...

 

1. ประเภทของเครื่องจักร

       เครื่องจักรมักถูกแบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรม เช่น “เครื่องจักรเชิงแปรรูปประกอบ” “เครื่องจักรเชิงกระบวนการ” “เครื่องจักรเชิงอุตสาหกรรมกระบวนการ” เป็นต้น  แต่ถึงจะถูกจัดเข้าประเภทอุตสาหกรรมกระบวนการ แต่ก็มีเครื่องจักรเชิงแปรรูปประกอบอยู่ด้วย  หรืออุตสาหกรรมรถยนต์ระยะหลังเครื่องจักรก็ใหญ่ขึ้น ทำการเดินเครื่องแบบต่อเนื่องก็มี  ดังนั้นจึงควรแบ่งประเภทของเครื่องจักรจากพื้นฐานใหม่อีกครั้ง  ก่อนอื่นแบ่งเป็นประเภทเครื่องจักรกลและอุปกรณ์วัดคุมและอุปกรณ์ไฟฟ้า และแบ่งเครื่องจักรกลออกเป็น 2 ประเภทในการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรในความเป็นจริงได้ดีขึ้น

       ประเภทแรก เป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่อายุยืนยาว  ความเร็วในการเสื่อมสภาพจะมีหน่วยเป็นปี โดยทั่วไปจะเป็นการถอดชิ้นส่วนออกมาตรวจสอบหรือซ่อมแซมเป็นประจำ  อายุชิ้นส่วนก็ค่อนข้างยาว และมีข้อบกพร่องไม่มากเป็นลักษณะพิเศษ  เทคนิคและ know-how มักจะขึ้นอยู่กับตัว “คน” ได้ง่ายก็เป็นลักษณะพิเศษ มีแนวโน้มที่จะเป็นการจัดการที่ขึ้นอยู่กับคน

       ประเภทที่สอง เป็นเครื่องจักรที่มีอายุค่อนข้างสั้น ตัวเล็ก มีอัตราการเดินเครื่องสูง เสื่อมสภาพเร็ว  พอชิ้นส่วนขัดข้องก็มักจะเปลี่ยน  เครื่องจักรในความเป็นจริง มีจำนวนชิ้นส่วนมาก ข้อบกพร่องก็เกิดเป็นความถี่สูง  ต้องจัดการด้วยการใช้ไปด้วยฟื้นสภาพไปด้วย

        และอีกประเภทคืออุปกรณ์วัดคุมและอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งแบ่งได้เป็น ระบบจ่ายไฟ อุปกรณ์หมุน เช่น มอเตอร์ – เครื่องจักรหนักทางไฟฟ้า  และระบบอุปกรณ์วัดคุมที่ใช้ในระบบควบคุม เป็นต้น

“ช่างบำรุงรักษา” และ “ช่างซ่อม”

        ผู้ดูแลการบำรุงรักษาเครื่องจักร จำเป็นต้องมีฟังก์ชัน 2 อย่าง ฟังก์ชันนั้นขอเรียกว่า “ช่างบำรุงรักษา” และ “ช่างซ่อม”  การเป็น “ช่างบำรุงรักษา” และ “ช่างซ่อม” จะมีฟังก์ชันความรับผิดชอบต่างกัน (ผังที่ 1-1)

       “ช่างบำรุงรักษา” มีพันธกิจในการดูแลว่า “จะทำการบำรุงรักษาอย่างมีแผนการอย่างไร” 

       “ช่างบำรุงรักษา” คือ “วิศวกรที่มีทั้งเทคโนโลยีและทักษะพร้อม”  ทำงาน เช่น การพิจารณา-กำหนดระบบและวิธีการบำรุงรักษา กำหนดรอบในการบำรุงรักษา วางแผนการบำรุงรักษาระยะกลางและวางแผนงบประมาณ  ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงานที่ทำตามคำสั่ง เช่น คู่มือ เอกสารมาตรฐาน และ System ไม่ใช่ช่างซ่อม…ที่ทำแค่ถอดชิ้นส่วน-ตรวจเช็คตามเอกสารมาตรฐาน หรือแค่ถูกเรียกตัวไปซ่อมเมื่อเกิดเครื่องขัดข้อง  “ช่างบำรุงรักษา” ที่ถูกส่งไปประจำหน้างาน จึงจำเป็นต้องมีสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยพัฒนา “ช่างบำรุงรักษาที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยี”  เมื่อดูสภาพที่แท้จริง แต่ละบริษัทล้วนมีจำนวนคนในหน่วยงานเครื่องจักรไม่มาก เป็นสิ่งแวดล้อมที่เรียกกันว่า พัฒนา “ผู้ควบคุมผู้ไม่มีเทคโนโลยี” อย่างเช่น ความเป็นจริงของการ Outsourcing ผู้ผลิตหรือบริษัทที่เกี่ยวเนื่อง-บริษัทที่ให้ความร่วมมือมีการกำหนดจำนวนเงินตามสัญญาต่อปริมาณงาน เพราะเชื่อมโยงต่อผลกำไรของบริษัท ทำให้ทำการไคเซ็นสร้างประสิทธิภาพด้วยตัวเองได้ยาก 
       ดังนั้น ในการดำเนินการเกี่ยวกับโจทย์ปัญหา เช่น การยืดอายุรอบในการตรวจเช็คโดยความน่าเชื่อถือของเครื่องจักรไม่แย่ลง หรือลดค่าบำรุงรักษา สิ่งสำคัญมากคือการพัฒนา “ช่างบำรุงรักษา” ที่รู้จริงในสภาพที่แท้จริงของหน้างาน
       โดยเฉพาะ “ฝ่ายจัดการ” ถ้าไม่มีเทคโนโลยี จะเกิดปัญหาใหญ่ เช่น Flow ในการจัดการบำรุงรักษาโดยรวมและการดำเนินการจะพังทลาย ในการเจรจากต่อรองกับฝ่ายปฏิบัติจะทำให้ไม่ได้ค่าบำรุงรักษาที่เหมาะสม 
       ต้องเป็น “ช่างบำรุงรักษา” ที่มีความสามารถในการจัดการ เช่น มีความรู้เรื่องหลักการ กฎเกณฑ์ เทคโนโลยีเครื่องจักร สามารถในการวิเคราะห์ต่าง ๆ ประเมินแผนการ ตรวจคุณภาพงานบำรุงรักษาได้

       “ช่างซ่อม” คือ การมีฟังก์ชัน “ปฏิบัติงานในการสัมผัสเครื่องจักรจริง”  ฟังก์ชันนี้คือการปฏิบัติงาน เช่น ถอดชิ้นส่วนของอุปกรณ์และตรวจเช็ค  การฟื้นฟูเครื่องจักรที่ขัดข้องจริง การหล่อลื่นหรือการตรวจเช็คประจำวัน  มุ่งสู่การเป็นคนมีทักษะมีฝีมือ  เป็นผู้คนที่จะขาดเสียไม่ได้เลยในการดำเนินการบำรุงรักษา

       สำหรับบริษัท ในการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องจักร ทั้ง “ช่างบำรุงรักษา” และ “ช่างซ่อม” เป็นสองฟังก์ชันซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  ส่วนในความเป็นจริง การจะมีฟังก์ชันแบบไหนยังไง เนื่องจากแต่ละบริษัทมีเครื่องจักรที่ใช้ต่างกัน จึงต้องมีการกำหนดโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักร และกำหนดวิธีการจัดสรรเอง

       ในความเป็นจริง ในบริษัท การรับประกันว่าจะทำให้ฟังก์ชันทั้งสองคือ “ช่างบำรุงรักษา” และ “ช่างซ่อม” มีระดับที่สูงขึ้น เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2 พื้นฐานของโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักร

       ทีนี้ ก่อนจะเข้าสู่การอธิบายกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรม มาสะสางโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามทฤษฎีกันก่อน  ผังที่ 2-1 แสดงถึงวงจร PDCA ของโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักร 
        วงจรนี้ประกอบขึ้นจากการปฏิบัติงานตามรอบต่าง ๆ ตั้งแต่รายปี-รายเดือน จนถึงรายวัน  System ประกอบด้วย Sub-System หลายระบบ (ผังที่ 2-2) 

       ก่อนอื่น Main System เริ่มจากกิจกรรมเงื่อนไขพื้นฐาน เช่น การตรวจเช็ค  ข้อบกพร่องที่ค้นพบที่นี่ ต้องจัดการด้วยการบำรุงรักษาประจำวันหรือแผนการประจำเดือน 

       ในขั้นตอนการวางแผน ให้ลิสต์หัวข้อที่จำเป็นต้องบำรุงรักษา และประกอบเป็นแผนที่สามารถทำได้  งานที่ประกอบเป็นแผน จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำต่อไป  อีกทั้งเมื่อทำตามแผนเสร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่วงจรการตรวจสอบ และกลับไปสู่วงจรเงื่อนไขพื้นฐาน  Flow การดำเนินการนี้ และ Flow การจัดการงบประมาณ และ Flow ของแผนการบำรุงรักษาตามรอบระยะกลางและระยะยาว จะประกอบกันเป็นวงจร PDCA  System เหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน System นี้โดยรวมจะหมุนตามวงจร PDCA และดำเนินการบำรุงรักษา

       เครื่องจักรอย่างราบรื่น  วงจรพื้นฐานนี้ใช้ร่วมได้กับการบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบไหนก็ได้

       Main Cycle มีได้จากการประกอบกันขึ้นของแต่ละ Sub Cycle  แต่ละ Sub Cycle ประกอบด้วย PDCA  อย่างเช่น “Sub Cycle ของเงื่อนไขพื้นฐาน”  ก่อนอื่น วางแผน P กำหนดจุดและรอบการตรวจเช็คตามมาตรฐาน เป็นต้น   

      ถัดจากนั้น ปฏิบัติ Do ดำเนินการตรวจเช็คตาม Check List ผลที่ได้นั้นให้ ตรวจสอบ C ทำการตัดสิน-ประเมิน แล้ว ปรับปรุง A ตามความจำเป็น เช่น ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรอบการตรวจเช็ค  และให้นำผลนั้นสะท้อนไปที่การวางแผน P  ใน Main System “Sub Cycle เงื่อนไขพื้นฐาน” การหมุนตามรอบรายวันเป็นพื้นฐาน หรืออย่างมากก็หมุนตามรอบรายสัปดาห์ 

       ส่วน “Cycle วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ” ให้หมุนตามรอบรายเดือนหรือรอบรายปี ส่วน “งบประมาณและแผนการระยะกลางและยาว” โดยหลักการเป็น Cycle หมุนตามรอบรายครึ่งปีหรือรายปี

      อีกทั้งกิจกรรมในความเป็นจริง โดยทั่วไป หน่วยงานหรือบริษัทที่ดูแลแต่ละ Sub Cycle จะต่างกัน เช่น “Sub Cycle เงื่อนไขพื้นฐาน” เป็นของคนเดินเครื่อง “Sub Cycle การจัดทำแผน” เป็นของหน่วยงานดูแลเครื่องจักร “Cycle การดำเนินการ” เป็น บริษัท Outsourcing “Cycle การตรวจสอบ” เป็นของหน่วยงานดูแลเครื่องจักร “Sub Cycle การจัดทำงบประมาณ” เป็นของหน่วยงานวางแผนและระดับผู้บริหาร…เป็นต้น 

       เมื่อแสดงหน้าที่ของแต่ละ Sub Cycle เป็นผังก็ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก แต่เมื่อคิดถึงความเป็นจริงที่ใส่ปัจจัยของเวลาและปัจจัยของหน่วยงานหลักในการควบคุมเจ้าไปแล้วจะยากมาก  ดังนั้น จำเป็นต้องมีกลไกเพื่อการหมุน Cycle นี้ให้ราบรื่น ก่อนอื่นจุดสำคัญคือ ‘จะสร้าง Cycle นี้ตามทฤษฎีได้อย่างไร’

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.