ผลสัมฤทธิ์ที่พวกเราถูกคาดหวังในฐานะที่เป็นหน้าที่ที่ควรทำให้บรรลุในกิจกรรมการผลิตคือ “ต้นทุนถูก ผลิตภาพสูง ประสิทธิภาพสูง และรักษาสภาพเหล่านั้นไว้ได้” เป็นต้น  และเพื่อบรรลุสิ่งเหล่านั้น จำเป็นต้องทำให้ Loss ชัดเจน และดำเนินกิจกรรมเพื่อลด Loss นั้น

 ในการบรรลุผลสัมฤทธิ์จำเป็นต้องลด Loss

ต้นทุน สามารถคำนวณได้จากการดูว่าใช้ค่าใช้จ่ายไปแค่ไหน และผลิตออกมาได้แค่ไหน  ดังนั้นก่อนอื่น สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่า “ในสถานที่ทำงานของพวกตน มีการใช้ค่าใช้จ่ายอย่างไร ใช้ไปแค่ไหน”  ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในหน้างานการผลิตมี ค่าวัตถุดิบ ค่าพลังงาน ค่าแม่พิมพ์-จิ๊กเครื่องมือ ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่อง เป็นต้น และเพื่อการบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ ต้องทำให้ชัดเจนว่า “Yield ของวัตถุดิบ” “Unit used ของพลังงาน” “อายุของแม่พิมพ์-จิ๊กเครื่องมือ หรือว่าค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์” อยู่ในสภาพเช่นใด ต้องลดหรือยกระดับถึงแค่ไหน จากนั้นจึงดำเนินการไคเซ็น

ในการยกระดับผลิตภาพ ต้องเร่งความเร็วของการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรหรือประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น  ดังนั้นก่อนอื่นต้องทำให้ชัดเจนในสภาพปัจจุบันของ “เวลามาตรฐาน” “OEE” “Actual Man-Hour ต่อ Man-Hour มาตรฐาน” จากนั้นจึงต้องทำให้ชัดเจนถึงเนื้อหา Loss เช่น “จำนวนครั้ง-เวลาที่เกิดขัดข้อง” “จำนวนครั้ง-เวลาของการ set up” “จำนวนครั้งที่เกิด Minor Stop” “อัตราของเสียในกระบวนการ” เป็นต้น นอกจากนั้นยังมี “Process Balance ของการปฏิบัติงาน” “ประสิทธิภาพการจัดสรรงาน” เป็นต้นด้วย

นอกจากนี้แล้ว ยังมีหัวข้อไคเซ็น เช่น “การลดของระหว่างผลิต (WIP)” “การลดของสำเร็จรูปคงคลัง” เป็นต้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ต้องบริหารจัดการหัวข้อการประเมินกิจกรรมของพวกตนโดยพวกตนเองด้วย

 มาประเมินระดับการบรรลุผลกันเถิด

เกี่ยวกับหัวข้อการประเมินที่พูดถึงมาแล้ว ให้จัดระดับให้สามารถเปรียบเทียบกับกลุ่มย่อยอื่นได้ออกเป็นประมาณ 5 ระดับให้สามารถประเมินตนเองได้ด้วยตนเองว่า “พวกตนเองอยู่ในระดับไหน” “หัวข้อไหนไปได้ดี หัวข้อไหนยังไม่เพียงพอ” ก็จะดี

ดังนี้ นอกจาก “หัวข้อประเมินร่วม” แล้ว ยังจำเป็นต้องเสริม “หัวข้อประเมินที่เป็นลักษณะเฉพาะของสถานที่ทำงานของพวกตนเอง” เพื่อให้มีความสามารถติดตัวในการประเมินตัวเองด้วยตัวเองว่าพวกตัวเองยังมีอะไรที่ไม่เพียงพอ หรือมีอะไรที่ต้องไคเซ็น และดำเนินการได้โดยไม่ต้องให้ผู้บังคับบัญชาบอก

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM