– การฟื้นสภาพและไคเซ็นสร้างผลสัมฤทธิ์ ผลสัมฤทธิ์สร้างความยินดีในการบรรลุ –

ที่นี้ ด้วยการดำเนินการกิจกรรม AM ดังที่ได้พูดมาจนถึงตรงนี้ จะได้ Tangible Results อย่างไร จะขอยกตัวอย่างของกลุ่มย่อยของบริษัทต่าง ๆ ที่ทำ TPM มาให้ฟัง

 ได้ผลแบบนี้

  1. “เวลาทำความสะอาด-หล่อลื่น-ตรวจเช็ค” ซึ่งดำเนินการโดยมีเป้าหมายภายใน 10 นาที เหลือ 3 นาที
  2. “ปริมาณการเติมน้ำมันไฮดรอลิกและสารหล่อลื่น” ของทุกเดือนของสถานที่ทำงาน ได้มีมาตรการป้องกันรั่ว ทำให้จากที่เคยใช้ 50 ลิตรเหลือต่ำกว่า 2 ลิตร (น้ำมันในพิตใต้ดินหายไป)
  3. ก่อนดำเนินกิจกรรม “เครื่องขัดข้องกะทันหัน” จากทั่วบริษัทมี 4,106 ครั้งเหลือ 28 ครั้ง
  4. กลุ่มย่อยที่ทำ “ขัดข้องเป็นศูนย์-ของเสียเป็นศูนย์” ได้ต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน มีถึง 41 กลุ่มจากกลุ่มย่อยของทั้งบริษัท 342 กลุ่ม
  5. เพราะการขัดข้องลดลง “เวลาหยุดไลน์” เหลือเพียง 1 ใน 10
  6. “เวลา Set up-Adjust” ซึ่งก่อนไคเซ็นใช้เวลา 6 ชั่วโมง 55 นาที เหลือ 6 นาที
  7. Minor Stop ที่เคยมี 30 ครั้งต่อวันกลายเป็นศูนย์ ทำให้สามารถใช้ “การเดินเครื่องแบบ Pre-Auto” 2 ชั่วโมงได้
  8. พอไคเซ็นให้รักษาน้ำมันไฮดรอลิกในระดับ NAS8 ได้ “Cycle Time” เร็วขึ้นถึง 80%
  9. เมื่อดำเนินมาตรการการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรอย่างจริงจัง ทำให้สามารถยืด “อายุของใบมีด” เป็น 2.8 เท่า
  10. “ของเสียกระบวนการ” ซึ่งเคยถอดใจว่าไม่ต่ำกว่า 0.13% แต่เมื่อฟื้นสภาพจนถึงข้อบกพร่องเล็กน้อย เหลือแค่ 3 ppm (3 ชิ้นจาก 1 ล้านชิ้น)
  11. “OEE” จาก 72.2% ขึ้นเป็น 94.3% “ยอดผลิตต่อชั่วโมง” จาก 520 เป็น 678 ชิ้น
  12. จากการยกระดับ OEE ทำให้ “ผลิตภาพที่สร้างมูลค่าเพิ่ม” เพิ่มขึ้น 50%
  13. เมื่อเริ่มทำความสะอาด หล่อลื่นมอเตอร์จริงจัง ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าร่องสไลด์ ทำให้ลด “ค่าไฟ” ลงถึง 30%
  14. จากการที่ปัญหาเครื่องจักร ปัญหาคุณภาพลดลง และการยกระดับทักษะของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ “Lead Time” เหลือ 1 ใน 3
  15. “เคลม” ที่กลุ้มใจมานานหลายปีกลายเป็นศูนย์

 ทำการบริหารจัดการเครื่องจักรและสถานที่ทำงานอย่างดีสร้างผลสัมฤทธิ์

การฟื้นสภาพและการไคเซ็นสามารถเชื่อมโยงสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ว่า “ลดเวลาในการดูแลรักษา” “ลด Loss ของประสิทธิภาพของเครื่องจักร” “ลด Unit Used” “ยกระดับผลิตภาพ” “ยกระดับการรับประกันคุณภาพ” นั่นก็คือ ในหน้างานการผลิต หากผู้ปฏิบัติงานควบคุมรักษาเครื่องจักรอย่างถูกต้องก็จะเชื่อมโยงสู่ผลกำไร

หากทุกคนดำเนินการ AM อย่างถูกต้อง ก็จะได้ผลสัมฤทธิ์ในหัวข้อที่อยู่ในเครื่องหมาย “…..” ได้

ขอให้ดำเนินการกิจกรรม AM ซึ่งสร้างผลกำไร อย่างง่าย ๆ สร้างสถานที่ทำงานที่สามารถทำงานได้อย่างสบายใจอย่างกระตือรือร้น โดยไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ยากในตอนแรก

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM