เราดำเนินการมาตั้งแต่ Step 1 ถึง Step 5 แล้ว  เราลองมาสะสางดูว่าจากการดำเนินการ Step จนตรงตรงนี้ “ทำอะไรได้แล้ว และยังทำอะไรไม่ได้” เพระว่าสุดท้ายแล้วต้องไปให้ถึง Step 7 เมื่อตัดเนื้อหาสิ่งที่ทำได้แล้วจนถึง Step 5 ก็จะมองเห็นเนื้อหาที่ต้องทำใน Step 6 “การสร้างมาตรฐานและการควบคุมรักษา” นั่นเอง

 จนถึงตรงนี้ สามารถทบทวนมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานได้แล้ว

ก่อนอื่น จนถึงตรงนี้ ลองย้อนกลับไปดูสิ่งที่ทำมาจนถึง Step 5 ดู

ก่อนอื่น จนถึงตรงนี้ ลองย้อนกลับไปดูสิ่งที่ทำมาจนถึง Step 5 ดู

ใน Step 4 ทำการฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะในการค้นหาข้อบกพร่องที่มองข้าม มองตกหล่นไป แล้วทำการฟื้นสภาพ-ไคเซ็นข้อบกพร่องเหล่านั้น แล้วจึงให้ดำเนินการตรวจเช็คโดยรวมที่ตัวเครื่องจักรและการปฏิบัติงาน  ใน Step 5 จากผลของการดำเนินการที่แล้วมา ให้ดำเนินการสร้างมาตรฐานจริงจากมาตรฐานชั่วคราวของ AM และมาตรฐานชั่วคราวของการปฏิบัติงานที่ทำใน Step 3

นั่นก็คือ ใน Step ที่แล้วมาจนถึงตรงนี้ เป็นการจัดเตรียม “มาตรฐาน AM” และ “มาตรฐานการปฏิบัติงาน” อันเป็นพื้นฐานเพื่อรักษาสภาพในสถานที่ปฏิบัติงานแปรรูปด้วยเครื่องจักร และสถานที่ปฏิบัติงานด้วยมือให้คงไว้  เปรียบเสมือน “ได้ปีนเขาลูกหนึ่งได้สำเร็จ”

 จำเป็นต้องทบทวนทุกอย่างที่กำหนดขึ้นจากตรงนี้

ถ้าเช่นนั้น เพื่อรักษาสถานที่ทำงานของพวกตนให้ดี แค่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานก็พอใช่หรือไม่  แน่นอน เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างแน่นอน  แต่ในหน้างานการผลิต ยังมีสิ่งที่กำหนดขึ้นที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องปฏิบัติตามอื่น ๆ อีก

ในการทำการบริหารจัดการด้วยตนเองของพวกตน เพื่อให้ “พวกตนเองสามารถกำหนด และทำในสิ่งที่พวกตนเองต้องทำต่อสถานที่ทำงานของตนเอง” มีเงื่อนไขพื้นฐานคือต้องรู้ว่า “ต้องปฏิบัติตามอะไรอย่างถูกต้อง” แล้วถึงต้องเรียนรู้ให้เกิดความสามารถที่แท้จริงในการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง

และเพื่อการนี้ ทุกคนจึงต้องปีนเขาอีกลูกหนึ่งที่ชื่อว่า Step 6 “การสร้างมาตรฐานและการควบคุมรักษา”

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM