ความจำเป็นของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง : เพื่อป้องกันการเกิดปัญหากะทันหันล่วงหน้า

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง คือ ควบคุมการเสื่อมสภาพ “รักษาที่ทำงาน เครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีที่สุด”  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง

            1)จุดประสงค์ 

                        ・กำจัดการเสื่อมสภาพที่ผิดธรรมชาติของเครื่องจักร ค้นพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ

                        ・สร้างสถานปฏิบัติงานที่ทำงานง่าย สร้างพื้นฐานของสถานปฏิบัติงาน

            2)จุดมุ่งหมาย

                        ปกป้องสถานปฏิบัติงาน เครื่องจักรของตนเองด้วยตนเอง

            3)เป้าหมาย

                        สร้างสรรค์ “บุคลากรที่เก่งเรื่องเครื่องจักร” “บุคลากรที่เก่งเรื่องการผลิต”

1. วิธีดำเนินการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
・ความสามารถ 7 ประการที่ต้องมีติดตัว

      1)ความสามารถในการค้นพบสิ่งผิดปกติ

            ไม่ใช่ความผิดปกติที่เป็นผล แต่ต้องเป็นความสามารถในการค้นพบสิ่งผิดปกติ

            ที่เป็นสาเหตุของผลนั้น

      2)ความสามารถในการจัดการฟื้นสภาพ

            มีความสามารถในการฟื้นสภาพจัดการสิ่งผิดปกติที่ค้นพบอย่างรวดเร็ว หรือ

            แจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง

      3)ความสามารถในการกำหนดเงื่อนไข

            มีความสามารถในการกำหนดเกณฑ์ตัดสินเป็นตัวเลขเพื่อรักษาสภาพให้คงอยู่

      4) ความสามารถในการควบคุมเงื่อนไข

            สิ่งที่ตกลงกันแล้วก็ต้องรักษาไว้ให้ดี

            มีความสามารถในการกำหนดกติกาเพื่อตรวจสอบสิ่งที่ต้องรักษานั้นไว้

      5)ความสามารถในการวิเคราะห์สาเหตุ

            มีความสามารถเสาะหาติดตามเรื่องราวด้วยเหตุผล พร้อมทำความเข้าใจในหลักการทฤษฎี

       6)ความสามารถในการทำไคเซ็น

            เข้าใจในกฎ 4 ประการของการไคเซ็น มีความสามารถในการจัดการข้อบกพร่อง

            ที่ใกล้กับแหล่งต้นตอ

      7)ความสามารถในการไคเซ็นปรับปรุงเงื่อนไข

            ต่อข้อกำหนดที่รักษาได้ยาก ก็มีความสามารถในการไคเซ็นเพื่อ “รักษาข้อกำหนดให้น้อย

            ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ภายในเวลาสั้น ๆ”

            ・พัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้เก่งเรื่องเครื่องจักร
คำอธิบายเสริม 4 ขั้นสู่ “ผู้ปฏิบัติงานที่เก่งเรื่องเครื่องจักร”

(1)      จำเป็นต้องมีความสามารถในการค้นพบข้อบกพร่องด้วย “ประสาทสัมผัสทั้ง 5”

            1) ดู (ประสาทตา)                        ⇒   เครื่องจักรเคลื่อนไหวช้าลง

            2) ฟัง (ประสาทหู)                       ⇒  เกิดการสั่นที่ผิดปกติ

            3) ดม (ประสาทจมูก)                  ⇒   ได้กลิ่นไหม้

            4) รู้สึก (ประสาทความรู้สึก)        ⇒ รู้สึกแปลก ๆ? สิ่งสำคัญในการตรวจสอบเครื่องจักร

            5) สัมผัส (ประสาทสัมผัส)           ⇒ อุณหภูมิสูง สั่นแรง

(2)      จำเป็นต้องมีความสามารถในการ “ฟื้นสภาพข้อบกพร่อง”

   1) ไม่ใช่ด้วยการซ่อมเมื่อขัดข้อง

   2) แต่เป็นการทำให้สภาพการเสื่อมของเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนที่หากปล่อยทิ้งไว้

                            จะนำไปสู่การขัดข้องหรือของเสียได้ กลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม

(3)      จำเป็นต้องมีความสามารถถาม “ทำไม ทำไม” ด้วย “มุมมองทางกายภาพของปรากฏการณ์”

   [ตัวอย่าง] ไฟฉายไม่ติด

   1) ไส้หลอดไฟขาด

   2) ถ่านไฟฉายถูกใช้ไปจนแรงดันไฟต่ำ

   3) สวิทช์สัมผัสได้ไม่ดี ทำให้กระแสไฟไม่ไหล

(4)      จำเป็นต้องมีความสามารถในการเข้าใจอายุของชิ้นส่วน

   [ตัวอย่าง] อายุถ่านไฟฉายที่ใช้ในไฟฉาย

   1) เมื่อใช้ถ่านไฟฉายไป ไฟจะถูกใช้ไปจนแรงดันไฟต่ำ

   2) เมื่อแรงดันไฟต่ำ ความสว่างของไฟฉายจะลดลง และสุดท้ายจะไม่ติด

   3) “อายุใช้งาน” หมายถึง เวลาตั้งแต่เริ่มใช้ถ่านไฟฉายจนไฟไม่ติด

               ⇒ หรือถึงแม้ไฟจะติด แต่เมื่อความสว่างต่อจุดประสงค์การใช้งานไม่เพียงพอ

                                จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่าน ก็หมายถึงเวลาจนกว่าจะเปลี่ยนถ่าน

            กิจกรรมของหน่วยงานผลิตหน่วยงานซ่อมบำรุง

          ผลิตและซ่อมบำรุงเหมือนสองล้อหน้าของรถ

                การเปลี่ยนจิตสำนึก รวมพลังมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เป็นจริง

. การ Role Sharing กิจกรรมของหน่วยงานซ่อมบำรุงให้หน่วยงานผลิต
3.  วิธีดำเนินการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างปลอดภัย
วิธีดำเนินการบำรุงรักษาด้วยตนเองอย่างปลอดภัย (ต่อ)

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM