...

ตอน 23 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 7. การตรวจเช็คโดยรวมของการปฏิบัติงาน

        ในสถานที่ทำงานที่เป็นการปฏิบัติงานด้วยมือ ให้หาข้อบกพร่องของเนื้อหาการปฏิบัติงานหรือสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ทำการฟื้นสภาพหรือไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย และให้สรุปผลที่ได้นั้นเป็น “มาตรฐานการปฏิบัติงานชั่วคราว” ยิ่งกว่านั้น จุดสำคัญคือในการตรวจเช็คโดยรวมนี้ให้ทบทวนเนื้อหาการปฏิบัติงานแต่ละงานอย่างจริงจัง · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม        ในสถานที่ปฏิบัติงานด้วยมือ เพื่อทบทวนเนื้อหาการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ให้ดูว่ามีการปฏิบัติงานที่ตรงกับหัวข้อเช็คแต่ละข้อใน “การประเมินระดับความยากง่ายของการปฏิบัติงาน” ดังที่แสดงต่อไป โดยให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนลิสต์ออกมา  ต้องมีการจัดทำ Check Sheet เช่นนี้แล้วจึงดำเนินการตรวจเช็คโดยรวม ก็จะสามารถป้องกันการตกหล่นของการตรวจเช็คได้ การตรวจเช็คโดยรวมเท่าที่ได้พูดมา ต้องทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ของแต่ละหัวข้อวิชาจึงจะประสบความสำเร็จ รับการอบรมพื้นฐานของเครื่องจักรและการปฏิบัติงาน ดำเนินการให้ผู้ปฏิบัติงานรับการฝึกอบรมแบบถ่ายทอดต่อ (Cascade Training) ฝึกอบรมทักษะ นำสิ่งที่เรียนรู้มาไปทำจริง เฟ้นหาข้อบกพร่องและทำการฟื้นสภาพ ดำเนินการทำ Visual Control แก้ไขปรับปรุงเอกสารมาตรฐานชั่วคราว         ในการดำเนินการตรวจเช็คโดยรวม มีบางครั้งที่หัวข้อวิชาการตรวจเช็คโดยรวมอาจแตกต่างกันตามความต้องการของบริษัทหรือกระบวนการผลิต จำเป็นต้องมีการพิจารณาให้ดีในเรื่องนี้ล่วงหน้า เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอนที่ปรึกษา TPM-JIPM

ตอน 22 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 6. การตรวจเช็คโดยรวมของไฟฟ้า

สุดท้ายขอพูดถึงวิธีการตรวจเช็คโดยรวมของไฟฟ้า ซึ่งมี Check Point ดังต่อไปนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม สายไฟ ท่อทาง ข้อต่อ มีจุดที่หลุดอยู่หรือสึกหรอหรือไม่ สายดินหลุดอยู่หรือไม่ สายไฟมีรอยลาก รอยสี หรือว่าสัมผัสกับน้ำมัน-น้ำหรือไม่ หลอดไฟขาด หรือมีการหลวมของพวกสวิตช์หรือไม่ เข็มของมาตรวัดแรงดัน มาตรวัดกระแสไฟฟ้า เป็นต้น มีการสั่นหรือไม่ ตู้ไฟฟ้าหรือแผงควบคุมมีรูเกินเปิดอยู่หรือไม่  เปิดปิดได้ดีหรือไม่ การจัดการสายไฟในตู้ไฟฟ้าดีหรือไม่ ในตู้มีฝุ่น ผงหรือไม่ มีการเสียหายของอุปกรณ์หรือมอเตอร์ร้อนเกินไปหรือไม่ บิส สกรูมีการหลวมหรือไม่ Limit Switch เป็นต้น มีการคลอนหรือสิ่งสกปรกเกาะติดหรือไม่ การฝึกอบรมทักษะเกี่ยวกับไฟฟ้า มีดังนี้ การขันแน่นพวกสกรูอย่างถูกต้องเหมาะสม วิธีป้องกันสายไฟ นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินการฝึกอบรมทักษะ เช่น         3.  วิธีติดหางปลา         4. วิธีเปลี่ยนสวิตช์     […]

ตอน 21 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 5. การตรวจเช็คโดยรวมของระบบส่งกำลัง

ต่อไปจะพูดถึงวิธีการตรวจเช็คโดยรวมของระบบส่งกำลัง (Transmission)  Check Point เกี่ยวกับระบบส่งกำลัง มีดังต่อไปนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม V Belt มีรอย สิ่งสกปรกมาติด หรือสึกหรอหรือไม่ มีการใช้สายพานผิดชนิด หรือตั้ง Tension ผิดหรือไม่ โซ่มีการยืดหรือ sprocket มีการสึกหรอหรือไม่ แกนมีการคด เยื้องศูนย์ หรือโบลต์ยึดมีการหลวมคลอนหรือไม่ Bearing เกิดความร้อน สั่น หรือเสียงผิดปกติหรือไม่ ร่องลิ่มมีการสึกหรอ โบลต์ยึดหลวม ส่วนกลางคลอนหรือไม่ แกนของ Coupling มีการสั่น โบลต์ขันแน่นหลวมหรือไม่ ฟันเฟืองมีเสียงผิดปกติ สั่น หรือสึกหรอผิดปกติหรือไม่ หัวข้อในการฝึกอบรมทักษะเกี่ยวกับการส่งกำลังมีดังต่อไปนี้ วิธีปรับแต่ง tension ของสายพาน โซ่ วิธีตั้งศูนย์ pulley, sprocket วิธีติดตั้ง pulley วิธีประกบลิ่ม นอกจากนี้ ยังสามารถดำเนินการฝึกอบรม       […]

ตอน 20 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 4. การตรวจเช็คโดยรวมของไฮดรอลิก-นิวเมติก

ถัดไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับไฮดรอลิก-นิวเมติก  Check Point ที่เกี่ยวข้องกับไฮดรอลิก-นิวเมติก มีดังนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม ดูว่าเกิดความร้อนหรือเสียงผิดปกติที่โซลินอยด์วาล์ว การหลวมคลอนของสายไฟ หรือว่ามีสายขาดหรือไม่ มีการคลอน การสั่นสะเทือนของอุปกรณ์ ท่อทางหรือไม่ จุด 0 เข็มสั่น หรือมีการแสดงขอบเขตของมาตรวัดแรงดันได้ดีหรือไม่ ท่อทางที่ไม่จำเป็น หรือสายยางที่ไม่จำเป็น มีการปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ นอกจากนี้ เกี่ยวกับไฮดรอลิกให้ดำเนินการเช็คตามความจำเป็นว่า         5. มีปริมาณน้ำมันในแทงก์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่          6. น้ำมันไฮดรอลิกมีความสกปรก ฟิลเตอร์อุดตันหรือไม่          7. น้ำมันไฮดรอกลิกมีอุณหภูมิสูงเกินไปหรือไม่         8. ท่อเดรนร้อนหรือไม่ เป็นต้น การฝึกอบรมทักษะเกี่ยวกับไฮดรอลิก-นิวเมติก มีการดำเนินการสิ่งต่อไปนี้ วิธีการปฏิบัติงานป้องกันการรั่ว วิธีตรวจเช็คอุปกรณ์-unit ต่าง […]

ตอน19 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 3. การตรวจเช็คโดยรวมของการหล่อลื่น

ถัดไปจะขอพูดเกี่ยวกับเนื้อหาการตรวจเช็คโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับการหล่อลื่น  ก่อนอื่น มี Check Point ดังต่อไปนี้ · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม สภาพการทำการสะสาง-สะดวก-สะอาดของ Oil Station ภาชนะ (เครื่องมือ) ในการหล่อลื่น อยู่ในสภาพดีหรือไม่ ตัวจ่ายน้ำมันมีความสะอาดทั้งด้านในและด้านนอก มีการหยดได้อย่างแน่นอนหรือไม่ อุปกรณ์หล่อลื่นอัตโนมัติทำงานได้ปกติหรือไม่ ปากช่องหล่อลื่นมีการสกปรก หรือท่อบี้หรือไม่มี ส่วนที่หมุนได้ ส่วนที่สไลด์ได้ โซ่ เป็นต้นมีน้ำมันหล่อลื่นอยู่หรือไม่ รอบ ๆ นั้นมีความสกปรกหรือไม่ หลังหล่อลื่นแล้ว มีน้ำมันออกมาอย่างปกติจากช่องว่างของส่วนที่หมุนหรือไม่ การฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นสำหรับการหล่อลื่น มีดังต่อไปนี้ วิธีการตรวจเช็คและวิธีใช้งาน Air Service Unit วิธีการปรับแต่งปริมาณน้ำมันหล่อลื่น วิธีการเดินท่อทางและการขันแน่นอย่างถูกต้องเหมาะสมนอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มเติม วิธีถอดอุปกรณ์จ่ายน้ำมัน เป็นต้นได้ อีกทั้ง วิธีการ “Visual Control” เกี่ยวกับการหล่อลื่น มีดังนี้ การแสดงแยกสีของชนิดของน้ำมัน และรอบในการเติมที่ช่องน้ำมัน แสดงระดับสูงสุด-ต่ำสุด แสดงปริมาณที่ใช้ต่อหน่วยชั่วโมง แสดงระดับแยกชนิดของน้ำมันในภาชนะ (เครื่องมือ) เติมสารหล่อลื่น […]

ตอน18 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 2. การตรวจเช็คโดยรวมของโบลต์-น็อต

        ถ้าเช่นนั้น ก่อนอื่น มาพูดเกี่ยวกับการตรวจเช็คโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับโบลต์-น็อตกัน         ก่อนเริ่มการตรวจเช็คโดยรวมของโบลต์-น็อต จำเป็นต้องมีการกำหนดไว้ว่า จะให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบในขอบเขตแค่ไหน         ตัวอย่างเช่น โบลต์ปรับแต่งใบมีดหรือ plain bearing ของส่วนที่สไลด์ โบลต์ปรับแต่งของ relief valve เป็นต้น ถึงจะบอกให้มีการขันแน่น แต่หากขันแน่นเกินไปก็จะขยับไม่ได้ หรือมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดปัญหาในเรื่องของความปลอดภัย        ถึงจะบอกว่าเป็นโบลต์ตัวเดียว ก็ต้องคำนึงถึงฟังก์ชันของมันให้ดี แล้วจึงกำหนดว่าจะให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบหรือไม่        มาพูดถึง Check Point ในการตรวจเช็คโดยรวมของโบลต์-น็อตนี้กัน · Check Point ของการตรวจเช็คโดยรวม มีการหลวมคลอน หลุดร่วงของโบลต์-น็อตหรือไม่ มีการใช้แหวนรองที่รูรูปทรงยาวหรือไม่ มีการใช้แหวนรองรูปแบบต่าง ๆ ที่จุดติดตั้งเดียวกันหรือไม่ มีการหลวมคลอนของน็อตยึดโบลต์ปรับระดับหรือไม่ มีการร้อยโบลต์จากด้านล่าง […]

ตอน17 (Autonomous Maintenance)• การตรวจเช็คโดยรวม 1. วิธีดำเนินการและจุดสำคัญของการตรวจเช็คโดยรวม

     จากตรงนี้จะขอพูดถึง Step 4 “การตรวจเช็คโดยรวม”        การตรวจเช็คโดยรวมนี้ ดำเนินการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพแบบเร่งซึ่งเกิดขึ้นเพราะ “ไม่รู้” ถึงสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานควรทำ ควรปฏิบัติตาม  เพื่อการนี้ จึงต้องให้สมาชิกกลุ่มย่อยทุกคนได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานของเครื่องจักร และดำเนินการฝึกทักษะเพื่อยกระดับทักษะในการค้นพบข้อบกพร่องและฟื้นสภาพ จากนั้นจึงทำการตรวจเช็คเครื่องจักรจริง        ด้วยเหตุนี้ ใน Step 4 จึงมีการแก้ไขเอกสารมาตรฐานชั่วคราวของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) ใน Step 3 ด้วยตัวหนังสือสีแดงตามเนื้อหาที่ได้เรียน ได้ฝึก ได้ตรวจเช็ค ได้ค้นพบ ได้ฟื้นสภาพ และได้ไคเซ็นแล้ว ● ต้องมีการฝึกอบรมแบบถ่ายทอดต่อ (Cascade Training) และสอบยืนยัน       ใน Step ที่แล้วมาเป็นการเฟ้นหาข้อบกพร่องด้วยความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทั้งห้า แต่จากนี้ไป ต้องเป็นการเข้าใจฟังก์ชันและโครงสร้างของเครื่องจักรของพวกตนให้ดี และยกระดับการตรวจเช็คประจำวัน  ดังนั้น จุดสำคัญที่ 1 เพื่อการดำเนินการตรวจเช็คโดยรวม คือการทำให้ขอบเขตชัดเจนว่า […]

ตอน16 (Autonomous Maintenance)ดำเนินการตรวจสอบโดยรวม (จัดทำบัญชีจุดบกพร่องและร่างมาตรการแก้ไข)

ดำเนินการตรวจสอบโดยรวม           *มาตรฐานการตรวจสอบขันแน่น ไฮดรอลิก นิวแมติก ระบบส่งกำลังไฟฟ้า มาตรฐานการตรวจสอบ1 เกี่ยวกับการขันแน่น (Bolt & Nut)            ・  Bolt ・ Nut มีการหลวมคลอน หล่นหายหรือไม่            ・  มีการใช้แหวนอีแปะที่รูยาวหรือไม่            ・  มีการสอดโบลต์จากข้างล่าง แล้วใส่น็อตจากข้างบนแล้วขันหรือไม่2   เกี่ยวกับไฮดรอลิก            ・  ปริมาณน้ำมันเหมาะสมหรือไม่ สกปรกหรือไม่            ・  ฟิลเตอร์อุดตัน            ・  ร้อน เสียงดัง สั่นสะเทือนแรง            ・  อุปกรณ์ ท่อทางคลอน สกปรก สั่น รั่ว            ・  ท่อทาง สายที่ไม่จำเป็น            ・  เบี่ยงเบน3  เกี่ยวกับระบบส่งกำลัง            ・  โซ่ยืด            ・  Sprocket สึก            ・  ร้อน สั่นสะเทือน            ・  เพลาคด เยื้องศูนย์            ・ […]

ตอน15 (Autonomous Maintenance)เตรียมการและดำเนินการฝึกอบรมการตรวจสอบโดยรวม

・ร่างกำหนดการตรวจสอบโดยรวม แผนดำเนินการ  Step 4 ของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (ตัวอย่าง) หมายเหตุ : แต่ละวิชา ดำเนินการประมาณ 1 เดือน ・ตัวอย่างโปรแกรมการอบรมหัวหน้ากลุ่มย่อย   ・วิธีอบรมถ่ายทอดสู่สมาชิกกลุ่มและข้อควรระวัง (1) Flow การอบรมถ่ายทอดตามลำดับชั้น           สต๊าฟซ่อมบำรุง ⇒ หัวหน้ากลุ่ม ⇒ สมาชิก ⇒ ตรวจสอบโดยรวม(ติด Tag) (2) เตรียมสื่อการสอน           ・ กำหนดวิชาตรวจสอบโดยรวม เลือกวิชาที่จำเป็นที่สุดสำหรับอุตสาหกรรม           ・ ตำราใช้แบบฟอร์ม One Point Sheet           ・ เตรียม Cut Model ของอุปกรณ์  หรือใช้เครื่องจริงตามความจำเป็น           ・ เตรียมข้อสอบวัดผลแต่ละวิชา (3) ความสำคัญของการถ่ายทอดตามลำดับชั้น           ・ หัวหน้าได้เรียนรู้การเป็นผู้นำ สมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้การเป็นผู้ตามที่ดี           ・ การสอนเป็นการอบรมที่ดีที่สุด (ขัดเกลาตนเอง) และกระตุ้นกิจกรรมกลุ่มย่อย (4) อบรมหัวหน้ากลุ่ม           ・ อบรมให้เข้าใจง่าย สต๊าฟซ่อมบำรุงเองก็เรียนรู้ด้วยตนเองและหาไอเดียมาใช้สอน (5) เตรียมอบรมสมาชิก           ・ ไม่ใช่สอนแบบเดียวกับที่ได้อบรมหัวหน้ามา แต่ควรจัดทำตำราที่เหมาะกับที่ทำงานตน (6) ดำเนินการอบรมสมาชิก           […]

ตอน14 (Autonomous Maintenance)วิธีดำเนินการตรวจสอบโดยรวม

วิธีดำเนินการตรวจสอบโดยรวม           ・วัตถุประสงค์และการวางตำแหน่งการตรวจสอบโดยรวม (1) วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบโดยรวม             ・ เข้าใจงาน หน้าที่ ฟังก์ชั่น โครงสร้างของเครื่องจักรเป็นอย่างดี             ・ ทำการตรวจสอบประจำวันตามความรู้ หลักการทฤษฎีของงานและเครื่องจักร             ・ มีทักษะในการตรวจวัดความเสื่อมสภาพและคาดการณ์ปัญหาได้ (2) การวางตำแหน่งการตรวจสอบโดยรวม             ・ ใน Step 1 เน้นการค้นหาจุดบกพร่องโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5             ・ การตรวจสอบโดยรวมสามารถค้นหาจุดบกพร่องตามความรู้ หลักการทฤษฎี             ・ ปฏิบัติในสิ่งที่เรียนรู้มา เพื่อค้นพบจุดบกพร่อง             ・ สามารถค้นหาจุดบกพร่องที่ไม่พบใน Step 1             ・ จากการไคเซ็นอย่างจริงจังเพื่อกำจัดการเสื่อมสภาพที่ผิดธรรมชาติ                     ทำให้ลดปัญหาได้   ไคเซ็นอย่างจริงจังเพื่อมาตรการต่อแหล่งต้นตอ จุดเข้าถึงยาก           วิธีดำเนินการตรวจสอบโดยรวม           ・การตรวจสอบโดยรวม   เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอนที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.