1. “สะอาด” คือ ดำเนินการโดยคิดว่า “ถ้ามีไอเดียทำให้สถานปฏิบัติงานไม่สกปรกได้ จะทำให้ไม่ต้องทำความสะอาดทุกวัน สบายดี!”

        ทำความสะอาดทุกซอกทุกมุม กำจัดขยะ สิ่งสกปรก  และหยุดแหล่งต้นตอนั้น  กำจัดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อ ความปลอดภัย ผลิตภาพ คุณภาพ เครื่องเสีย เป็นต้น  พร้อมกันนั้นให้ดำเนินการตรวจเช็ค (tenken) ไปด้วย

2.  หลักการกฎเกณฑ์ของสะอาด

(1)คือการตรวจเช็ค

    สะอาดไม่ใช่การทำความสะอาดเฉย ๆ  แต่เป็นการทำความสะอาดไปพร้อมกับการค้นหาข้อบกพร่อง จัดเตรียมเงื่อนไขพื้นฐานของการผลิตให้เรียบร้อย คือ หล่อลื่นขันแน่น ตรวจเช็ค

(2)มาตรการต่อแหล่งต้นตอ

   มันเป็นสิ่งสกปรกอะไร  จุดรั่วอยู่ที่ไหน  จุดที่มันฟุ้งกระจายอยู่ที่ไหน เป็นต้น

    หาแหล่งต้นตอและปัญหาที่เกิด  จากแหล่งต้นตอนั้น ทำการสำรวจ วิเคราะห์สิ่งสกปรกทั้งทางกายภาพและทางวิทยาศาสตร์และหามาตรการ

(3)ฟื้นสภาพ

   ค้นพบข้อบกพร่องด้วยการทำความสะอาด  ข้อบกพร่องนี้มักเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยที่ทำให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพเร็วขึ้น  ต้องทำการฟื้นสภาพจากข้อบกพร่องเล็กน้อยเหล่านี้และรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี

3. ทำไมจึงจำเป็นต้องทำความสะอาด

(1)การทำความสะอาด

(2)การหล่อลื่น

(3)การขันแน่น

(4)การตรวจเช็ค (tenken)

1)ค้นพบข้อบกพร่อง

2)ฟื้นสภาพจากข้อบกพร่อง

4. วิธีดำเนินการทำความสะอาด

       การทำความสะอาดครั้งใหญ่ในสถานปฏิบัติงานและมาตรการต่อแหล่งต้นตอสิ่งสกปรก

(1)ผิวหน้าการทำความสะอาดสถานปฏิบัติงาน เครื่องจักร

1)แบ่งโซน กำหนดความรับผิดชอบ

2)ทำความสะอาดแต่ละโซน แต่ละเครื่องจักร เพื่อค้นหาข้อบกพร่อง

3)ดำเนินการไคเซ็นคิดไอเดียเครื่องมือทำความสะอาด ไอเดียวิธีการทำความสะอาด มาตรการต่อแหล่งต้นตอ

4)สร้างกฎระเบียบเพื่อรักษาสภาพเอาไว้ ดำเนินการทำความสะอาด 5 นาที 3 นาที

(2)ส่วนละเอียดกำจัดข้อบกพร่องเล็กน้อยด้วยการทำความสะอาด/ตรวจเช็คเครื่องจักร จิ๊กเครื่องมือ

1)ดำเนินการทำความสะอาด/ตรวจเช็ค

2)ค้นหาข้อบกพร่อง  ข้อบกพร่องเล็กน้อย

3)คำนวณรวมจำนวนข้อบกพร่องที่ค้นพบ

4)วิเคราะห์ Why-Why

5)ดำเนินมาตรการ

(3)โดยรวม

1)ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้แสงสว่าง

2)ทำความสะอาดฝ้าเพดาน

3)พื้นที่ขรุขระ

5.  มุมมองของการทำความสะอาด

(1)พื้นมีเศษผงจากการตัด น้ำมัน ฝุ่น เป็นต้น เปรอะเปื้อนอยู่หรือไม่

(2)แต่ละส่วนของเครื่องจักรมีเศษผงจากการตัด น้ำมัน ฝุ่นเป็นต้น เปรอะเปื้อนอยู่หรือไม่

(3)สายไฟ ท่อทางมีการเปรอะเปื้อน มีการกรอบแข็งเพราะน้ำมันหรือไม่

(4)รูเติมน้ำมันเปรอะเปื้อนหรือไม่

(5)ฝาครอบหลอดไฟ หลอดไฟ แผ่นสะท้อนแสงมีการเปรอะเปื้อนหรือไม่มาตรการต่อแหล่งต้นตอ

(1)มาตรการต่อแหล่งต้นตอ

  • เสาะหาแหล่งต้นตอความสกปรก

                                ↓

  • ดำเนินมาตรการ (ฟื้นสภาพ ไคเซ็น)

                                ↓

  • ความสกปรกหายไป  การทำความสะอาดก็น้อยลง

                                ↓

  • ป้องกันปัญหาที่มีสาเหตุมาจากความสกปรกไม่ให้เกิดตั้งแต่แรก

   (2)ข้อควรระวัง

  •  อย่าเอาแต่ทำความสะอาดภายนอกอย่างเดียว
  • มักมีความเข้าใจผิดว่า “มาตรการต่อแหล่งต้นตอคือการทำฝาครอบ”  “ของที่ฟุ้งกระจายจะครอบยังไงดี จะรวมรวมยังไงดี จะดูดยังไงดี” เป็นต้น  การทำแต่เพียงเท่านั้น ไม่ทำให้สาเหตุที่แท้จริงหมดไป
  •  ปัญหาอย่าง “ความเดือดร้อนจากการฟุ้งกระจายของสิ่งสกปรก” 

            “ความเดือดร้อนจากวัตถุดิบรั่วไหล”  จะแก้ไขชั่วคราวด้วยการครอบด้วยฝาก็ได้  แต่ไม่ใช่ทิ้งไว้เพียงเท่านั้น หาไอเดียแก้ไขอย่างจริงจัง

 (3)จุดที่ควรจับตามอง

  • การทำความสะอาดก็ควรเริ่มต้นจากจุดสำคัญที่สุด เช่น “จุดแปรรูป (Process Point)”
  • การหาไอเดียมาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง จะนำไปสู่การ “ไม่ต้องทำความสะอาด : Cleaning-less、แนวคิดในการสร้างมาตรการต่อแหล่งต้นตอ ”
    •  ป้องกันการรั่วไหล  ⇒  ไคเซ็นระบบปิด ระบบซีล
    • ป้องกันการฟุ้งกระจาย ⇒ ไคเซ็นรูปทรงประตู ฝาครอบทิศทางการฟุ้งกระจายและรูปทรง
    • ป้องกันการตกหล่น ⇒  ไคเซ็นวิธีการขนย้าย วิธีการเติมรูปทรงและขนาดของกล่อง
    • ป้องกันการหลวมคลอน ⇒  หยุดการหมุน ซ่อมฟื้นสภาพโบลต์นัท
    • ศึกษาเทคนิคการผลิต  ⇒ ไม่มีครีบ ไม่ต้องใช้น้ำมันไม่ต้องแต่งชิ้นงาน
    • ป้องกันการตัน   ⇒  ไม่มีการอุดตัน  ไม่มีการคั่งค้าง
    • ป้องกันการรั่วไหล   ⇒ ไคเซ็นระบบปิด ระบบซีล
    • ป้องกันการฟุ้งกระจาย  ⇒  ไคเซ็นรูปทรงประตู ฝาครอบทิศทางการฟุ้งกระจายและรูปทรง
    • ป้องกันการตกหล่น   ⇒ ไคเซ็นวิธีการขนย้าย วิธีการเติมรูปทรงและขนาดของกล่อง
    • ป้องกันการหลวมคลอน  ⇒  หยุดการหมุน ซ่อมฟื้นสภาพโบลต์นัท
    • ศึกษาเทคนิคการผลิต  ⇒ ไม่มีครีบ ไม่ต้องใช้น้ำมันไม่ต้องแต่งชิ้นงาน

6. ความสำคัญของการทำความสะอาด

     การทำความสะอาดเป็นการทำให้สามารถค้นหาแหล่งต้นตอพร้อมค้นพบจุดบกพร่อง ด้านความปลอดภัย ผลิตภาพ คุณภาพ และจุดบกพร่องที่เป็นปัจจัยเร่งการเสื่อมสภาพให้เครื่องเสีย

      เมื่อทำความสะอาดลงมือในทุกซอกทุกมุมแล้ว พยายามมองหาแหล่งต้นตอนั้น ก็จะสามารถค้นพบจุดบกพร่องได้อย่างง่ายดาย

      ดังนั้น การตรวจเช็ค (tenken) โดยผ่านการทำความสะอาดก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย

      แต่เพราะมีการทำความสะอาดสถานปฏิบัติงาน เครื่องจักร เป็นต้นทุกซอกทุกมุม  เงื่อนไขที่จำเป็นในการดำเนินการคือ  ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยอย่างเพียงพอ การตรวจเช็ค (tenken) ในที่นี้ คือการ

      ค้นพบจุดบกพร่อง   จุดบกพร่อง คือ ปรากฏการณ์ เช่น หลวม คลอน ร้าว (แตก) รั่ว สนิม เสียหาย แข็งน้ำมันหมด เสียง สั่น ความร้อน เสียดสี หัก สกปรก เป็นต้น  รวมถึงการค้นพบจุดเข้าถึงได้ยาก เช่นปฏิบัติงานได้ยาก เป็นต้น

7.  การทำความสะอาดเครื่องจักร และ Jig ดำเนินการทำความสะอาด การตรวจเช็ค  (tenken) อย่างละเอียด

8. ความเลวร้ายอันมีสาเหตุมาจากการทำความสะอาดเครื่องจักรไม่เพียงพอ

9. วิธีดำเนินการทำความสะอาดเครื่องจักร

      ให้การดำเนินการของ Manager Model เป็นตัวอย่างนำไปขยายผลในกลุ่มย่อยทั่วไป

(1)ทำความสะอาดและตรวจเช็ค (tenken) จนถึงด้านในของเครื่องจักร

    1)ทำความสะอาดและตรวจเช็คทุกซอกทุกมุมโดยถอดฝา ฝาครอบ ประตูทั้งหมด

    2)ตรวจเช็คอย่างไม่ให้ตกหล่นด้วย Check Sheet

(2)ตรวจเช็คเงื่อนไขพื้นฐาน (Basic Condition)

       เงื่อนไขพื้นฐาน คือ เงื่อนไขเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร

 1)ทำความสะอาดสิ่งสกปรก

 2)หล่อลื่นเมื่อน้ำมันหดหาย

 3)ขันแน่นเมื่อเกิดการหลวม คลอน หรือหลุด

 4)ควบคุมอุณหภูมิเมื่อเกิดความร้อน อุณหภูมิผิดปกติ

(3)อบรมการทำความสะอาดและตรวจเช็ค

      อบรมวิธีการตรวจเช็คของแต่ละองค์ประกอบเครื่องจักร (ไฮดรอลิก นิวเมติก ไฟฟ้า หล่อลื่น ฯลฯ)

   1)เรียนรู้ฟังก์ชัน โครงสร้าง

   2)เรียนรู้องค์ประกอบของเครื่องจักร

(4)ค้นพบจุดบกพร่อง ข้อบกพร่องเล็กน้อย

       การดำเนินการให้ดำเนินการโดยการร่วมมือกันของหน่วยงานผลิตกับหน่วยงานซ่อมบำรุง

  1)ค้นพบความสกปรกจากการทำความสะอาดไม่พอ หรือการหล่อลื่นไม่ดี

  2)ด้วยการค้นพบจุดบกพร่องและฟื้นสภาพนำไปสู่ความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง

(5)วิเคราะห์ Why-Why  พิจารณามาตรการ

       ด้วยการพิสูจน์ว่าฟังก์ชันของเครื่องจักรทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในเรื่องเครื่องจักร

 1)ทำไม ทำไม เป็นสิ่งสำคัญ

 2)ทำไมจึงมองข้ามและปล่อยทิ้งไว้

 3)สามารถคาดการณ์ได้หรือไม่ว่าถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปจะเกิดปัญหาอย่างไร จะมีผลกระทบอย่างไร  โดยคิดถึงหลักการกฎเกณฑ์หรือกลไก

 4)ทำไมถึงไม่สามารถค้นพบได้เร็วกว่านี้  เพื่อให้สามารถค้นพบได้แต่เนิ่น ๆ ต้องทำอย่างไรดี

 5)สิ่งที่ไม่เข้าใจให้ถามผู้เชี่ยวชาญ

10. ตัวอย่างเอกสารแบบฟอร์มที่ใช้

(1)ตารางการแบ่งงานทำความสะอาด

(2)จำนวนการค้นพบจุดบกพร่อง และฟื้นสภาพ (กราฟยอดสะสม)

(3)แผนที่ (Map) จุดบกพร่อง

(4)แผนที่ (Map) แหล่งต้นตอ

(5)ตารางรายการจุดที่มีการปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอม

 

 

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM