ถึงตรงนี้ ได้พูดถึง “การบริหารจัดการประจำวัน” “การบริหารจัดการนโยบาย” “ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง” มาแล้ว  จากตรงนี้ไป คิดว่าอยากจะพูดถึงวิธีการประเมินโดยรวมของ 3 เรื่องเหล่านั้น และวิธีการประเมินระดับการบริหารจัดการด้วยตนเองของพวกตน

 ปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนด + ไคเซ็น = ผลสัมฤทธิ์

ได้พูดถึงแล้วว่าระดับของการบริหารจัดการด้วยตนเองจะถูกประเมินด้วย การบริหารจัดการประจำวัน การบริหารจัดการนโยบาย และผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง  ดังนั้น พวกเราเองก็จำเป็นต้องประเมินในจุดเหล่านั้นด้วยตัวเองด้วย

ก่อนอื่น การบริหารจัดการประจำวัน เป็นการปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดให้ดีด้วยกิจกรรม AM ประเมินระดับจากจุดที่ว่า “ปฏิบัติตามอยู่หรือไม่” “มีการทำให้ปฏิบัติตามได้ง่ายหรือไม่”  ระดับการบริหารจัดการนโยบาย ประเมินจากจุดที่ว่า จากการทำ FI “มีการทำไคเซ็นอย่างคึกคักหรือไม่” “ได้มีการยกระดับการเสร็จสมบูรณ์ของไคเซ็นหรือไม่”

และผลสัมฤทธิ์ซึ่งก็คือผลของการทำกิจกรรมเหล่านั้น ก็ได้รับการประเมินด้วย “หัวข้อการประเมินแต่ละหัวข้อได้บรรลุระดับไหนจากที่ได้กำหนดไว้”

 จากการผ่านจนถึงการรับรอง

เมื่อเราได้ทำกิจกรรมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จะเชื่อมโยงสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์อย่างแน่นอน ถ้าหากเชื่อมโยงไม่ได้ แสดงว่ายังมีจุดอ่อน จุดที่ไม่เพียงพอในการดำเนินการ AM หรือ FI อย่างใดอย่างหนึ่ง  ให้พวกเราทบทวนตัวเองในจุดนั้น เพื่อเชื่อมโยงสู่การทบทวนเนื้อหาสิ่งที่ต้องทำใหม่

จนถึง Step 6 เราได้มีการผ่าน Step หรือขอให้ Audit ใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีกของแต่ละ Step  สำหรับ Step 7 ให้ดูจากมุมมอง 3 อย่างว่าพวกตนอยู่ในระดับของการบริหารจัดการด้วยตนเองระดับไหน แล้วรับการ Audit เพื่อให้รับรองระดับนั้น คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่มีประสิทธิผล

ดังนั้นอาจจะเรียกได้ว่า “Step นี้ไม่มีวันจบสิ้น” หมายถึง จำเป็นต้องทำกิจกรรม AM และ FI แบบ Infinity Loop ยกระดับสิ่งที่มุ่งสู่ขึ้นไปเรื่อย ๆ

ด้วยการประเมินด้วยตนเองว่า “ผลสัมฤทธิ์ของสถานที่ทำงานของพวกตนบรรลุถึงระดับไหน” “กิจกรรมของพวกตนยังมีอะไรที่ไม่เพียงพอ” “ต้องไคเซ็นตรงไหนของการกระทำของพวกเรา” เป็นต้น แล้วจึงมากำหนดสิ่งที่พวกตนควรต้องทำ นั่นก็คือ “การดำเนินการบริหารจัดการด้วยตนเอง” นั่นเอง

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM