1. การกำหนดนโยบายพื้นฐาน  

       ทำการสะสางนโยบายพื้นฐาน แนวคิดการบริหารธุรกิจและสภาพวดล้อมที่รายล้อม แล้วแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนไปสู่ TPM for SME ภายในแผนธุรกิจนอกจากนี้ ภายในเป้าหมายการบริหารจัดทำเป้าหมายของ TPM for SME ตารางภาพ 2-14 ตัวอย่าง Concept และนโยบายพื้นฐาน

       มีความชัดเจนในการส่งเสริม TPM for SME ที่เป็นการบูรณาการของการบริหารนโยบาย และการบริหารเป้าหมาย นโยบายพื้นฐานนั้นจำเป็นต้องมีการแสดงให้เห็นเครื่องมือของการบรรลุวิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจน

       ตัวอย่างของ Concept และนโยบายพื้นฐานนั้น แสดงไว้ใน ตารางภาพ 2-14 

2. การกำหนดเป้าหมาย 

       ในการกำหนดเป้าหมายนั้น มักจะมีความเห็นต่างๆ มากมาย เช่น “ไม่ต่างกับทฤษฏีภายนอกเท่านั้น”  “ถึงแม้ว่าบริษัทอื่นจะทำได้ บริษัทเรานั้นเป็นข้อยกเว้นเพราะมีสภาพการณ์ที่ยุ่งยากซับซ้อนอยู่” แต่ถ้าหากว่าทุกคนกำหนดไปแล้วว่า “พิกัดคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นเข้มงวด การทำให้เป็น Zero Defect นั้นคงเป็นไปไม่ได้” บริษัทคงอยู่ต่อไปไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ทั้ง Failure ทั้ง Defect นั้นเกิดขึ้นจะต้องมีสาเหตุอย่างแน่นอน กรณีที่ “สาเหตุไม่แน่ชัด” นั้นมักจะมีอยู่มาก

ตารางภาพ 2-15 ตัวอย่างของ Concept และ Keyword

       ต้องให้มีความชัดเจนว่า เป็นเพราะการวิเคราะห์ไม่เพียงพอ หรือความผิดพลาดการสำรวจ หรือว่าวิธีการตรวจวัด, เทคนิคการตรวจวัด ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

ตัวอย่างของ Concept และ Keyword ของการกำหนดเป้าหมายนั้น แสดงไว้ใน ตารางภาพ 2-15

       ในการกำหนดเป้าหมายนั้น เพื่อให้มีการเชื่อมโยงระหว่าง “การบรรลุเป้าหมาย” การสร้างภาพอนาคตและ “การแก้ไขปัญหา” จะต้องมีการทวนสอบให้เพียงพอจากเป้าหมายการบริหารธุรกิจไปสู่ทิศทางของกิจกรรม การทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายการบริหารธุรกิจกับทิศทางของกิจกรรมนั้นเห็นเด่นชัด เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง (ตารางภาพ 2-16)

ตารางภาพ 2-16 “การบรรลุเป้าหมาย” และ “การแก้ไขปัญหา”

       A. การทำให้สิ่งที่ต้องแก้ไขเป็นเชิงปริมาณ (เป็นค่าตัวเลข)  

       B. การทำให้องค์กร, หน่วยงาน – หัวข้อ -วิธีการ – กำหนดการ มีความชัดเจน   

       จิตสำนึกต่อปัญหาและความรู้สึกอันตรายเป็นสิ่งที่สำคัญดังนั้นมุมมองต่อคู่แข่ง – วงการธุรกิจ – ส่วนแบ่งตลาดจึงมีความสำคัญมาก 

3. สาระสำคัญของกิจกรรมกราฟควบคุม   

       เมื่อสิ่งที่ควรควบคุมมีความชัดเจนก็ต้องทำให้เป้าหมายนั้น ผลลัพธ์และส่วนต่างนั้นสามารถเห็นได้ด้วยตา ต้องทำให้เป้าหมายและแผนงานมีความชัดเจนรวบรวมผลลัพธ์ แล้วควบคุมด้วยว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตควรจะเป็นอย่างไร เครื่องมือที่สำหรับควบคุมโดยการดูด้วยตานี้ เรียกว่า “กราฟควบคุม”   

  • วัตถุประสงค์ของกราฟควบคุม   

       ผู้รับผิดชอบของบริษัท, ส่วนงานและ Circle ต้องทำให้เป้าหมาย – แผนงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบและผลลัพธ์นั้นมีความชัดเจน ทำการรับรู้ปัญหาหรือ ความผิดปรกติให้แน่นอนชัดเจน แล้วดำเนินมาตรการแก้ไขด้วยความรวดเร็ว กราฟควบคุมนั้น คือ เครื่องมือควบคุม กล่าว คือ กราฟควบคุมนั้นสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์เป็นเครื่อง มือควบคุม (เครื่องมือการควบคุมให้มองเห็นได้) สำหรับผู้รับผิดชอบ  

  • เป้าหมายและขอบข่ายการใช้ประโยชน์ของกราฟควบคุม    

       ภายในบทบาทที่บริษัท ส่วนงานและ circle ควรจะดำเนินการนั้น สิ่งที่เป็นเป้าหมายก็คือ สิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดตามลำดับ ภายในงานที่มีความสำคัญ

       ประเภทของกราฟควบคุมนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ตามตารางภาพ 2-17

ตารางภาพ 2-17 ประเภทของกราฟควบคุม

ตัวอย่าง Flow การกำหนดเป้าหมายแสดงในตารางภาพ 2-18

ตารางภาพ 2-18 ตัวอย่าง Flow การกำหนดเป้าหมาย

4. เป้าหมายนั้น คือ เป้าหมายบริหารธุรกิจและเป้าหมายกิจกรรม    

       เป้าหมายของการบริหารธุรกิจนั้นแสดงให้เห็นได้ เช่น การลดอัตราจุดคุ้มทุน หรือการเพิ่มยอดกำไรต่อคน เป็นต้น

ตารางภาพ 2-19 ตัวอย่างการกำหนดนโยบายพื้นฐานและเป้าหมาย

       เป้าหมายของ TPM for SME นั้น ได้แก่ PQCDSME ที่เป็น output ของระบบการผลิต ตัวอย่างเช่น ตามรายละเอียดข้างล่างนี้ 

  • P = ประสิทธิภาพการผลิตมูลค่าเพิ่ม, ประสิทธิภาพเครื่องจักรโดยรวม จำนวนครั้ง Failure จำนวนครั้ง Minor Stoppage 
  • Q = อัตราของเสียในกระบวนการ, จำนวนครั้งการเครมจากลูกค้า 
  • C = ต้นทุนการผลิต Cost Lost
  • D = จำนวนวันของวัตถุดิบ – สินค้าระหว่างผลิต – สต็อคผลิตภัณฑ์
  • S = จำนวนครั้งอุบัติภัยหยุดงาน – ไม่หยุดงาน 
  • M = จำนวนเรื่องข้อเสนอไคเซ็น, จำนวนผู้ได้รับวุฒิวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญบำรุงรักษาเครื่องจักร, จำนวนชั่วโมงแรงงานรวมต่อปี 
  • E = ของทิ้งอุตสาหกรรม, Recycle, การควบคุมมลภาวะ, ผู้ปฏิบัติงาน, แสงสว่างต่างๆ   

       ตัวอย่างของการกำหนดนโยบายพื้นฐานและเป้าหมายของ TPM for SME นั้น แสดงไว้ในตาราง 2-19 ในกรณีนี้ จะเป็นการจัดทำกราฟควบคุมสำหรับการลด Failure, เวลาหยุด, การยกระดับประสิทธิภาพการผลิต (สมรรถนะ), การลดของเสียในกระบวนการ, จำนวนเรื่องข้อเสนอไคเซ็น, อุบัติภัยหยุดงาน – ไม่หยุดงาน แล้วทำการควบคุมความก้าวหน้า  

5. ความเชื่อมโยงของเป้าหมายการบริหารธุรกิจและเป้าหมายกิจกรรม   

  • เป้าหมายกิจกรรม  

       กิจกรรมนั้นหมายถึง การกระทำเพื่อแก้ไขความแตกต่าง (Loss) ระหว่างสภาพปัจจุบันและเป้าหมาย (กำจัดความแตกต่าง) ส่วนเป้าหมายกิจกรรมนั้นคือ เป้าหมายไคเซ็นความแตกต่าง (Loss) กับเป้าหมายการบริหารธุรกิจ  

       แต่ว่า เพียงการทำกิจกรรมได้ต่อเนื่องนั้น ไม่ได้สร้างประโยชน์ในการเปลี่ยนสภาพการบริหารธุรกิจได้ ผู้บริหารธุรกิจและผู้บริหารสูงสุดนั้น จะต้องทำการจัดระเบียบ ควบคุมการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมกับผลลัพธ์การบริหารธุรกิจ เป็นเรื่องที่อาจจะไม่จำเป็นต้องแจ้งให้รู้ทุกคน แต่จำเป็นต้องเฝ้าดูให้กิจกรรมนั้นสร้างประโยชน์แก่การบริหารธุรกิจอยู่เสมอ ถ้าหากว่าสามารพดึงเอาประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญเป็นลำดับสูงออกมาจากกิจกรรมเหล่านี้ได้ ก็จะการสร้างให้เกิดประโยชน์ที่สูง

     【การทำให้ Loss ปรากฎให้เห็น เพื่อการบรรลุกำไรตามเป้าหมาย】

       ในการบริหารบริษัทนั้นจะมี Loss ปะปนอยู่อย่างมาก ทำอย่างไรจึงจะทำให้ Loss เหล่านี้ปรากฎให้เห็นชัด แล้วทำการไคเซ็นเพื่อให้เป็นแหล่งของกำไรได้ ในการทำให้เห็นชัดนั้น จะต้องค้นหาหัวข้อ Loss ตามลักษณะพิเศษของแต่ละบริษัทแล้วให้คำจำกัดความ 

  • หัวข้อ Loss และการทำให้คำจำกัดความ Loss มีความชัดเจน  

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM