...

หลังจากเราเข้าใจ Key Point ที่ 1 เรื่องการกำหนดเป้าหมาย  ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของการบริหาร เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้มีพลัง และ เติบโตอย่างยั่งยืน   เรามาทำความเข้าใจกับ Key Point ที่  2 กันต่อครับ
  • การจัดองค์กร

องค์กรส่งเสริมTPM นั้น ได้มีการนำเอา “กลไกตัวเชื่อมโยง”
ที่นำเสนอโดย เลนซิส รีการ์ท ตั้งเป็น “องค์กรกลุ่มย่อยแบบซ้อนกันตามระดับชั้น” สำหรับส่งเสริม TPM
ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะ โดยมีผู้จัดการโรงงานเป็น leader มีผู้จัดการฝ่ายของแต่ละหน่วยงาน เป็นสมาชิก ตั้งขึ้นเป็นคณะกรรมการส่งเสริมTPM ทั่วทั้งบริษัท
ในองค์กรระดับต่ำลงไปก็จะมีคณะกรรมการส่งเสริม TPM ของ โดยมีผู้จัดการแผนก เป็นคณะกรรมการส่งเสริม  ระดับแผนก 
 
นอกจากนี้ จัดตั้งที่ประชุมส่งเสริมโดยมาจาก Supervisor , leader ของแต่ระดับ รวมทั้งมีการจัดตั้ง circle (หรือ group) โดยมี circle leader, member ของพนักงานหน้างานเป็นสมาชิก
จากนั้น ในแต่ละระดับชั้นก็ดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มย่อยหรือหมายถึง การตัดสินใจของกลุ่ม × การแก้ไขปัญหาเชิงกลุ่ม และดำเนินการทำให้เป็นจริงด้วยตัวเอง × บริหารแบบมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (Do) TPM นั้น
องค์กลุ่มย่อยแบบซ้อนกันที่เป็นองค์กรแนวดิ่งจะทำการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะ (หรือที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญ) ของแต่ละเสาของ TPM 8 Pillars ที่เป็นองค์แนวนอน
จากนั้น ก็ดำเนินการ TPM ด้วยองค์ Matrix ที่มาจากองค์กรแนวดิ่งที่เป็นองค์กรตั้งขึ้นเฉพาะและองค์กรแนวนอนที่เป็นคณะกรรมการเฉพาะ บทบาทของกรรมการเฉพาะนั้น ก็คือ Plan, Check, Action ของ 8 Pillars นั่นเอง
 
  
ตัวอย่างเช่น ในคณะกรรมการ AM  มีการทำจัดทำคู่มือกิจกรรม AM  จัดทำ check sheet การวินิจฉัย step การจัดทำรูปแบบหรือระบบ One Point Lesson
ในขั้นเตรียมการนำเข้ามาใช้ จากนั้น หลังจากเริ่มต้นกิจกรรมก็ทำการตรวจเช็คความคืบหน้าของกิจกรรม AM ดำเนินมาตรการสนับสนุน circle ที่ล่าช้าอยู่

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM
Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.