...

ตอน 7 (Autonomous Maintenance) วิธีตรวจวินิจฉัยการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

・การตรวจวินิจฉัย Step (1)จุดประสงค์                 ・เพื่อตรวจสอบว่าได้บรรลุเป้าหมายตามจุดประสงค์ของกิจกรรมการบำรุงรักษา                      ด้วยตนเองของแต่ละกลุ่มย่อย                 ・ทำให้หน้างานมีสภาพอย่างที่ควรเป็นดังที่ผู้บริหารคิด (2)การดำเนินการตรวจวินิจฉัย                1)รายงานโดยหัวหน้าที่กระดานกิจกรรม และสมาชิกทุกคนตอบคำถามของผู้ตรวจวินิจฉัย                      ・กำหนดเป้าหมายของดัชนีการควบคุมและค่าปัจจุบัน (สภาพการบรรลุเป้าหมาย)                     ・จุดหมายของ Step และระดับความเข้าใจ                     ・เนื้อหาที่เลือกทำตามลำดับความสำคัญ             […]

ตอน 6 (Autonomous Maintenance) Step 1-3 ของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

Step 3:จัดทำมาตรฐานชั่วคราวของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ・การรักษา (ทำตาม) “มาตรฐานชั่วคราวของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง” (1)ทำหัวข้อและวิธีการที่ควรรักษาให้ชัดเจน      ・ทำมาตรฐานการตรวจสอบให้ชัดเจน (2)ทำความเข้าใจเหตุผลที่รักษาไม่ได้ (Know-why) ให้ดี      ・เข้าใจความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของคุณภาพกับการขัดข้องของเครื่องจักร (3)เรียนรู้ความสามารถในการที่จะรักษา      ・ฝึกอบรมการปฏิบัติงานตรวจสอบ ทำความสะอาด หล่อลื่น (4)จัดเตรียมสภาพแวดล้อมให้สามารถรักษาได้      ・การบำรุงรักษาด้วยตนเองก็คืองานในหน้าที่      ・จัดสรรเวลาที่จำเป็นในการทำงานตรวจสอบ ทำความสะอาด หล่อลื่น ・ขั้นตอนการจัดทำ “มาตรฐานชั่วคราวของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง” (1)ทำตำแหน่งให้ชัดเจน      ・ใช้ผังแสดงตำแหน่งให้ชัดเจน ⇒ กรณีหล่อลื่น ให้แสดงผังจุดที่อยากให้น้ำมันเข้า เป็นต้น (2)ทำเนื้อหาการปฏิบัติงานให้ชัดเจน      ・เนื้อหาการตรวจสอบ ทำความสะอาด หล่อลื่น (3)ทำวิธีปฏิบัติงานให้ชัดเจน      ・ตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้หรือไม่ ใช้เครื่องตรวจวัดหรือไม่ วิธีหล่อลื่น วิธีทำความสะอาด (4)ทำมาตรฐานให้ชัดเจน           ・เกณฑ์ตัดสินว่าปกติหรือไม่ปกติ ⇒ วัดเป็นเชิงตัวเลขเท่าที่จะทำได้     ・ปริมาณสารหล่อลื่น (5)ทำวิธีการจัดการเมื่อพบสิ่งผิดปกติให้ชัดเจน […]

ตอน 5 (Autonomous Maintenance) Step 1-3 ของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

 Step 2:มาตรการต่อแหล่งต้นตอ จุดเข้าถึงได้ยาก Step 2:มาตรการต่อแหล่งต้นตอ จุดเข้าถึงได้ยาก 1. มาตรการต่อแหล่งต้นตอ   (1) จำกัดขอบเขตของความสกปรกให้น้อยที่สุด    1)ป้องกันการฟุ้งกระจายของน้ำมันตัดกลึง เศษโลหะ ครีบ เป็นต้น    2)ใช้เวลาในการใส่น้ำมันตัดกลึงให้น้อยที่สุด        3)ค้นหาความเร็วและตำแหน่งในการใส่น้ำมันตัดกลึงให้เหมาะสมที่สุด                      เพื่อไม่ให้เศษโลหะสะสม   (2) ตัดตอนต้นตอสิ่งสกปรก    1)ฟื้นสภาพด้วยการซ่อมจุดที่น้ำมันรั่ว    2)ลดการกระเด็นจากการเชื่อม   ⇒ ไคเซ็นเงื่อนไขการเชื่อม   (3) ตัดตอนการเข้ามาของขยะ สิ่งแปลกปลอม น้ำมัน น้ำ    1)ปล่อยน้ำออกจากถังพักน้ำ   ⇒ ป้องกันน้ำเข้าลูกสูบ    2)ติดตั้งฝาครอบห้องกันน้ำมันเข้า Torque limiter 2.  มาตรการต่อจุดเข้าถึงยาก   (1) ทำให้การทำความสะอาด หล่อลื่น ตรวจสอบง่ายขึ้น    1)วิธีติดตั้งฝาครอบ จาก ใช้โบลต์มากมายขันแน่น      […]

ตอน 4 (Autonomous Maintenance) Step 1-3 ของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง

  ・Step 1:ทำความสะอาดเบื้องต้น (1)การทำความสะอาดคือ การตรวจสอบ             ด้วยการทำความสะอาด ทำให้ได้เห็นได้สัมผัส และค้นพบจุดบกพร่องได้อย่างจริงจัง (2)จุดบกพร่องเล็กน้อย คือ ข้อบกพร่องเล็กขนาดที่อาจมองไม่เห็น หรือคิดว่าอาจไม่ส่งผลต่อการขัดข้องของเครื่องจักรหรือ             ของเสีย  ถ้าเพียงจุดบกพร่องนั้นอาจไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่เมื่อมีจุดบกพร่องเล็กน้อย   เกิดพร้อมกันจึงเกิดปัญหาขึ้นได้             ฝุ่นผง สิ่งสกปรก วัตถุดิบติด สึก คลอน หลวม รั่ว กร่อน เปลี่ยนรูป รอย แตก อุณหภูมิสูง เสียงผิดปกติ สั่น ฯลฯ (3)จุดบกพร่องมีทั้งเห็นเด่นชัด และที่แฝงเร้น            จุดบกพร่องที่เราไม่รู้สึกตัว เรียกว่า จุดบกพร่องแฝงเร้น            จุดบกพร่องแฝงเร้นนี้ มีทั้งจุดบกพร่องแฝงเร้นทางกายภาพ และทางจิตวิทยา                  1)จุดบกพร่องแฝงเร้นทางกายภาพ: จุดบกพร่องที่ถูกปล่อยทิ้งไว้เพราะ                          มองไม่เห็นทางกายภาพถ้าไม่ถอดออกมาจะมองไม่เห็น ตำแหน่งติดตั้งไม่ดี […]

ตอน 3 (Autonomous Maintenance) วิธีดำเนินการ Autonomous Maintenance

         เพื่อให้การทำ Autonomous Maintenance เป็นไปอย่างจริงจัง จำเป็นต้องมีการยกระดับเป็นขั้นเป็นตอนไปใน Autonomous Maintenance นี้ มีระบบที่มีการปรับปรุงไว้แล้วเพื่อยกระดับเครื่องจักรและคน  เมื่อดำเนินการตามระบบนั้น  ขั้นหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว  ผู้บริหารหรือ ทีมงาน จะทำการวินิจฉัย เมื่อผ่านแล้ว ก็จะก้าวไปสู่ขั้นตอนต่อไป เป็นการดำเนินการโดยเน้นการนำของผู้มีตำแหน่งบริหาร ระบบนี้นั้น เรียกว่า การดำเนินการตามขั้นตอนของ Jishu Hozen เนื้อหากิจกรรมในแต่ละขั้นตอน เป็นไปตาม ตารางภาพขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม Autonomous Maintenance  ในตอนที่ 2         การดำเนินการตามขั้นตอนของ Jishu Hozen มีเป้าหมาย เพื่อให้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงและเสริมสร้างบุคคลที่มีความสามารถควบคุมด้วยตัวเองเก่งเรื่องเครื่องจักรนั้น ต้องดำเนินการเตรียมการล่วงหน้า (Step 0 ) และดำเนินการ 7 Step ของการดำเนินการ Autonomous Maintenance 1. เตรียมตัวล่วงหน้า ( […]

ตอน 1 การบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเอง (Autonomous Maintenance)

ความจำเป็นของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง : เพื่อป้องกันการเกิดปัญหากะทันหันล่วงหน้า การบำรุงรักษาด้วยตนเอง คือ ควบคุมการเสื่อมสภาพ “รักษาที่ทำงาน เครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีที่สุด”  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา การบำรุงรักษาด้วยตนเอง             1)จุดประสงค์                          ・กำจัดการเสื่อมสภาพที่ผิดธรรมชาติของเครื่องจักร ค้นพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ                         ・สร้างสถานปฏิบัติงานที่ทำงานง่าย สร้างพื้นฐานของสถานปฏิบัติงาน             2)จุดมุ่งหมาย                         ปกป้องสถานปฏิบัติงาน เครื่องจักรของตนเองด้วยตนเอง             3)เป้าหมาย                         สร้างสรรค์ “บุคลากรที่เก่งเรื่องเครื่องจักร” “บุคลากรที่เก่งเรื่องการผลิต” 1. วิธีดำเนินการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ・ความสามารถ 7 ประการที่ต้องมีติดตัว       1)ความสามารถในการค้นพบสิ่งผิดปกติ             ไม่ใช่ความผิดปกติที่เป็นผล แต่ต้องเป็นความสามารถในการค้นพบสิ่งผิดปกติ             ที่เป็นสาเหตุของผลนั้น       2)ความสามารถในการจัดการฟื้นสภาพ             มีความสามารถในการฟื้นสภาพจัดการสิ่งผิดปกติที่ค้นพบอย่างรวดเร็ว หรือ             แจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง     […]

ตอน 25 Planned Maintenance ทฤษฎี Mother Program(Stage 6: ไคเซ็นวิธีการจัดการ (จำนวนเป้าหมายการซ่อมบำรุง)

         โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับจำนวนเป้าหมายการซ่อมบำรุงซึ่งเป็นโจทย์ที่ใหญ่  นั่นเป็นสาเหตุให้ระยะเวลาการปรับก่อนเริ่มดำเนินการยืดเวลาออกไป และยังมีภาระในการหาคนมาปฏิบัติงานนั้น จึงจำเป็นต้องทำการไคเซ็น  ในการไคเซ็น ดังแสดงในผังที่ 6-28        ① ลดจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุง       ② ทบทวนแผนการบำรุงรักษาระยะยาว  ผลคือสามารถลดจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์เป้าหมายการซ่อมบำรุงได้มากกว่า 20%       เกี่ยวกับหัวหน้าผู้ควบคุมในการจัดการการซ่อมแซมเป็นประจำโดยรวม เกิดโจทย์การบริหารหน้างานว่าคนในตำแหน่งหน้าที่ระดับไหนจึงจะเหมาะกับหน้าที่ที่จะทำให้ “การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพดีและทำได้ด้วยความปลอดภัย”        บริษัทของเรามีหัวหน้างานของหน้างาน คือ หัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน, Team Leader, Group Manager  ผู้ที่รู้จักหน้างานเป็นอย่างดีน่าจะเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน จึงเปลี่ยนหัวหน้าผู้ควบคุมจาก Team Leader ในตอนแรกมาเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน  เรามี 4 ทีม 3 ผลัด หัวหน้าผู้ปฏิบัติงาน 4 คนเปลี่ยนเวรกันคนละปี โดยจุดมุ่งหมายอีกอย่างคือการทำให้เกิด (พัฒนา) วิธีการจัดการติดตัวไปด้วย […]

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.