเมินและกำหนดระดับการผ่าน Step  การจัดทำ Check list ด้านความปลอดภัยและ One Point Lesson ก็เป็นสิ่งสำคัญด้วย ตำราหรือการร่วมสัมมนา ฯ ก็เป็นประโยชน์ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ตรงกับสภาพที่แท้จริงของบริษัทควรสร้างให้สำเร็จจากการประชุมของแต่ละกลุ่มโมเดลทีมเป็นสิ่งสำคัญ จุดสำคัญของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ・จุดสำคัญ 22 ข้อเพื่อให้กิจกรรม TPM เป็นไปอย่างราบรื่น และการบำรุงรักษาด้วยตนเองประสบความสำเร็จ  (1) ความปลอดภัยต้องมาก่อน […]

ตอน11 (Autonomous Maintenance)เครื่องมือส่งเสริมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ( Visual Control )

・ประสิทธิผลจากการใช้ Visual Control (1)・ ค้นพบสิ่งผิดปกติแต่เนิ่น ๆ            ・ ตัดสินว่าปกติหรือผิดปกติ (2)・ เวลาผิดปกติทำให้สามารถจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม            ・ จากสภาพผิดปกติสู่สภาพปกติ (3)・ การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ และทำให้ตรวจสอบง่าย           ・  จากมาตรฐานชั่วคราวสู่มาตรฐานตัวจริง (4)・ ทำให้รู้การเสื่อมสภาพง่ายขึ้น            ・ วัดการเสื่อมสภาพ เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอนที่ปรึกษา TPM-JIPM

ตอน10 (Autonomous Maintenance)เครื่องมือส่งเสริมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

Tag และตัวอย่างการใช้ 2. ของวิเศษ 3 อย่างของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง   กระดานกิจกรรม กระดานกิจกรรม ทำให้รู้ได้ด้วยการมองปราดเดียวว่า เพื่อการรับและทำให้นโยบายเบื้องบนเป็นจริง กลุ่มย่อยของพวกตน “ตอนนี้จะต้องทำอะไร” “มีปัญหาอย่างไรอยู่บ้าง” “และพยายามจะแก้ไขปัญหา อย่างไร”  เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีความเข้าใจและเพื่อให้ผู้บังคับบัญชารู้ถึงการดำเนินการของพวกตน และรับการชี้แนะอย่างถูกต้องเหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว หัวข้อบนกระดานกิจกรรม  ・ นโยบาย (เป้าหมายดัชนีชี้วัด และมาตรการ)  ・ ตารางความคืบหน้าของแผนงาน  ・ บันทึกผลที่ได้  ・ ปัญหาที่สำคัญ  ・ ตัวอย่างการไคเซ็น  ・ การค้นหา Tag  ・ จุดที่ต้องทบทวน  ・ ตารางทักษะ เป็นต้น ทำให้มีเอกลักษณ์ และใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วยความรักและเอาใจใส่ 2.1 การผ่าน Step วิธีใช้.. ในการทำการบำรุงรักษาด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าของแต่ละเครื่องจักร หรือแต่ละไลน์ กรุณาใช้ตาราง Step นี้ ใน Step ที่กำลังดำเนินกิจกรรมอยู่ในปัจจุบัน ให้ติดสติ๊กเกอร์ “กำลังดำเนินกิจกรรม” เมื่อตรวจวินิจฉัยและผ่านแล้วให้ติดสติ๊กเกอร์ “ผ่านแล้ว” พร้อมเขียนวันที่ทับลงในสติ๊กเกอร์เดิม และติดสติ๊กเกอร์ “กำลังดำเนินกิจกรรม” ที่ Step ต่อไป […]

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.