...
หลังจากเตรียมการใน Step 1- Step 5  เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการ Kick-off  กิจกรรม  TPM  เพื่อนำมาดำเนินการอย่างเป็นระบบ  โดยสาระสำคัญของการทำ TPM kick-off  มีดังนี้

      Step 6: TPM kick-off

วันเริ่มต้นของการทำกิจกรรม TPM อย่างจริงจัง หรือวัน  kick-off  นั้น เป็นวันที่ควรทำให้ทุกคนรู้ว่าทำไม องค์กรของเราต้องทำกิจกรรม  TPM    และกิจกรรมนี้จำเป็นที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม  ดังนั้นจึงมักใช้สถานที่กว้างๆ  เช่น ห้องประชุมขนาดใหญ่หรือลานกว้างๆ หน้าโรงงาน เป็นต้น ให้พนักงานเข้าร่วมมากที่สุดเท่าที่จะมากได้  และจัดรูปแบบให้เป็นกิจกรรมการรณรงค์ที่ยิ่งใหญ่  เช่น  “การประชุมใหญ่ของการ  kick-off   กิจกรรม  TPM  หรือ   “พิธี kick-off กิจกรรม TPM”

ตังอย่างของโปรแกรมในวันนั้นคือ
  1. คำประกาศเจตนารมณ์ของผู้บริหารระดับสูง (การประนโยบายการนำกิจกรรม  TPM  มาดำเนินการ)
    2. การประกาศโครงสร้างการบริหารเพื่อผลักดันกิจกรรม TPM  นโยบายพื้นฐานและเป้าหมายของกิจกรรม  TPM  รวมถึงแผนแม่บท  (TPM Master Plan)  ของกิจกรรม  TPM  (โดยประธานคณะกรรมการผลักดันกิจกรรม  TPM  หรือผู้จัดการสำนักงานการผลักดันกิจกรรม  TPM (TPM Promotion Office )
  2. การประกาศการตัดสินใจในการเริ่มกิจกรรม TPM  ของประธานสหภาพ  หรือตัวแทนของพนักงาน
  3. คำกล่าวแสดงความยินดีของแขกผู้มีเกียรติที่เชิญมา และ ที่ปรึกษา TPM ของบริษัท
  4. การรายงานผลลัพธ์ของการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง และการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ที่ได้ดำเนินการที่เครื่องตนแบบของผู้บริหารในช่วงการเตรียมการ  รวมถึงกิจกรรมต้นแบบของการ Kaizen ของเสาต่าง ๆที่เหลือ
  5. การมอบรางวัลผู้ชนะในการประกวดโปสเตอร์ คำขวัญ  และเรียงความต่าง ๆ  ผลงาน Kaizen เด่น ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเตรียมการ
ขั้นสร้างระบบกิจกรรมมีดังต่อไปนี้

Step 7: การสร้างระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

7.1)  การสร้างระบบการ Kaizen เพื่อลดความสูญเสียด้วยกิจกรรม Focused Improvement
         –  การจัดตั้ง Project Team เพื่อทำ Kaizen ลดความสูญเสียอย่างเป็นระบบ
7.2)  การสร้างระบบพัฒนา Operator อย่างเป็นขั้นเป็นตอนด้วยกิจกรรม Autonomous Maintenance
         – การถ่ายโอนความสามารถของช่างผ่านกิจกรรม AM  7 Step และทำการประเมินกิจกรรม AM แบบ Step by Step
7.3)  การสร้างระบบบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance)
         – การสร้างระบบ Time Base Maintenance Condition Base Maintenance และ Corrective Maintenance
7.4)  การสร้างระบบ Education & Training
         – การสร้างระบบการฝึกอบรมเพื่อยกระดับ Competency และ Skill ของ Operator และ Technician

Step 8 :  การสร้างระบบการควบคุมดูแลขั้นต้นสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่และเครื่องจักรใหม่ ด้วยกิจกรรม Early Management
               – การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และ เครื่องจักรใหม่ ให้ผลิตง่าย และ ใช้งานง่าย เป็นต้น

Step 9:  การสร้างระบบการบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance)
               – การทำให้ของเสียเป็นศูนย์โดยการกำหนดสภาวะเงื่อนไขของเครื่องจักรที่ไม่ทำให้เกิดของเสีย และทำการดูแล
รักษาสภาวะเงื่อนไขดังกล่าวให้คงอยู่โดย Operator และ Technician

Step 10  :  การสร้างระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานสนับสนุน ด้วยกิจกรรม Office TPM
                – กิจกรรม TPM ของฝ่ายงานพัฒนา   ฝ่ายงานการขาย หรือฝ่ายงานบริหารต่าง เป็นต้น

Step 11 :  การสร้างระบบการบริหารความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสิ่งแวดล้อม
                  – การทำกิจกรรม TPM   ที่มุ่งกำจัด 4K  (เหม็น- KUSAI, สกปรก – KITANAI,  งานหนัก – KITSUI  และ
อันตราย – KIKEN)  เพื่อทำให้สถานที่ทำงานมีความสะอาด  สดใส  และปลอดภัย

ขั้นยกระดับกิจกรรม
Step  12 :  การยกระดับกิจกรรม  TPM (ขั้นมีความมั่นคงและสามารถดำเนินการจนติดเป็นกิจวัตรประจำวัน)
                 – เมื่อมีการดำเนินกิจการมาถึงขั้นนี้ก็จะสามารถรับการประเมินเพื่อรับรางวัล TPM Excellence Award จาก JIPM

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.