5) Step 16: ทบทวนการแบ่งหน้าที่

      หลังกำหนดระบบและวิธีการบำรุงรักษาแล้ว ในการดำเนินงานบำรุงรักษาจริง ต้องมีการแบ่งหน้าที่ของหน่วยงานหรือคนที่จะทำแต่ละโปรแกรมอย่างเป็นรูปธรรม 

       การทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรในความเป็นจริงคือคน  หากไม่กำหนดว่า “ใครทำอะไร” งานก็ไม่เดินหน้า  การแบ่งงานนี้ เป็นการรักษาระบบการบำรุงรักษา และกำหนดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา  ตัวอย่างการแบ่งหน้าที่โดยภาพรวมของกิจกรรมการบำรุงรักษาได้แสดงในผังที่ 5-10

       ตัวอย่างการแบ่งหน้าที่ตามเนื้อหารายละเอียดของงานดังแสดงในผังที่ 5-11 

       ค่าจัดซื้อสิ่งของ ค่าเช่าเครื่องจักรหนัก การปรับปรุงวิธีการบำรุงรักษา ยกระดับความน่าเชื่อถือ นำเข้าเทคนิคการวินิจฉัยเครื่องจักร เป็นต้น

       เป็นงานที่ควรต้องดำเนินการโดยช่างซ่อมบำรุง  อีกทั้ง กรณีที่ขอบเขตของเครื่องจักรกว้างขวาง จุดที่ต้องตรวจเช็คมาก แทนที่จะต้องเพิ่มช่างซ่อมบำรุง สู้แบ่งหน้าที่ไปให้ผู้ปฏิบัติงานทำจะดีกว่า  “ผู้ใช้เครื่องจักร” จะสามารถค้นพบ “ความผิดปกติของเครื่องจักรที่ใช้” ได้อย่างรวดเร็ว 

      ในกรณีนี้ ผู้ปฏิบัติงานอาจมีทักษะไม่เพียงพอ แต่หากมีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน ส่วนของทักษะที่ไม่เพียงพอก็ขอให้ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรม เช่น กิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM)  ระยะหลัง การดำเนินการไม่เพียงใช้พนักงานบริษัทตนเอง แต่ใช้องค์กรภายนอกมากขึ้น  ต้องระมัดระวังว่า Outsourcing มีจุดประสงค์เพื่อให้องค์กรภายนอกใช้ “เทคโนโลยี” ของบริษัทนั้น  ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่แท้จริงเพื่อการลดต้นทุน

กำหนดโครงสร้างกำลังคน

       หลังกำหนดหน้าที่ ให้กำหนดภาระงานมาตรฐานและขนาดกำลังคนในการทำงานและปฏิบัติงานจริง  จากขนาดตรงนี้จะเป็นตัวกำหนดแผนการกำลังคน และนโยบาย Outsourcing ในอนาคต 

       เมื่อกำหนดขนาดกำลังคนได้แล้ว จึงคำนวณหาขนาดงบประมาณการบำรุงรักษาประจำปี และพิจารณาว่าเป็นไปตามนโยบายหรือไม่อย่างไร


1.      กำหนดชั่วโมงแรงงาน (Man-Hour) โดยมีเงื่อนไขให้มีงานของแผนการบำรุงรักษาเป็นพื้นฐาน
2.      กำหนดชั่วโมงแรงงาน (Man-Hour) มาตรฐาน
3.      คำนวณค่าบำรุงรักษาโดยรวมโดยมีพื้นฐานจากขนาดกำลังคน
อีกทั้งเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ให้ร่างแผน “โปรแกรมพัฒนาบุคลากร” และจัดทำแผนการพัฒนาแต่ละบุคคล เพื่อสร้างบุคลากรที่จำเป็น

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM