...

 

1 “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” คือ

      (1) ปัจจัย 3 ประการของการบำรุงรักษาเครื่องจักร: “ความน่าเชื่อถือ” “ความครอบคลุม” “ความประหยัด”

           ★ เพิ่มฟังก์ชันของเครื่องจักรเสริมเข้าไปในมุมมองเครื่องจักรเป็นศูนย์กลาง   

          “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” คือ “การรักษาความสมบูรณ์ของเครื่องจักร” นั่นก็คือ การรักษาสภาพที่ดีของเครื่องจักร 

           เครื่องจักรเป็นเครื่องมือเพื่อทำให้ “สิ่งที่มนุษย์อยากได้” เป็นจริง การรักษาสภาพที่ดี ก็เป็นการรักษา “สภาพที่สามารถทำฟังก์ชันที่ต้องการจากเครื่องจักรได้เป็นอย่างดี”  เมื่อคิดถึงเครื่องจักรในฐานะเครื่องมือ เพื่อให้เครื่องจักรในปัจจุบันทำงานได้อย่างเต็มที่ที่สุด จึงมีการทำกิจกรรมฟื้นฟูเครื่องจักรปัจจุบันเป็นพื้นฐานที่จะต้องทำ 

           ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ได้ขนาดทรงกลม ก็ต้องควบคุมสกรูเพื่อไม่ให้เกิดการคลอนของกลไกการกด เป็นการบำรุงรักษาเพื่อรักษาเงื่อนไขที่มองจากด้านของเครื่องจักร 

           อีกด้าน เมื่อคิดถึงเครื่องจักรจาก  “ฟังก์ชัน”โดยคิดจากฟังก์ชันของเครื่องจักรเพื่อสร้างความกลม  การที่สกรูหลวมเป็นวิธีที่ฟังก์ชันไม่ทำงานอย่างที่ควรเป็น ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดว่า กลไกเพื่อการนี้ “จะทำอย่างไรในการยึดสกรูถึงจะดีที่สุด”

           ดังนี้ แนวทางในการไคเซ็นเครื่องจักรก็แตกต่างกันอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เพียงดูจากเครื่องจักรเป็นหลักอย่างเดียว แต่ให้คิดถึงฟังก์ชัน     
          ครั้งนี้ ใน TPM เราจะมาคิดถึงการบำรุงรักษาเครื่องจักรจากแนวคิดมุมมองของ “เครื่องจักร” แบบเดิม แล้วเสริมมุมมองด้าน “ฟังก์ชัน” เพิ่ม 
          Part I เราได้ “ทำกิจกรรมเพื่อให้การขัดข้องเป็นศูนย์กับเครื่องจักรที่มีการขัดข้องอยู่ในปัจจุบัน แล้วนำผลของกระบวนการนั้นมาสร้างเป็นโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักร” อันเป็น “แนวคิดที่มองเครื่องจักรเป็นหลัก” 
          กิจกรรมครั้งนี้ เราจะก้าวไปอีกก้าว พัฒนาการสู่การบำรุงรักษาเครื่องจักรจากแนวคิดที่ว่า แต่เดิม เครื่องจักร ชิ้นส่วนนั้น “ฟังก์ชันของมันคืออะไร”  เดิมทีกิจกรรมที่ว่า “การบำรุงรักษาควรเป็นแบบนี้” เป็นกระแสหลัก
           คราวนี้เราอยากจะสร้างกิจกรรมขึ้นมาใหม่ที่เป็น “การบำรุงรักษาฟังก์ชันของเครื่องจักร” จากแนวคิดการบำรุงรักษาเครื่องจักรจาก จุดประสงค์=ฟังก์ชันของเครื่องจักร  โดยมีจุดประสงค์ของการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นการนำแนวคิดที่ใส่เข้าไปในการออกแบบเครื่องจักร และสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องในตอนเดินเครื่องจักร 
          แนวคิดนี้เชื่อมโยงสู่การทบทวนจุดเริ่มต้นจนถึงการ “ออกแบบ” เดิมของเครื่องจักร  ยิ่งไปกว่านั้น ต่อความจริงที่ไม่ได้คิดถึงตอนออกแบบ ให้สามารถทำ Corrective Maintenance ยังสามารถพัฒนาความสามารถในการบำรุงรักษาเชิงป้องกันในการเปลี่ยนหรือออกแบบเครื่องจักรใหม่อีก

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.