(4) Stage 3: ศึกษาผลกระทบตอนสูญเสียฟังก์ชัน

       ศึกษาผลกระทบเมื่อชิ้นส่วนขัดข้อง จากการนี้ ให้คิดคะเนความเสี่ยงตอนขัดข้อง และกำหนดระบบการบำรุงรักษา  สิ่งที่ขัดข้องเป็นชิ้นส่วนในเครื่องจักร 

      เมื่อชิ้นส่วนเกิดการบกพร่อง ต้องทำให้ชัดเจนว่าผลกระทบนั้นปรากฏที่ไหน  พิจารณาผลกระทบเมื่อเกิดการสูญเสียฟังก์ชันของ เครื่องจักร Unit ชิ้นส่วน เป็นต้น ว่ามีผลกระทบแบบใด 

      อีกทั้งพิจารณาว่าผลกระทบเกิดขึ้นที่ไหน  และจำแนกเครื่องจักร Unit ชิ้นส่วน ตามขนาดของผลกระทบนั้น  หัวข้อการประเมินในการพิจารณาผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมให้พิจารณา เช่น การล่าช้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ การสูญเสียทางเศรษฐกิจ อุปสรรคด้านคุณภาพต่อผลิตภัณฑ์  สรุปเป็น Flow ของการกำหนดระบบการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิผลดังผังที่ 3-1  อีกทั้งมีตัวอย่างจริงดังแสดงในผังที่ 1-1


ความหมายของ Stage 1 – 3   ถึงไม่ต้องมี Stage 1 – 3 ก็สามารถทำ Stage 5, 6 ก็ได้หรือ ?

       Stage 1 – 3 จำเป็นต้องใช้ชั่วโมงแรงงานละเอียดอ่อนมากมาย อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับระดับเทคโนโลยีของบริษัท   ใน Stage นี้ ถึงจะข้ามไป ก็สามารถที่จะสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยทำเพียง Stage 5 ได้  

       ดังนั้น ในบริษัทที่มีระบบการบำรุงรักษาอยู่แล้วก็อาจได้ข้อสรุปว่า Stage 1 – 3 ไม่จำเป็น… แต่ความจริงแล้วไม่ใช่  อย่างที่เคยบอกไป ไม่ใช่ว่า “ความอยู่รอดของบริษัทจะเป็นแค่การจัดการด้วยกระดาษ” 

      หมายความว่า ไม่ใช่ว่า… ถ้ามีมาตรฐานหรือขั้นตอนการจัดการบำรุงรักษาเครื่องจักรก็แค่ทำไปเรื่อย ๆ พอกลับกัน ห้ามลืมสิ่งที่สนับสนุนเทคโนโลยีหรือทักษะที่เป็นพื้นฐานนั้น  Stage 1 – 3 จึงเป็นสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีหรือทักษะนั้น

      อีกทั้งการบำรุงรักษาเครื่องจักรการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ  ต้องทำการควบคุมแนวโน้มจากข้อมูล และจับสภาพของเครื่องจักร  นั่นก็คือ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร รวมถึงคนเดินเครื่องหรือผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจความหมายของข้อมูลเหล่านี้

      จึงเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้  ซึ่งจะทำให้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการขัดข้องจากการนี้ ทำให้สามารถรักษา “สภาพที่ไม่เกิดการขัดข้อง” ได้

       การจะเข้าใจเครื่องจักรได้ดี การอบรม Stage 1 – 3 เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ดังนั้น ถึงจะจบ Stage 6 ครั้งหนึ่งแล้ว

       ให้ทบทวน Stage 1 – 3 ก็เป็นสิ่งสำคัญ  อีกทั้งจำนวนคนก็อาจเพิ่มมากขึ้นจากการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษานี้ หรือมีการเพิ่มคนใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ต้องทำให้สามารถถอดแบบเทคโนโลยี-ทักษะนั้นไว้

       อันเป็นกิจกรรมที่จะขาดเสียมิได้ในการรักษาระดับของการบำรุงรักษาเครื่องจักร  กิจกรรมใน Stage 1 – 3 ที่ทำครั้งแรก ถ้าสามารถทำเป็นบัญชีเครื่องจักรหรือ One Point Lesson Sheet (OPLS) ได้ ก็อยากให้ใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นสื่อการสอนในการฝึกอบรมต่อไป 

      จากการนี้ จะสร้างให้เกิดพลังหน้างานที่แท้จริงในแต่ละคน อันจะทำให้เกิดการ “ถอดแบบ” ได้ในบริษัท

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM