1. เข้าใจฟังก์ชัน โครงสร้าง การเคลื่อนไหว ของ เครื่องจักรและชิ้นส่วนจากหลักการกฎเกณฑ์
การบำรุงรักษาเครื่องจักร เป็นการ “บำรุงรักษาทุกชิ้นส่วน” นั่นก็คือ ความครอบคลุมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อการนี้ ไม่ใช่แค่เครื่องจักร จำเป็นต้องรู้ถึงฟังก์ชันกระทั่งถึงชิ้นส่วน จากการทำให้การบำรุงรักษาตามทฤษฎีเป็นพื้นฐาน จะเป็นการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาที่ไม่ขาดตกบกพร่อง สิ่งที่ห้ามลืมคือ ไม่ใช่ว่าต้องทำการบำรุงรักษาทุกชิ้นส่วนเท่าเทียมเสมอกัน อีกทั้งยังต้องจัดการแต่ละปัจจัยที่มีผู้ดูแลต่างกันให้ราบรื่น และป้องกันการตกหล่น
2. เรียนรู้กลไกของการขัดข้อง และประเมินผลกระทบเมื่อเกิดการขัดข้อง
การครอบคลุมทุกชิ้นส่วนซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในความเป็นจริงจะบำรุงรักษาแบบไหนจำเป็นต้องเชื่อมโยงกิจกรรมบำรุงรักษาและความประหยัดในแง่ของการบริหารบริษัท ในการบำรุงรักษาจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย การทำให้รากฐานการกำหนดระบบการบำรุงรักษาชัดเจน จะเป็นการเชื่อมโยงการรักษา-ไคเซ็นค่าใช้จ่ายนี้กับเครื่องจักรอย่างมีเทคนิค และทักษะของหน้างาน เพื่อการบำรุงรักษาที่เป็นหนึ่งเดียวกับการบริหาร เพื่อการนี้ ต้องศึกษาว่าการขัดข้องทำไมจึงเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร และผลกระทบนั้น จากผลนั้น จึงเลือกระบบ วิธีการ และรอบ เป็นต้น ว่าจะบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างไร
3. จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร และจัดทำโครงสร้างการบำรุงรักษาโดยทุกคน
จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามทฤษฎี ทำให้ชัดเจนถึงรากฐานการแบ่งหน้าที่ในการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องจักร ทำให้ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานที่รับแต่ละหน้าที่ชัดเจน อันจะทำให้เกิดการจัดการที่รวมศูนย์ และให้ระบบการบำรุงรักษาหมุนได้อย่างราบรื่น
4. รวบรวม ประเมิน และทำการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การตรวจสอบ การตรวจวัด และดูแลรักษา
ทบทวนดัชนีการควบคุม ทำให้ความสัมพันธ์ของกิจกรรมการบำรุงรักษาและค่าใช้จ่าย-ผลสัมฤทธิ์ชัดเจน ผลของการปฏิบัติงานบำรุงรักษาสามารถประเมินได้ในเชิงปริมาณ เพื่อการนี้ ต้องจัดทำโครงสร้างที่มีการจัดการข้อมูลและหมุนตามวงจร PDCA โดยเฉพาะ ให้เสริมแกร่งในส่วนของวงจร “C และ A” ด้วยข้อมูล จากการทำเช่นนี้ จะทำให้การบำรุงรักษาและการบริหารมีการเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่น ทำให้หน้าที่ของแต่ละคนชัดเจน สามารถตรวจสอบหน้าที่ของตนเอง-หน้าที่ในวงจรได้
★ Mother Program ของโครงสร้างการบำรุงรักษาตามทฤษฎี
ไม่มีบริษัทที่ไม่ทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรเลย ที่ถูกต้องแล้ว ส่วน “แกนหลัก” ของ PDCA ของการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง จึงจัดทำสิ่งนี้เป็น Step ในฐานะ “Mother Program” (ผังที่ 1-1) ใช้ Mother Program เป็นพื้นฐานในการทบทวนกิจกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรทั้งหมด สร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรขึ้นมาใหม่อย่างเป็นระบบที่มาพร้อม ความครอบคลุม-ความประหยัด ทำให้ระบบโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นระดับที่สูงขึ้นโดยใช้ลักษณะพิเศษของแต่ละบริษัทให้เป็นประโยชน์ จุดมุ่งหมายของ Mother Program โดยหลักการแล้วคือการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีพื้นฐานเป็นการ “บำรุงรักษาประจำวัน” และการ “ตรวจเช็ครายปี-รายเดือน” อีกทั้งยังต้องพัฒนาคนและกลไกที่สามารถรักษา โครงสร้างนั้นไว้ได้ (ผังที่ 1-2)
ในการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรขึ้นมาใหม่ในแต่ละบริษัท ต้องทำกิจกรรม
- ก่อนอื่นใช้ Mother Program ทำการสำรวจ-ตรวจสอบโครงสร้างการบำรุงรักษาของแต่ละบริษัท เพื่อทำให้จุดอ่อนที่มีอยู่นั้นชัดเจน
- ต่อจากนั้น ให้ดำเนินการตาม Mother Program จัดทำแผนการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรขึ้นมาใหม่
- และ ใช้สิ่งนั้นเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์กลไกในการหมุนตามวงจร PDCA ของการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างราบรื่น
ดังนั้น ในแต่ละบริษัท โปรแกรมในการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาในความเป็นจริงจะแตกต่างกัน
“ Stage 1-3” ของ Mother Program จะเป็น “การได้มาซึ่ง ‘ความน่าเชื่อถือ’ ว่าจะทำอย่างไร เมื่อได้แล้วก็จำเป็นต้องมี ‘ความครอบคลุม’ คือความจำเป็นในการบำรุงรักษาในระดับทุกชิ้นส่วน” โดยมีทฤษฎีเป็นศูนย์กลาง “Stage 5, 6 ในการได้มาซึ่ง ‘ความน่าเชื่อถือ’ และ ‘ความครอบคลุม’ มีการดำเนินการโดยคิดถึง ‘ความประหยัด’ อย่างไร” นั่นคือกิจกรรมในความเป็นจริง
เรียบเรียงโดย อาจารย์ณรงค์เกียรติ นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM