(1)ไม่ทำกิจกรรม 5 ส. ที่เป็นเพียงรูปแบบ

(2)ดำเนินกิจกรรม  5 ส. แบบเสาะหาสาเหตุ

(3)ดำเนินกิจกรรม 5 ส. ที่ทุกคนมีส่วนร่วม

(4)กิจกรรม 5 ส. คือการขุดค้นภูเขาสมบัติ

(5)ดำเนินกิจกรรม 5 ส. จากจุดที่มองไม่เห็น

จุดสำคัญในการดำเนินกิจกรรม ส.

(1)ทำให้วัตถุประสงค์ชัดเจน

(2)กำหนดค่าเป้าหมาย (ทำ Goal ให้ชัดเจน)

(3)ทำผลต่างของค่าเป้าหมายกับสภาพปัจจุบัน (Loss) ให้ชัดเจน

(4)วางมาตรการแก้ไขผลต่างระหว่างค่าเป้าหมายกับสภาพปัจจุบัน

(5)ดำเนินมาตรการ

(6)ตรวจสอบและประเมินผล  ดำเนินการป้องกันการเกิดซ้ำ

วิธีเริ่มดำเนินกิจกรรม ส. ที่มีประสิทธิภาพ

จุดสำคัญที่ 1 ต้องดำเนินการโดยทำ Manager Model นำหน้าก่อน

(1)พิสูจน์ให้เห็นว่าทำแล้วได้ผล

            เพราะว่าผลของการทำ Manager Model เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงระดับของกิจกรรมโดยรวม จึงต้องทำอย่างจริงจัง

(2)เพื่อเสริมแกร่งความสามารถในการสอนงานของผู้จัดการ

            นอกจากจะได้ประสบการณ์ในการทำ Manager Model ที่ดำเนินการอย่างจริงจัง  ยังเป็นการพัฒนาความสามารถในการสอนงานให้แก่กลุ่มย่อยด้วย

(3)เพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินการต่อไป

   ด้วยการทำ Manager Model ยังเป็นการตรวจสอบคู่มือการทำกิจกรรม ใบ Check List สำหรับวินิจฉัย Man Hour ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เป็นต้น  เพื่อร่างแผนกิจกรรมโดยรวม  และอบรมความปลอดภัยเพื่อทำกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย

จุดสำคัญที่ 2 ต้องทำกิจกรรมโดยทุกคนมีส่วนร่วม

(1)เพื่อให้ดำเนินกิจกรรม 5 ส. เป็นงานที่ต้องทำอยู่แล้วได้ และเพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่บริษัทพยายามทำและเกิดขวัญกำลังใจ

   สิ่งสำคัญคือ บริษัทควรกำหนดเวลาทำกิจกรรม 5 ส. วันละราว 10 นาที

(2)จากการดำเนินกิจกรรม 5 ส. ภายในเวลาทำงาน จะเป็นการจัดเตรียมเงื่อนไขของการทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมเพราะหากปล่อยให้กลุ่มย่อยทำกันเองแม้กระทั่งเรื่องการจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรม  กลุ่มย่อยจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่ารำคาญที่นอกเหนือจากงานประจำและบอกว่า “ตอนนี้งานยุ่งมาก ว่างเมื่อไหร่ค่อยทำ”

(3)และหากทำให้เป็นกิจกรรมที่จำกัดเฉพาะหน่วยงานเดียว จะเป็นสาเหตุให้รู้สึกว่าไม่ยุติธรรม  จึงควรก่อตั้งกลุ่มย่อยในทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานธุรการ หน่วยงานขาย หรือหน่วยงานผลิต และให้ทุกคนทำกิจกรรม

จุดสำคัญที่ 3 ต้องมีการตรวจสอบติดตามผล

(1)ก่อนอื่น ก่อนจะเริ่มทำ 5 ส. ให้ถ่ายรูปภาพของสถานปฏิบัติงานของพวกตนเอาไว้

(2)เมื่อกิจกรรมเดินหน้าไป ให้ถ่ายภาพจุดเดียวกันในมุมกล้องเดียวกันอีก

(3)ทำให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสถานปฏิบัติงานของพวกตนได้ด้วยตาตนเอง

(4)นอกจากนั้น เมื่อสำรวจดู เวลาเดินว่าลดลงแค่ไหน การปฏิบัติงานสบายขึ้นยังไง เป็นต้น (มองในแง่ประสิทธิภาพแรงงาน) ว่าได้เปลี่ยนไปแค่ไหนเมื่อเทียบกับก่อนทำ 5 ส.  ก็จะทำให้สามารถรู้สึกได้ถึงผลลัพธ์นั้นได้ดี

การหยั่งรากฝังลึกของกิจกรรม ส.

(1)การจำแนกเนื้อหาของกิจกรรม

            1)กำหนดกฎเกณฑ์การทำกิจกรรมแล้วให้ทุกกลุ่มย่อยดำเนินการ เช่น ทำความสะอาดใหญ่ การทำความ  3 นาทีทุกวัน เป็นต้น

            2)กำหนดกฎเกณฑ์ในการติดป้ายแสดง เป็นต้น และให้ปฏิบัติตามวิธีการติดป้ายแสดงชั้นวางของ สัญลักษณ์ และสติ๊กเกอร์แสดง เป็นต้น

            3)ดำเนินการไคเซ็นย่อย

            4)แจ้งขอความร่วมมือในการดำเนินการไคเซ็น (ขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานอื่น)

(2)วางแผนการส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม

            1)ก่อตั้งองค์กรหรือหน่วยงานส่งเสริม และให้ความรู้

                      ・จัดตั้งกลุ่มย่อยที่ Overlap กัน

                      ・ประชุมส่งเสริมผลักดัน

                      ・แต่งตั้งกรรมการตรวจวินิจฉัย

                      ・จัดตั้งโปรเจคต์ทีม

            2)การอบรม

                        ・อบรมแนะนำกิจกรรม 5 ส.

                        ・อบรมความรู้เรื่องกระบวนการ การตรวจเช็คเครื่องจักร

                        ・อบรมกรรมการตรวจวินิจฉัย

                        ・งานนำเสนอตัวอย่าง 5 ส.

            3)การตรวจวินิจฉัย

                        ・สร้างระบบวิธีการตรวจวินิจฉัย

                        ・ดำเนินการตรวจวินิจฉัยแบบจู่โจม

                        ・ทำให้เกณฑ์การประเมินตรวจวินิจฉัยชัดเจน (Check Sheet)

    (3)เก็บบันทึกข้อมูล

            1)ภาพถ่าย

            2)ติด tag

            3)กำหนดปริมาณแน่นอน  ทำให้เป็นแผนที่

            4)เก็บรักษาของจริง (genbutsu) เอาไว้

ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม  ส. ในความเป็นจริง

   (1)สิ่งที่ต้องกำหนดในการทำกิจกรรม

            1)เวลาในการทำกิจกรรม

            2)กำหนดกฎกติกา (เช่น การใช้ป้ายแสดงต่าง ๆ)

            3)การสนับสนุนการไคเซ็น

            4)การสนับสนุนของสต๊าฟ

    (2)จัดทำกำหนดการ

            1)จัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานส่งเสริมกิจกรรม

            2)บทบาทและพฤติกรรมของผู้จัดการ

     (3)กำหนดเป้าหมาย / ดัชนีชี้วัดกิจกรรม

             1 )จัดการอบรม (การฝึกอบรมแบบไล่ตามระดับชั้น: Cascade Trianing)

              2)สร้างตัวอย่างด้วยกิจกรรม model

      (4)ดำเนินการตรวจวินิจฉัยสเต็ป

      (5)เก็บบันทึกข้อมูล

      (6)ดำเนินการจัดทำ Visual Control

จุดสำคัญของการประสบความสำเร็จในกิจกรรม ส.

      (1)ความกระตือรือร้นของผู้บริหาร (ไม่ปล่อยให้ผู้จัดการทำกันเองทั้งหมด)

      (2)ดำเนินการทั้งบริษัท (ประกาศการเริ่มดำเนินการ  Kick Off)

      (3)ทุกคนมีส่วนร่วม

      (4)แจ้งจุดประสงค์หลักในการนำกิจกรรมเข้ามาดำเนินการให้ทราบโดยทั่วถึงกัน

      (5)สอนวิธีการ (วิธีทำ)

      (6)ดำเนินกิจกรรมตามกำหนดการ (ทำแบบเรื่อยเปื่อยไม่ได้)

      (7)ผู้บริหารดำเนินการตรวจวินิจฉัยด้วยตนเอง

 

 

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM