...

Karakuri Concept

 กลไกพื้นฐานที่นำมาสร้าง Karakuri Kaizen

1.หลักการของคาน

ไม่ว่าจะเป็นของที่มีน้ำหนักแค่ไหน ก็สามารถเคลื่อนที่ได้โดยใช้หลักการของคาน

การทำงานและโครงสร้างของคาน

        ถ้าเราย้อนไป 2000 ปีก่อน ชาวกรีกที่ชื่อว่า อาร์คิมีดีสเคยกล่าวไว้ว่า ถ้าเรานำไม้ที่ยาวและแข็งแรง วางไว้ตรงจุดใดจุดหนึ่งให้เขาละก็ เพียงใช้นิ้วเดียว ก็สามารถยกโลกทั้งใบให้ดูได้ ในความเป็นจริงแล้วมันคือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย แต่ถ้าใช้หลักการนี้ ตามทฤษฎีไม่ว่าจะเป็นของที่มีน้ำหนักแต่ไหนก็สามารถยกได้

       เมื่อใช้ไม้เป็นคาน  กับ 3 สิ่งต่อไปนี้คือ

  ·จุดหมุน      ······ จุดที่ซับพอร์ทคาน

       ·แรงพยายาม······ จุดที่ใส่แรงลงไปหรือน้ำหนักของวัตถุ

       ·แรงต้าน     ······ จุดที่แรงกระทำต่อคาน

       จากการเรียงกันของสามสิ่งนี้  เราสามารถจำแนกคานได้สามแบบ ตามภาพ 1.1

● ขนาดของแรง

       เช่น ตาชั่ง ที่มีตุ้มน้ำหนักของทั้งสองข้างเท่ากัน และแขนข้างซ้ายขวายาวเท่ากัน แรงจะมีความสมดุลกัน แต่ว่า (จุดหมุน→ระยะห่างของแรงต้าน) กับ (จุดหมุน→ระยะห่างของแรงพยายาม)จะมีอัตราส่วนเท่ากับ 1 : 2ตามรูป1 ในภาพ1.2 

   ภาพ1.1 ชนิดของคาน

ภาพ 1.2 ความสมดุลของแรง

       และจะกลายเป็นอัตราส่วน2:1 เมื่อตุ้มน้ำหนักสมดุลกันโดยแรงความพยายามและแรงความต้านทาน  เมื่อเขียนสมการก็จะได้ดังนี้

แรงต้าน x ระยะห่างของจุดหมุนถึงจุดของแรงต้าน

=แรงพยายาม xระยะห่างของจุดหมุนถึงจุดของแรงพยายาม

ภาพ 1.3 การทดลองที่คิดน้ำหนักของไม้

       ในสมการนี้ แม้ในกรณีที่จุดหมุนอยู่ปลายไม้ก็สามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีระยะของ(จุดหมุน→แรงต้าน)กับ(จุดหมุน→แรงพยายาม)คือ 1: 4 ตามภาพ 1.2  แรงกระทำโดยแรงพยายาม จะสามารถประหยัดแรงได้โดยใช้อัตราเพียง1ใน 4ส่วนของน้ำหนักของแรงต้าน

       ในกรณีที่ต้องยกของที่มีน้ำหนักมาก โดยแรงเพียงเล็กน้อยทำได้โดยทำให้ความยาว(จุดหมุน→แรงต้าน) สั้นลง ทำให้ความยาว(จุดหมุน→แรงพยายาม)ยาวขึ้น ในกรณีนี้ แทนที่จะใส่แรงให้น้อยลง 

       เปลี่ยนระยะทางที่ยกแรงพยายามให้เพิ่มขึ้น

การใช้งานคานในความเป็นจริง

● เมื่อคิดถึงความหนักของไม้      

       คานที่ใช้ในชีวิตจริง เพียงแค่นำก้อนน้ำหนัก 1 ก้อนไปแขวนที่จุดของแรงความพยายาม จะมีความสมดุลเกิดขึ้น เพราะน้ำหนักของไม้มีความเกี่ยวข้องกัน ทางด้านขวาของไม้นั้นหนักกว่าและยาวกว่าจุดหมุน ทางด้านของแรงต้านจะลดลง ถ้าไม้มีขนาดความหนาเท่ากัน จะสามารถคิดโดยให้น้ำหนักของไม้อยู่ที่จุดกึ่งกลาง

●เครื่องมือที่ใช้คาน

       เครื่องมือที่ใช้คานในการสร้างนั้น มีอยู่อย่างไม่จำกัด (ภาพ1.3)เครื่องมือที่มีจุดหมุนอยู่ตรงกลาง เช่น กรรไกร ชะแลง เครื่องมือที่มีจุดของแรงต้านอยู่ตรงกลาง เช่น ที่เปิดขวด เครื่องเย็บกระดาษและ เครื่องมีที่มีจุดของแรงพยายามอยู่ตรงกลาง เช่น กรรไกรญี่ปุ่น แหนบ เพราะเครื่องมือเหล่านี้ มีแรงกระทำน้อยกว่าแรงกด จึงนำมาใช้กับงานที่ละเอียดละออและไม่ต้องใช้แรงกดมาก

ภาพ1.3 เครื่องมือที่ใช้หลักการของคาน

● การนำคานมาประยุกต์ใช้

       ถ้าสามารถใช้แรงโน้มถ่วงหรืองานที่อยู่ในเครื่องจักรได้ดี  ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แรงขับเคลื่อน อื่น ๆอีก เพราะอาจจะมีแรงที่สำคัญเกิดขึ้นมาก็เป็นได้

ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดถึงหลักการของ ชิชิโอโดชิ  ที่ใช้หลักการของคานดู 

       ตอนที่ต้องการให้งาน ไหลออกทีละลูก เมื่อใช้หลักการของชิชิ โอโดชิตามภาพ 1.4 จะเห็นภาพได้ชัดขึ้น  

       ตอนที่ไม่มีงานด้านฝั่งที่มีตุ้มน้ำหนักจะหนักและเอียงไปข้างที่หนัก เหมือนกับในภาพที่ 1 เมื่องานเกิดการสะสมจนเท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักมากกว่าตุ้มน้ำหนัก จะเกิดการเอียงไปยังฝั่งที่หนักกว่าและงาน ก็จะไหลออกไป เหมือนดังภาพที่ 2   

 ภาพ 1.4 เมื่อถึงปริมาณที่กำหนด งานจะไหลออกไป

       หมายเหตุ ชิชิโอโดชิ  เป็นกระบอกไม้ไผ่ที่ทำเป็นอุปกรณ์คล้ายกับกระดานหก เมื่อมีน้ำผ่านเข้าไปจนเต็ม กระบอกไม้ไผ่ก็จะกระดกลง เกิดเสียงดังเมื่อกระทบพื้น

■สามารถนำใช้กับเรื่องแบบนี้ได้ด้วย!■

       เมื่อยกของขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้เชือกลวด เพียงประยุกต์ใช้หลักการของคาน ก็จะสามารถดึงขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย วาดภาพหลักการที่ว่าให้เห็นชัดดังภาพ ชิ้นงานที่มีรูโหว่อยู่ตรงกลาง เราจะใช้ส่วนแขนของเครน หย่อนลงไปที่รูโหว่ เมื่อปลดล็อกคันโยกที่ล็อคอยู่ออก จะทำให้เครนยกตัวสูงขึ้น ส่วนของแขนจะถูกกดลงเข้าไปตรงกลางของชิ้นงาน ซึ่งจะใช้หลักการของคาน  ด้านส่วนแขนที่ทำหน้าที่ยึดติด ลักษณะคล้ายกงเล็บที่เป็นโลหะ จะเคลื่อนที่เข้าไปยึดกับชิ้นงาน  ซึ่งจะทำให้ชิ้นงานถูกตรึงไว้ และถูกยกขึ้น ตอนที่ถูกปล่อยลง แรงก็จะทำงานตรงกันข้าม แรงที่ยึดชิ้นงานอยู่ก็จะคลายตัวออกไป

■สามารถนำมาใช้กับเรื่องแบบนี้ได้ด้วย!■

       มีวิธีการปรับปรุงการใช้แรงโน้มถ่วงให้ดีมากขึ้น มีเครื่องมือที่สามารถหมุนได้ซึ่งจะมีการติดตุ้มน้ำหนักไว้ที่ด้านหนึ่ง ซึ่งการทำให้เพลาเอียงอยู่บนไม้ค้ำคือจุดสำคัญ

       จากสิ่งนี้เอง ตอนที่ส่วนของถาดรับน้ำหนักไม่ได้มีอะไรวางอยู่ จะเอียงไปด้านซ้ายที่มีลูกตุ้มอยู่ แต่เมื่อวางงานไว้ที่ถาดรับน้ำหนัก เพราะน้ำหนักที่เพิ่มเข้ามาจะทำให้เอียงไปทางอีกฝั่ง แรงนี้ก็จะทำให้เพลาที่เอียงอยู่หมุน และจะทำให้งานเคลื่อนที่โดยอัตโนมัติ

       แต่เมื่อเอางานออก ก็จะกลับไปที่ตำแหน่งเดิมโดยความหนักของตุ้มน้ำหนัก

       สามารถใช้ STOPPER เพื่อเคลื่อนที่สิ่งของให้ทำมุมองศาตามที่ต้องการได้

ก่อนทำการปรับปรุงแก้ไข

       ในด้านอุตสาหกรรม จะมีการตัดแบ่งสายพานอยู่ เพื่อสร้างให้สายพานส่วนหนึ่งเป็นแบบกระดกขึ้นมาได้ แต่เพราะน้ำหนักที่มากเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย ที่จะยกสายพานขึ้นมาได้

หลังจากที่ทำการปรับปรุงแล้ว

       นำตุ้มน้ำหนักไปติดไว้ที่จุดหมุน และด้านตรงกันข้าม ซึ่งจะทำให้สามารถยกน้ำหนักประมาณ 1 kgขึ้นมาได้อย่างง่ายดายดังเช่น ไม้กระดก

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.