“ความน่าเชื่อถือ” และ “ความครอบคลุม” “ความประหยัด” (ผังที่ 1-1)

       “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” ก่อนอื่น จำเป็นต้องรักษา “ความน่าเชื่อถือ” เอาไว้  ความน่าเชื่อถือ คือ “การทำฟังก์ชันที่จำเป็นในช่วงเวลาที่กำหนดได้” สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องการก่อนเรื่องอื่น  เครื่องจักรประกอบจากชิ้นส่วนมากมาย  คุณลักษณะในการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ในการใช้งานจริง ยังมีแรงเค้น (Stress) เฉพาะที่เกิดจากสภาพการใช้งานหรือสิ่งแวดล้อมการใช้งาน ทำให้รูปแบบการเสื่อมสภาพตามเวลาเปลี่ยนไปอย่างมาก  ยังผลให้เกิดกลไกการขัดข้องแบบพิเศษของชิ้นส่วนทำให้สูญเสียฟังก์ชัน 
       ในความเป็นจริงของเครื่องจักร ชิ้นส่วนทั้งหมดไม่ได้สูญเสียฟังก์ชันในช่วงเวลาเดียวกัน และเกิดการขัดข้องแบบเดียวกัน แต่จะเกิดการขัดข้องของชิ้นส่วนเฉพาะบางตัวในระยะเวลาเฉพาะของมัน  ชิ้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบของเครื่องจักรบางตัวสูญเสียฟังก์ชันแล้วยังผลให้เครื่องจักรหยุด  พูดอีกอย่างก็คือ การเกิดการขัดข้องของเครื่องจักร ขึ้นอยู่กับว่าชิ้นส่วนไหนขัดข้อง     
       ดังนั้นการค้นหาว่าชิ้นส่วนไหนจะเกิดการขัดข้องเมื่อไหร่จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญ  จึงต้องเลือกชิ้นส่วนจากการขัดข้องในอดีต ผลของเครื่องจักรรุ่นเดียวกัน จุดอ่อนทางทฤษฎี อายุการใช้งานตามคำแนะนำของผู้ผลิต เป็นต้น และทำการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม  ดังนั้น ความน่าเชื่อถือของชิ้นส่วนทั้งหมดจึงเป็นสิ่งที่ต้องการ นี่คือ “ความครอบคลุม” ของการบำรุงรักษาเครื่องจักร  การบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยหลักการต้อง “ควบคุมดูแลทุกชิ้นส่วนอย่างครอบคลุม” เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ การทำให้กลไกการเสื่อมสภาพของทุกชิ้นส่วนชัดเจน และคาดการณ์อายุของมันจึงเป็นสิ่งที่ต้องการ

       แต่ทว่าในความเป็นจริง เครื่องจักรประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนมาก  การจะรักษาความน่าเชื่อถือของชิ้นส่วนทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ชั่วโมงแรงงาน (Man-Hour) และค่าใช้จ่ายสูงมาก 
       การใช้ค่าใช้จ่ายมหาศาลเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรจะทำให้ราคาผลิตภัณฑ์สูงมาก บริษัทก็อยู่รอดไม่ได้  ดังนั้นจะรักษาอย่างไรให้มี “ความประหยัด” จึงเป็นสิ่งสำคัญ  ในความเป็นจริงการเพิ่มเติม “การควบคุมโดยคำนึงถึงความประหยัด” เสริมแนวคิดทางทฤษฎีนี้เป็นสิ่งสำคัญในการบริหารบริษัท  ดังนั้นจึงต้องคิดถึงการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วย Life Cycle โดยรวม หาว่า “จะรักษาชิ้นส่วนไหนจึงจะได้ผลและมีความประหยัดสูงสุด” เพื่อรักษา “ความน่าเชื่อถือ” เพื่อให้ได้จุดประสงค์ของเครื่องจักร จึงจำเป็นต้องมีทั้ง “ความครอบคลุม” และ “ความประหยัด”
       นั่นหมายถึง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษา “ความน่าเชื่อถือ” ในระดับไหน ต้องทำให้ “ความครอบคลุม” และ “ความประหยัด” ถึงระดับไหน” จะเป็นการบำรุงรักษาเครื่องจักรในความเป็นจริง  ด้วย 3 หัวข้อเหล่านี้ มีปัจจัยที่ขัดแย้งกันอยู่ นั่นคือต้องดำเนินการ “บำรุงรักษาเครื่องจักรในความเป็นจริง” ในระหว่าง “ทฤษฎี-เหตุผล” และ “ความเป็นจริง”

       งานบำรุงรักษาในความเป็นจริงต้องดำเนินกิจกรรม “ป้องกันการเสื่อมสภาพ-วัดการเสื่อมสภาพ-ฟื้นฟูการเสื่อมสภาพ” (ผังที่ 1-2)  คิดถึงจุดเริ่มต้นของการทำ PM ของ TPM ที่เป็นพื้นฐานคือ “หยุดการขัดข้อง” “ไม่ทำให้เกิดการขัดข้อง” “ฟื้นฟูจากการขัดข้องได้อย่างรวดเร็ว” โดยมี “ความครอบคลุม” และ “ความประหยัด” และคิดถึงการระบบการบำรุงรักษาและการแบ่งหน้าที่ใหม่ อีกทั้งยังต้องสร้างวิธีการจัดการนั้น

1. กิจกรรมป้องกันการเสื่อมสภาพ:

       กิจกรรมหยุดการเสื่อมสภาพของเครื่องจักรด้วยการใช้งานควบคุม set-up ปรับแต่งอย่างถูกต้อง และจัดเตรียมให้เป็นไปตามเงื่อนไขพื้นฐาน  เงื่อนไขพื้นฐานหมายถึงการทำความสะอาด-หล่อลื่น-ขันแน่น

2. กิจกรรมวัดการเสื่อมสภาพ:

       กิจกรรมค้นพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ ด้วยการเช็คเงื่อนไขการใช้งาน ลาดตระเวนประจำวัน-ตรวจสอบเป็นประจำ-ตรวจเช็ค เป็นต้น  รวมถึงการใช้เทคนิคการวินิจฉัย เช่น การวัดความสั่นสะเทือน และการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของรูปทรง เช่น การสึกหรอ อันเป็นการตรวจวัดเชิงปริมาณ

3. กิจกรรมฟื้นฟูการเสื่อมสภาพ:

      กิจกรรมการฟื้นฟูการเสื่อมสภาพ เช่น การซ่อมแซมเล็กน้อย หรือการจัดการสิ่งผิดปกติ การแจ้งเหตุอย่างเหมาะสม

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM