3.2 Daily Management และ Autonomous Maintenance
หนึ่งในการทำ Daily Management เพื่อบรรลุเป้าหมายงานในที่ทำงาน ก็คือกิจกรรม Autonomous Maintenance
กิจกรรม Autonomous Maintenance เป็นกิจกรรมของโอเปอเรเตอร์เพื่อ “ปกป้องเครื่องจักรของตัวเองด้วยตัวเอง”
(1) Step 1: การทำความสะอาดเบื้องต้น
ด้วยการทำความสะอาดสถานที่ทำงาน หรือเครื่องจักรอย่างจริงจัง ทำให้ค้นพบสิ่งผิดปกติ หรือข้อบกพร่อง อย่างเช่นการเปื้อนน้ำมัน หรือสกรูหลวม ได้ แล้วติด tag
>>ค้นพบสิ่งผิดปกติ
และสิ่งที่จัดการได้ด้วยพวกตนเองก็จัดการแก้ไข (ปลด tag)
>> ฟื้นสภาพ
(2) Step 2: มาตรการต่อแหล่งต้นตอ จุดที่ยาก
ถึงทำความสะอาดหลายครั้งแล้วก็ยังสกปรกอีก ถึงจะฟื้นสภาพแล้วก็ยังกลับไปเป็นสภาพเดิม น่ารำคาญ และเสียเวลา สิ่งเหล่านี้เราจะมามีมาตรการต่อแหล่งต้นตอ จุดที่ยากกัน
>> ไคเซ็นเงื่อนไข (ไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย)
(3) Step 3: จัดการมาตรฐานชั่วคราวของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
โอเปอเรเตอร์จัดทำมาตรฐานการทำงานเพื่อให้สามารถทำความสะอาดและตรวจเช็คได้ง่ายและใช้เวลาสั้น ๆ ด้วยตัวเอง และปฏิบัติตามจริง
>> ควบคุมเงื่อนไข
(4) Step 4: การตรวจเช็คโดยรวม
เรียนรู้สภาพที่ควรจะเป็นโดยผ่านการอบรมทักษะการตรวจเช็ค ค้นหาสิ่งผิดปกติ-ข้อบกพร่องที่ซับซ้อนที่ไม่พบใน Step 1 และติด tag อีกครั้ง
>> ค้นพบสิ่งผิดปกติ (รอบ 2)
และ ปลด tag ด้วยทักษะการบำรุงรักษาระดับสูงที่ได้เรียนรู้ใหม่
>> ฟื้นสภาพ (รอบ 2)
อีกทั้งยังทำ Visual Control เพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่าย
>> ไคเซ็นเงื่อนไข (รอบ 2)
(5) Step 5: การตรวจเช็คด้วยตนเอง
จัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตนเองตัวจริง ให้เป็นมาตรฐานการกระทำให้สามารถ Maintain ได้อย่างแน่นอน ใช้ Check Sheet เพื่อการดำเนินการอย่างแน่นอน
>> ควบคุมเงื่อนไข (รอบ 2)
ความสัมพันธ์ของกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองจนถึง Step 5 และ Daily Management จะเป็นดังผังที่ 2-6
■ ผังที่ 2-6 กิจกรรม Autonomous Maintenance (Step 1-5) และกิจกรรม Maintain
ในที่นี้ เราจะเรียก “ความสามารถในการค้นพบสิ่งผิดปกติ” “ความสามารถในการฟื้นสภาพ” “ความสามารถในการไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย (ไคเซ็นเงื่อนไข)” “ความสามารถในการควบคุมเงื่อนไข” ว่าเป็น ความสามารถ 4 ประการที่จำเป็นในกิจกรรม Maintain
เรียบเรียงโดย อาจารย์ณรงค์เกียรติ นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM