...

ตอน 28 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คด้วยตนเอง 5. แบ่งหน้าที่กับหน่วยงานซ่อมบำรุง

       เมื่อดำเนินการจนถึง Step 5 ของ AM แล้วก็แสดงว่าในตอนนี้ เราได้มาตรฐานการควบคุมเครื่องจักรและมาตรฐานการควบคุมการปฏิบัติงานที่กลุ่มคนของหน่วยงานผลิตต้องปฏิบัติตามแล้ว ●  เครื่องขัดข้องและของเสียเป็นความน่าละอายของหน้างาน       ตัวอย่างที่ได้พูดถึงจนถึงตรงนี้ คิดว่าเป็นหลักฐานพิสูจน์ว่าได้พัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้ดำเนินการ AM จนสามารถคิดได้ว่า “เครื่องขัดข้องและของเสียเป็นความน่าละอายของหน้างาน” “เครื่องขัดข้องเป็นศูนย์-ของเสียเป็นศูนย์ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้”         ดังนั้น เมื่อมาถึงตรงนี้ กลุ่มคนที่สถานที่ทำงานแปรรูปด้วยเครื่องจักรต้องพูดคุยหารือกับกลุ่มคนของหน่วยงานซ่อมบำรุงเกี่ยวกับการแบ่งหน้าที่ในการควบคุมเครื่องจักร  ในหน่วยงานซ่อมบำรุงก็มีมาตรฐานเพื่อการรักษาไว้        ซึ่งโครงสร้างการบำรุงรักษาตามแผน (PM) เช่น การตรวจเช็คเป็นประจำหรือการซ่อมบำรุงเป็นประจำ  อีกด้าน สำหรับหน่วยงานผลิต การจัดเตรียมมาตรฐาน AM ก็ก้าวเข้าสู่ขั้นตอนที่ 1        ดังนั้น เพื่อให้ AM และ PM รักษาสภาพ “เครื่องขัดข้องเป็นศูนย์-ของเสียเป็นศูนย์” ในสถานที่ทำงาน จำเป็นต้องมีการพูดคุยหารือกันว่า “จะแบ่งหน้าที่กันอย่างไรในฐานะล้อขับเคลื่อนสองล้อของรถยนต์” […]

ตอน 27 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คด้วยตนเอง • 4. ตัวอย่างการค้นพบการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักร

       ลำดับถัดไป เรามาแนะนำตัวอย่างจริงของการค้นพบการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักรจากการที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานตรวจเช็คประจำวัน ●  มันแปลกไปหน่อยนะ ?        ผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่ง รู้ตัวว่า Cycle Time ของเครื่องจักรเริ่มยาวขึ้น จึงต้องเปิดวาล์วปรับการไหลของไฮดรอลิก  นั่นก็คือรู้สึกตัวว่าความเร็วค่อย ๆ เปลี่ยนไป แต่เมื่อตรวจเช็คโดยถอดกระบอกสูบออก ก็รู้ว่าปะเก็นของลูกสูบเสียหาย        ผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่ง รู้สึกว่าเกียร์บ๊อกซ์มีเสียงดังขึ้นหน่อย เมื่อนำมาตรวัดแรงสั่นสะเทือนมาตรวจวัด ก็รู้ว่ามีการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรข้าง ๆ จริง  เมื่อทำงานเสร็จแล้วตรวจเช็คด้านใน ก็รู้ว่า เฟืองดอกจอกเกิดการสึกหรอ backlash สูง ทำให้แบริงสึกหรอไปด้วย ●  ป้องกันคอยล์ขาดด้วยการเช็คความเป็นฉนวน        กลุ่มย่อยหนึ่งกลุ้มใจเรื่องเครื่องขัดข้องซึ่งเป็นการขาดของคอยล์ในเตาอบชุบ  ดังนั้นจึงได้ปรึกษากับวิศวกรการผลิตว่า “จะรู้เค้าลางผิดปกติล่วงหน้าก่อนที่คอยล์จะขาดได้หรือไม่” ก็ได้รับการสอนว่า “ถ้าเป็นการขาดเพราะเสื่อมสภาพ คิดว่าเป็นเพราะฉนวนค่อย ๆ เสื่อม”        ก็เลยใช้โอห์มมิเตอร์เช็คความเป็นฉนวนของคอยล์ทั้งหมด ก็พบว่ามีอยู่ตัวเดียวที่เสื่อม […]

ตอน 26 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คด้วยตนเอง • 3. ในการตรวจเช็คการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักร

        กิจกรรมจนถึงตรงนี้ คิดว่าได้มีการยกระดับการตรวจเช็คลักษณะภายนอกได้ดีกว่าที่แล้วมา แต่โดยทั่วไปจะยังมีการตกหล่นของการตรวจเช็คการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักร  นั่นมีสาเหตุมาจากการถอดใจว่า “การขัดข้องและของเสียที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนภายในเครื่องจักรเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ได้”        ดังนั้น ในที่นี้ มาพูดถึงวิธีการค้นหาการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักรนั้นกันดีกว่า ●  การค้นพบระหว่างเดินเครื่อง        วิธีแรกสุดของการค้นพบการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักร ก็คือการสังเกตระหว่างเดินเครื่อง ลองคิดถึงตัวอย่างของรถยนต์        ระหว่างขับรถ เคยรู้สึกถึงเค้าลาง เช่น “เบรกเหยียบลึกไปหน่อยแล้ว” “เหมือนคลัทช์ลื่นไถลไปหน่อย” “หมุนพวงมาลัยมากกว่าปกติหรือเปล่า”  หรือไม่        เกี่ยวกับเครื่องจักร เพราะเป็นผู้ปฏิบัติงานผู้สัมผัสเครื่องจักรนั้นเป็นประจำ จึงสามารถมองทะลุเค้าลางที่ว่า “มันแตกต่างจากปกติ” จากการสังเกตระหว่างเดินเครื่อง และนำไปสู่การค้นพบการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักรระหว่างเดินเครื่องได้ ●  การตรวจเช็คด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าและการตรวจเช็คด้วยอุปกรณ์วัดคุม        ถัดจากนั้น เป็นวิธีการโดยใช้การตรวจเช็คด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าหรือตรวจวัดด้วยอุปกรณ์วัดคุมที่ผิวหน้าของแต่ละส่วนของเครื่องจักร  ในกรณีนี้ให้ลองคิดถึงตัวอย่างของลูกของตัวเอง        “มีไข้หน่อยนะเนี่ย” “มีอาการไอมากไหม” […]

ตอน 25 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คด้วยตนเอง 2. เมื่อเกิดเครื่องขัดข้องหรือของเสียจะทำอย่างไร

        แม้จะมีการปรับปรุงแก้ไข Check List ตามเอกสารมาตรฐานที่ทบทวนใหม่และดำเนินการตรวจเช็คประจำวันแล้วก็ตาม แต่ในเมื่อเอกสารมาตรฐานนั้นยังไม่ได้ 100 คะแนนเต็ม ก็ยังเกิดเครื่องขัดข้องหรือของเสียขึ้นได้  ในกรณีเช่นนี้ ต้องหาให้ได้ว่าสาเหตุนั้นอยู่ที่ไหน และทบทวนให้ดีว่ามีจุดที่ควรไคเซ็นในพฤติกรรมของพวกตนที่ไหน และจำเป็นต้องใส่เนื้อหานั้นเข้าไปในเอกสารมาตรฐาน        ต่อจากนี้จะขอพูดถึงจุดสำคัญในตอนทบทวน ● ใช้เครื่องขัดข้องและของเสียเป็นสื่อการสอนที่มีชีวิต        ก่อนอื่น ต้องทบทวนว่าทำไมจึงไม่สามารถค้นพบข้อบกพร่องที่เป็นสาเหตุของการเกิดเครื่องขัดข้องหรือของเสียก่อนที่จะเกิดได้  เครื่องขัดข้องและของเสียส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเพราะผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถมองทะลุข้อบกพร่องที่เชื่อมโยงสู่เครื่องขัดข้องหรือของเสียได้ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิด  ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงต้องใช้เครื่องขัดข้องหรือของเสียที่เกิดขึ้นเสียแล้วเป็น “สื่อการสอนที่มีชีวิต” เชื่อมโยงสู่การยกระดับความสามารถของผู้ปฏิบัติงานให้สามารถค้นพบข้อบกพร่องล่วงหน้าได้        สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ การทบทวนวิธีการทำการตรวจเช็คประจำวัน จำเป็นต้องทบทวนเกี่ยวกับ เช่น “มีหัวข้อการตรวจเช็คข้อบกพร่องซึ่งเป็นสาเหตุหรือไม่” “มาตรฐานการตรวจเช็คนั้นถูกต้องหรือไม่” “ทั้งที่มีมาตรฐาน แต่ทำไมถึงปฏิบัติตามไม่ได้” เพื่อทบทวนเอกสารมาตรฐานและ Check List ●  ไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย        ในเวลาเช่นนี้มักได้ยินคำพูดที่ว่า “ที่แล้วมาทำด้วยความรู้สึกที่ว่า “ต้องปฏิบัติตามให้ได้” แต่เพราะว่า […]

ตอน 24 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คด้วยตนเอง 1. ในการตรวจเช็คด้วยตนเองต้องทำอะไรบ้าง

จากตรงนี้จะขอพูดถึงจุดสำคัญของวิธีดำเนินการ Step 5 “การตรวจเช็คด้วยตนเอง” ● การเปลี่ยนมาตรฐานชั่วคราวให้เป็นมาตรฐานจริง        มาตรฐานของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) ได้มีการจัดทำมาตรฐานชั่วคราวแล้วใน Step 3 แต่หลังจากนั้นต้องเพิ่มหัวข้อที่ต้องปฏิบัติตามจากการตรวจเช็คโดยรวม เนื้อหาก็จะยกระดับมากขึ้น        เพื่อการนี้ การตรวจเช็คโดยรวมนี้ต้องดำเนินการเปลี่ยนจากมาตรฐานชั่วคราวเป็นมาตรฐานจริง  อีกทั้งการเพิ่มหัวข้อที่ต้องปฏิบัติตามมากขึ้น จะทำให้ไม่สามารถทำภายในเวลาที่หัวหน้าหรือผู้จัดการกำหนดได้ จึงจำเป็นต้องมีการไคเซ็นเพื่อทำให้ปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น  ดังนั้นจุดสำคัญในการเปลี่ยนเป็นมาตรฐานจริงคือการใช้นาฬิกาจับเวลา ตรวจสอบดูว่า “สามารถตรวจเช็คตาม Check List ได้ภายในเวลาหรือไม่” จากนั้นก็ต้องทำการฝึกฝนจนกว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถทำได้อย่างแน่นอน        ในสถานที่ทำงานที่ปฏิบัติงานด้วยมือ ให้ทำตามมาตรฐานการปฏิบัติงานชั่วคราวที่มีการแก้ไขปรับปรุงด้วยตัวหนังสือสีแดง แล้วตรวจสอบดูว่าทุกคนสามารถปฏิบัติตามนั้นได้จริงแล้วจึงเปลี่ยนเป็นมาตรฐานจริง  อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีการฝึกฝนจนกว่าทุกคนจะสามารถทำตามได้อย่างแน่นอน ● จากการควบคุมที่ผลสู่การควบคุมเชิงสาเหตุ        เดิมที จุดมุ่งหมายของการทำการตรวจเช็คด้วยตนเอง เพื่อให้พ้นจากสภาพที่เป็น “การควบคุมแบบไล่ตามหลัง” ไล่ตามความไม่ดีของผลที่เกิดขึ้นแล้วเช่น “เครื่องขัดข้องแล้ว” “เกิดของเสียแล้ว” “ความเร็วในการแปรรูปช้าลงแล้ว”  เพื่อการนี้ จึงต้องทำการควบคุมเงื่อนไขอันเป็นสาเหตุที่จะเชื่อมโยงสู่เครื่องจักรขัดข้องหรือเกิดของเสีย เมื่อถึงระดับที่ว่า “น่าจะเกิดเครื่องขัดข้องหรือน่าจะเกิดของเสีย” […]

ตอน 23 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 7. การตรวจเช็คโดยรวมของการปฏิบัติงาน

        ในสถานที่ทำงานที่เป็นการปฏิบัติงานด้วยมือ ให้หาข้อบกพร่องของเนื้อหาการปฏิบัติงานหรือสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ทำการฟื้นสภาพหรือไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย และให้สรุปผลที่ได้นั้นเป็น “มาตรฐานการปฏิบัติงานชั่วคราว” ยิ่งกว่านั้น จุดสำคัญคือในการตรวจเช็คโดยรวมนี้ให้ทบทวนเนื้อหาการปฏิบัติงานแต่ละงานอย่างจริงจัง · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม        ในสถานที่ปฏิบัติงานด้วยมือ เพื่อทบทวนเนื้อหาการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ให้ดูว่ามีการปฏิบัติงานที่ตรงกับหัวข้อเช็คแต่ละข้อใน “การประเมินระดับความยากง่ายของการปฏิบัติงาน” ดังที่แสดงต่อไป โดยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนลิสต์ออกมา  ต้องมีการจัดทำ Check Sheet เช่นนี้แล้วจึงดำเนินการตรวจเช็คโดยรวม ก็จะสามารถป้องกันการตกหล่นของการตรวจเช็คได้ การตรวจเช็คโดยรวมเท่าที่ได้พูดมา ต้องทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ของแต่ละหัวข้อวิชาจึงจะประสบความสำเร็จ รับการอบรมพื้นฐานของเครื่องจักรและการปฏิบัติงาน ดำเนินการให้ผู้ปฏิบัติงานรับการฝึกอบรมแบบถ่ายทอดต่อ (Cascade Training) ฝึกอบรมทักษะ นำสิ่งที่เรียนรู้มาไปทำจริง เฟ้นหาข้อบกพร่องและทำการฟื้นสภาพ ดำเนินการทำ Visual Control แก้ไขปรับปรุงเอกสารมาตรฐานชั่วคราว         ในการดำเนินการตรวจเช็คโดยรวม มีบางครั้งที่หัวข้อวิชาการตรวจเช็คโดยรวมอาจแตกต่างกันตามความต้องการของบริษัทหรือกระบวนการผลิต จำเป็นต้องมีการพิจารณาให้ดีในเรื่องนี้ล่วงหน้า เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอนที่ปรึกษา TPM-JIPM

ตอน 22 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 6. การตรวจเช็คโดยรวมของไฟฟ้า

สุดท้ายขอพูดถึงวิธีการตรวจเช็คโดยรวมของไฟฟ้า ซึ่งมี Check Point ดังต่อไปนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม สายไฟ ท่อทาง ข้อต่อ มีจุดที่หลุดอยู่หรือสึกหรอหรือไม่ สายดินหลุดอยู่หรือไม่ สายไฟมีรอยลาก รอยสี หรือว่าสัมผัสกับน้ำมัน-น้ำหรือไม่ หลอดไฟขาด หรือมีการหลวมของพวกสวิตช์หรือไม่ เข็มของมาตรวัดแรงดัน มาตรวัดกระแสไฟฟ้า เป็นต้น มีการสั่นหรือไม่ ตู้ไฟฟ้าหรือแผงควบคุมมีรูเกินเปิดอยู่หรือไม่  เปิดปิดได้ดีหรือไม่ การจัดการสายไฟในตู้ไฟฟ้าดีหรือไม่ ในตู้มีฝุ่น ผงหรือไม่ มีการเสียหายของอุปกรณ์หรือมอเตอร์ร้อนเกินไปหรือไม่ บิส สกรูมีการหลวมหรือไม่ Limit Switch เป็นต้น มีการคลอนหรือสิ่งสกปรกเกาะติดหรือไม่ การฝึกอบรมทักษะเกี่ยวกับไฟฟ้า มีดังนี้ การขันแน่นพวกสกรูอย่างถูกต้องเหมาะสม วิธีป้องกันสายไฟ นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินการฝึกอบรมทักษะ เช่น         3.  วิธีติดหางปลา         4. วิธีเปลี่ยนสวิตช์     […]

ตอน 21 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 5. การตรวจเช็คโดยรวมของระบบส่งกำลัง

ต่อไปจะพูดถึงวิธีการตรวจเช็คโดยรวมของระบบส่งกำลัง (Transmission)  Check Point เกี่ยวกับระบบส่งกำลัง มีดังต่อไปนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม V Belt มีรอย สิ่งสกปรกมาติด หรือสึกหรอหรือไม่ มีการใช้สายพานผิดชนิด หรือตั้ง Tension ผิดหรือไม่ โซ่มีการยืดหรือ sprocket มีการสึกหรอหรือไม่ แกนมีการคด เยื้องศูนย์ หรือโบลต์ยึดมีการหลวมคลอนหรือไม่ Bearing เกิดความร้อน สั่น หรือเสียงผิดปกติหรือไม่ ร่องลิ่มมีการสึกหรอ โบลต์ยึดหลวม ส่วนกลางคลอนหรือไม่ แกนของ Coupling มีการสั่น โบลต์ขันแน่นหลวมหรือไม่ ฟันเฟืองมีเสียงผิดปกติ สั่น หรือสึกหรอผิดปกติหรือไม่ หัวข้อในการฝึกอบรมทักษะเกี่ยวกับการส่งกำลังมีดังต่อไปนี้ วิธีปรับแต่ง tension ของสายพาน โซ่ วิธีตั้งศูนย์ pulley, sprocket วิธีติดตั้ง pulley วิธีประกบลิ่ม นอกจากนี้ ยังสามารถดำเนินการฝึกอบรม       […]

ตอน 20 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 4. การตรวจเช็คโดยรวมของไฮดรอลิก-นิวเมติก

ถัดไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับไฮดรอลิก-นิวเมติก  Check Point ที่เกี่ยวข้องกับไฮดรอลิก-นิวเมติก มีดังนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม ดูว่าเกิดความร้อนหรือเสียงผิดปกติที่โซลินอยด์วาล์ว การหลวมคลอนของสายไฟ หรือว่ามีสายขาดหรือไม่ มีการคลอน การสั่นสะเทือนของอุปกรณ์ ท่อทางหรือไม่ จุด 0 เข็มสั่น หรือมีการแสดงขอบเขตของมาตรวัดแรงดันได้ดีหรือไม่ ท่อทางที่ไม่จำเป็น หรือสายยางที่ไม่จำเป็น มีการปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ นอกจากนี้ เกี่ยวกับไฮดรอลิกให้ดำเนินการเช็คตามความจำเป็นว่า         5. มีปริมาณน้ำมันในแทงก์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่          6. น้ำมันไฮดรอลิกมีความสกปรก ฟิลเตอร์อุดตันหรือไม่          7. น้ำมันไฮดรอกลิกมีอุณหภูมิสูงเกินไปหรือไม่         8. ท่อเดรนร้อนหรือไม่ เป็นต้น การฝึกอบรมทักษะเกี่ยวกับไฮดรอลิก-นิวเมติก มีการดำเนินการสิ่งต่อไปนี้ วิธีการปฏิบัติงานป้องกันการรั่ว วิธีตรวจเช็คอุปกรณ์-unit ต่าง […]

ตอน19 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 3. การตรวจเช็คโดยรวมของการหล่อลื่น

ถัดไปจะขอพูดเกี่ยวกับเนื้อหาการตรวจเช็คโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับการหล่อลื่น  ก่อนอื่น มี Check Point ดังต่อไปนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม สภาพการทำการสะสาง-สะดวก-สะอาดของ Oil Station ภาชนะ (เครื่องมือ) ในการหล่อลื่น อยู่ในสภาพดีหรือไม่ ตัวจ่ายน้ำมันมีความสะอาดทั้งด้านในและด้านนอก มีการหยดได้อย่างแน่นอนหรือไม่ อุปกรณ์หล่อลื่นอัตโนมัติทำงานได้ปกติหรือไม่ ปากช่องหล่อลื่นมีการสกปรก หรือท่อบี้หรือไม่มี ส่วนที่หมุนได้ ส่วนที่สไลด์ได้ โซ่ เป็นต้นมีน้ำมันหล่อลื่นอยู่หรือไม่ รอบ ๆ นั้นมีความสกปรกหรือไม่ หลังหล่อลื่นแล้ว มีน้ำมันออกมาอย่างปกติจากช่องว่างของส่วนที่หมุนหรือไม่ การฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นสำหรับการหล่อลื่น มีดังต่อไปนี้ วิธีการตรวจเช็คและวิธีใช้งาน Air Service Unit วิธีการปรับแต่งปริมาณน้ำมันหล่อลื่น วิธีการเดินท่อทางและการขันแน่นอย่างถูกต้องเหมาะสมนอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มเติม วิธีถอดอุปกรณ์จ่ายน้ำมัน เป็นต้นได้ อีกทั้ง วิธีการ “Visual Control” เกี่ยวกับการหล่อลื่น มีดังนี้ การแสดงแยกสีของชนิดของน้ำมัน และรอบในการเติมที่ช่องน้ำมัน แสดงระดับสูงสุด-ต่ำสุด แสดงปริมาณที่ใช้ต่อหน่วยชั่วโมง แสดงระดับแยกชนิดของน้ำมันในภาชนะ (เครื่องมือ) เติมสารหล่อลื่น […]

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.