กิจกรรม AM ไม่ใช่แค่สร้างผลกำไร  หากดำเนินกิจกรรม AM ก่อนอื่น เครื่องจักรและสภาพแวดล้อมของหน้างานจะเปลี่ยน  เมื่อเป็นเช่นนั้น การเปลี่ยนแปลงจนถึงความคิดและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานก็จะปรากฏให้เห็น บรรยากาศของหน้างานก็จะเปลี่ยนไป  นั่นก็คือเป็นการกระตุ้นกลุ่มย่อยให้คึกคัก  เราลองมาดูตัวอย่างของบริษัทอื่นเกี่ยวกับ Intangible Results เหล่านี้กัน

เครื่องจักร หน้างาน คนจะเปลี่ยน !

  1. จิตสำนึกว่า “ตัวเอกของการผลิต คือพวกเราที่ทำงาน” สูงขึ้น ดำเนินการบริหารจัดการงานของตัวเองด้วยตัวเองกันมากขึ้น
2. เกิดความรู้สึกว่า “เครื่องขัดข้องเป็นศูนย์-ของเสียเป็นศูนย์เป็นเรื่องธรรมดา” “เครื่องขัดข้องและของเสียเป็นความน่าละอายของหน้างาน” ความรู้สึกรับผิดชอบสูงขึ้น
3. จากการดำเนินการ Step อย่างมั่นคง เชื่อมโยงสู่ความมั่นใจว่า “ถ้าคิดจะทำก็ทำได้” อันทำให้ขวัญกำลังใจของที่ทำงานสูงขึ้น
4. จากการเสนอไอเดียไคเซ็นอย่างคึกคัก ทำให้การสร้างสถานที่ทำงานที่มีความคุ้มค่าในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
5. จากการสั่งสมการไคเซ็นที่สามารถสัมผัสได้ ท่าทีในการดำเนินการแก้ไขปัญหามีความกระตือรือร้นมากขึ้น
6. เกิดเป็นนิสัยติดตัวในการถาม Why? Why? Why? ทำให้มีความมั่นใจว่าสามารถแก้ไขของเสียเรื้อรังได้

7.จำนวนข้อบกพร่องที่ค้นพบโดยรวมสูงถึง 3 แสนรายการ (60 รายการต่อเครื่อง) การจัดการตอนช่วงแรกก็อยู่ที่ 20-30%  แต่พอช่วง Step 7 กลุ่มย่อยก็สามารถจัดการได้ถึงมากกว่า 90% (การค้นพบข้อบกพร่อง มีตัวอย่างที่มีพนักงาน 670 คน หาข้อบกพร่องได้ 1.3 ล้านรายการใน 4 ปี)

8.สภาพแวดล้อมของที่ทำงานก็ได้รับการดูแล ผู้มาเยือนก็ประทับใจ

9.จากการมีประสบการณ์ความลำบากของการปฏิบัติตาม ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจึงเข้าใจความสำคัญของการปกป้องเครื่องจักรด้วยตนเอง

 เปลี่ยนเป็นผู้ปฏิบัติงานที่คิดและทำได้ด้วยตนเอง

จากนี้ไป คิดว่าสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมการผลิตอย่างพวกเราจะยิ่งเข้มงวดขึ้น  พวกเราจึงต้องสร้างโครงสร้างระบบของหน้างานที่ไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งนั้น  เพื่อการนี้ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนยิ่งต้องดำเนินการ AM กระตุ้นกลุ่มย่อยให้คึกคัก ทำให้เป็นกลุ่มย่อยที่แข็งแกร่ง

เพื่อให้เกิดผู้ปฏิบัติงานที่เก่ง สามารถคิดและทำได้ด้วยตนเอง และเป็นกลุ่มย่อยที่แข็งแกร่งที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ขอให้ท้าทาย “7 Step ของ AM” โดยทุกคน

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM