...

2. การบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance)

2.1 จุดควบคุมคืออะไร

พวกเรามีการควบคุมสภาพของหน้างานการผลิตด้วยหัวข้อต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า จุดควบคุม ตัวอย่างเด่น ๆ ก็เช่น คุณภาพของผลิตภัณฑ์

จุดควบคุม แบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 อย่างคือ

1.หัวข้อควบคุมที่ใช้เช็คคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้ว (เชิงผลลัพธ์) เช่น ขนาดผลิตภัณฑ์

2.หัวข้อตรวจเช็คที่ใช้เช็คเงื่อนไขเพื่อการ built in คุณภาพในผลิตภัณฑ์ เช่น เงื่อนไขอุณหภูมิเครื่องจักร

กิจกรรมป้องกันการหลุดรอดด้วยการ ตรวจสอบก่อนจ่ายของ ซึ่งทำเป็นงานการควบคุมคุณภาพ  เนื่องจากเป็นหัวข้อควบคุมต่อผล “ที่เสร็จออกมาแล้ว” ส่วนใหญ่จึงเป็นการควบคุมตามหลัง ทำให้ไม่สามารถมีมาตรการได้อย่างรวดเร็ว หรือทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เป็นมูดะ และ loss

ดังนั้น กิจกรรมเพื่อให้ของเสียด้านคุณภาพเป็นศูนย์ สิ่งสำคัญคือต้องเปลี่ยนจากการควบคุมเชิงผลแบบนั้น สู่การควบคุมหัวข้อการตรวจเช็คซึ่งเป็นการควบคุมเชิงสาเหตุ ที่จะต้องมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของ หลักการ-กฎเกณฑ์ของการแปรรูป

2.2 สเปกคุณภาพ

สเปกคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้อธิบายมา ปกติจะแบ่งได้เป็น 3 (สเปกผลิตภัณฑ์ สเปกการตรวจสอบ สเปกการผลิต)

สเปกเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันดังผังที่ 1-5

พวกเราต้องผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยสภาพที่อยู่ภายใต้การควบคุม เพื่อให้มีความสามารถในการรับประกันคุณภาพได้เต็ม 100% ตามสเปกผลิตภัณฑ์ เรื่องนี้เชื่อมโยงสู่การ “built in คุณภาพด้วยกระบวนการ”

ในตอนนั้น Tool เพื่อการรับประกันคุณภาพที่ built in ด้วยแต่ละกระบวนการผลิต คือการใช้ QA (Quality Assurance) Matrix

โดยทั่วไป ผลิตภัณฑ์จะถูก built in คุณภาพ โดยผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน  QA Matrix คือ สิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ของหัวข้อการตรวจเช็คของแต่ละกระบวนการย่อย ค่า tolerance (คุณภาพของกระบวนการ) และหัวข้อคุณภาพผลิตภัณฑ์ ในรูปของ Matrix

จึงทำให้สามารถเรียบเรียงความสัมพันธ์ของหัวข้อคุณภาพ หัวข้อการตรวจเช็ค และค่า tolerance ตาม flow ของกระบวนการ ด้วยการใช้ QA Matrix

ด้วย QA Matrix จะทำให้สามารถสะสางความสัมพันธ์ของสเปกคุณภาพ และหัวข้อตรวจเช็ค-ค่า allowance ตาม Flow ของกระบวนการได้ (ผังที่ 1-6)

2.3 การรับประกันคุณภาพและการบำรุงรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance)

ในที่นี้ เป้าหมายในการรับประกัน ก็คือคุณภาพของผลิตภัณฑ์  ซึ่งได้อธิบายไปแล้วว่ายังเป็น “หัวข้อควบคุมที่ตรวจเช็คที่ผล”

อีกด้าน เพื่อเติมเต็มความสามารถของกระบวนการที่ทำให้ได้สเปกการผลิต 100% ที่มุ่งสู่ของเสียเป็นศูนย์ จำเป็นต้อง “built in คุณภาพด้วยกระบวนการ”  เพื่อการนี้จำเป็นต้องดำเนินมาตรการล่วงหน้าด้วยการกำหนดหัวข้อการตรวจเช็ค และตรวจเช็คเป็นประจำในส่วนของตรวจเช็คเชิงสาเหตุ

กิจกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรเช่นนี้ เราเรียกว่า กิจกรรม “Quality Maintenance”

Quality Maintenance ก็คือการสร้างระบบ maintain-ไคเซ็นหัวข้อเชิงสาเหตุ (เงื่อนไขการผลิต) ด้วยกระบวนการ-เครื่องจักร เพื่อบริหารจัดการระบบการรับประกันคุณภาพให้ของเสียเป็นศูนย์อย่างแน่นอน

2.4 กิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสมกับระบบการผลิตของบริษัทตน

Quality Maintenance เป็น “แนวคิด” เพื่อการ built in คุณภาพด้วยกระบวนการ

ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ

1.สร้างเงื่อนไขของงานอย่างมีประสิทธิผล เพื่อ built in คุณภาพ

  • ต้องกำหนดหัวข้อตรวจเช็คในเชิงสาเหตุ

2. สร้างกลไกที่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นอย่างแน่นอน

  • ต้องควบคุมแนวโน้มอย่างแน่นอนด้วยการตรวจเช็คเป็นประจำ และตรวจเช็ครายวัน

เพื่อการนี้ ในการทำ Quality Maintenance ไม่เพียงหน่วยงานผลิตเท่านั้น แต่จะเป็นการมุ่งสู่ความยั่งยืนของระบบที่สามารถกำหนดกฎกติกาที่เหมาะกับบริษัทตน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต


เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM

 
Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.