จากสภาพความเป็นจริงข้างต้น ให้ใช้ Mother Program ตามโครงสร้างการบำรุงรักษาตามทฤษฎีที่มีการวางแผนเป็นตัวนำ แล้วลองมาทบทวนโครงสร้างการบำรุงรักษาของบริษัทกัน Mother Program ดังแสดงในผังที่ 1-1 (รายละเอียดดูผังที่ 1-2 และ1-3  ประกอบ) 

       โปรแกรมนี้จัดทำโดยนำแนวคิดของ RCM และกิจกรรมของหน้างานจริงใส่เข้าไป และใช้ “ฟังก์ชัน” เป็นแนวคิดพื้นฐาน  จากการดำเนินการ Mother Program นี้ เป็นการสร้างกลไกที่ทำให้โครงสร้างและกลไกที่ใช้เครื่องจักรในสภาพที่มั่นคง และมีการสร้างเทคโนโลยี-ทักษะของคนที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง

       ลองมาคิดถึงความสัมพันธ์ของ Mother Program และโครงสร้างการบำรุงรักษาในบทก่อน  อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ โดยทั่วไปผู้ดูแลการดำเนินการ Sub System จะต่างกันตามองค์กร  ดังนั้น แต่ละองค์กรที่มีการหมุนตาม Sub System ก็จำเป็นต้องมีการหมุนตาม PDCA  ในตอนนั้นก็ต้องใช้ Mother Program  อยากให้ดูผังที่ 1-2  นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง  เพื่อให้เกิดการหมุนตาม PDCA ของแต่ละ Sub Cycle เราจะใช้ Mother Program

           ผังที่ 1-1 Mother Program ในการสร้างโครงสร้างการบำรุงรักษาตามทฤษฎี

     ★ แนวคิดพื้นฐานของโครงสร้างการบำรุงรักษาตามทฤษฎี

       แนวคิดอันเป็นพื้นฐานของโครงสร้างการบำรุงรักษาตามทฤษฎีแสดงดังต่อไปนี้ (ผังที่ 1-2)

  1.  พื้นฐานคือการจัดการ “ความเสี่ยง”

       เครื่องจักรเป็นพื้นฐานของการผลิต (Monodzukuri) เป็นตัวกำหนดทุกอย่าง เช่น ปริมาณการผลิต คุณภาพ กำหนดส่งมอบ และของคงคลัง 

       การบำรุงรักษาเครื่องจักรก็คือ “การจัดการความเสี่ยง” นั่นก็คือ “การป้องกัน” ไม่ให้เครื่องจักรหยุดเป็นพื้นฐาน ต้องทำให้เดินเครื่องได้อย่าง “มั่นคง-ปลอดภัย-สบายใจ” อีกทั้ง เครื่องจักรเป็นสิ่งที่ “ต้องเสื่อมสภาพ และบางกรณีก็เกิดการขัดข้อง” 

       เมื่อคิดถึงสิ่งเหล่านี้ ก็น่าจะเป็นพื้นฐานของการบริหาร  เมื่อเกิดการขัดข้องก็รับรู้ว่าเป็น loss และทำการหาทางกำจัด

       แต่เมื่อลดการขัดข้อง “เครื่องจักรก็เริ่มมีเสถียรภาพ”  นั่นหมายถึง เมื่อมีความเสี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการไม่ให้มีความเสี่ยง ค่าใช้จ่ายนั้นด้วยตัวของมันเองก็ถูกมองว่าเป็น “loss”  และมีแนวโน้มว่าจะต้องลดด้วย  นั่นก็คือ ต้องมีการลดค่าซ่อม และกำลังคนในการบำรุงรักษา เป็นต้น

       ผังที่ 1-2 ตัวอย่าง “Mother Program กิจกรรมบำรุงรักษาตามทฤษฎีโดยมีแผนการเป็นตัวนำ” และ ความสัมพันธ์กับ “โครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักร”

ผังที่ 1-3 แนวคิดของกิจกรรมการบำรุงรักษาตามทฤษฎีที่มีแผนการเป็นตัวนำ

       การรับมือแบบนี้ “เมล็ดพันธุ์” ที่เป็น “ความเสี่ยง” เมื่อเวลาผ่านไปจะกลายเป็น “loss” จนเกิดเป็นปัญหา  ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้ เมื่อมองจากการกำหนดแนวทางในการบริหาร ก็จะเห็นว่าการบำรุงรักษาเครื่องจักรมักไม่ได้เป็นโจทย์ระดับสูงในการบริหาร  ในการบริหารแบบกลยุทธ์ โดยพื้นฐานต้องมองความเสี่ยงนี้ให้ดี แล้วมีแนวคิดในการยับยั้งโดยใส่ค่าใช้จ่ายลงไปอย่างถูกต้อง

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM