4) Step 14: จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการจัดการเทคโนโลยี

       ตัวอย่างหนึ่งของเกณฑ์เทคโนโลยีดังแสดงในผังที่ 5-9  ต้องทำให้รากฐานการกำหนดค่าทางตัวเลขและสิ่งที่กำหนดต่าง ๆ จากเทคโนโลยี  เกณฑ์เทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นความสามารถด้านเทคโนโลยีของบริษัท 

       ดังที่กล่าวมาแล้ว แม้ในเกณฑ์เทคโนโลยีเหล่านี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการลงมือทำจริงหรือการลาดตระเวนตรวจเช็ค มักจะเป็นความรู้ที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล  จึงจำเป็นต้องสะสางเทคโนโลยีเหล่านี้ ให้คงไว้เป็นเกณฑ์เทคโนโลยีของบริษัท 

      เกณฑ์เทคโนโลยีเหล่านี้ เดิมเป็นหัวข้อที่เป็นรากฐานทางเทคโนโลยีในตอนออกแบบ  จากการคงรากฐานทางเทคโนโลยีนี้จะทำให้

  • สามารถเข้าใจเครื่องจักรและสิ่งที่กำหนด เช่น “ทำไมกฎกติการนั้นจึงถูกสร้างขึ้น”
  • สามารถใช้ดูในการพิจารณาเมื่อเกิดของเสียว่า “สาเหตุของของเสียเกิดจากปัญหาตรงไหนเป็นจุดเริ่มต้น”

เป็นต้น การกลับไปที่พื้นฐานเป็นการสืบทอดความสามารถในการคิด (Step 15 ขอข้าม)

       การจัดวางกำลังคน ที่ถูกแล้วควรต้องดำเนินการจัด “องค์กร” ตาม “งาน”  แต่ในความเป็นจริง ทุกบริษัทล้วนแต่มีองค์กรอยู่แล้ว แทบทุกบริษัทจึงต้องดำเนินการโปรแกรมนี้ตามองค์กรที่มีอยู่ 

      ดังนั้น ในที่นี้ จึงไม่ทำการจัดองค์กรใหม่ตั้งแต่ศูนย์ แต่ใช้พื้นฐานขององค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบัน แล้วคิดจัดสรรแบ่งงานแต่ละหน่วยงาน  โปรแกรมนี้ ได้รวม ผู้ปฏิบัติงาน ช่างซ่อมบำรุง และบริษัท outsource ที่รับผิดชอบการดำเนินการ 

       แต่ที่ถูกต้องแล้ว บริษัทนั้นต้องทำให้งานการบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงานชัดเจน แล้วกำหนดว่าจะจัดสรรงานนั้นให้แก่ใครจึงจะสามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ในการกำหนดหน้าที่

  1. ทำให้งานการบำรุงรักษาเครื่องจักรชัดเจน
  2. กำหนดปริมาณงาน
  3. จำนวนคนตามการจัดสรร
  4. ระดับทักษะ

เป็นต้น

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM