...

1、“สะสาง” คือ การแยกสิ่งที่จำเป็นและสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากกัน และกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นเสีย สิ่งที่ไม่ต้องใช้ในการผลิตในตอนนี้ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น

2、หลักการกฎเกณฑ์ของการสะสาง

  (1)“จำแนก”

    จำแนกตามความถี่ในการใช้  วัตถุประสงค์ในการใช้  แยกสิ่งที่จำเป็นกับสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากกัน ทบทวนด้วยแนวคิดที่ว่า “นอกเหนือจากของที่ใช้ประจำวันแล้วเป็นสิ่งไม่จำเป็น” “นอกเหนือจากปริมาณที่ใช้ประจำวัน แล้วเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น” เมื่อกำหนดเกณฑ์ก็จะสามารถแบ่งได้ง่ายว่าอะไร “ทิ้ง” อะไร “คงอยู่” เพราะถ้าเป็นสถานปฏิบัติงานของตนเอง มักจะปล่อยผ่านกันง่าย ๆ  จึงควรถามความเห็นจากบุคคลจากสถานปฏิบัติงานอื่น ที่จะให้ความคิดเห็นอย่างเป็นกลาง  จะทำให้ค้นพบสิ่งที่ไม่จำเป็นออกอย่างจริงจังและมีประสิทธิผล ไม่อนุญาตให้มีการแก้ตัวว่า “อยากคงเอาไว้บางส่วนเผื่อกรณีฉุกเฉิน”!

(2)“ทำให้มองเห็น” ของที่ไม่จำเป็น → “ทิ้ง”

      ทำให้สิ่งที่ไม่จำเป็นชัดเจน  แล้วกำจัด (ทิ้ง) สิ่งที่ไม่จำเป็นนั้น ถึงจะบอกว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นก็ยังเป็นสินทรัพย์ของบริษัท  เวลาจะ “ทิ้ง” ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้รับผิดชอบแล้วจึงกำจัด

 (3)มาตรการต่อแหล่งต้นตอ

    สิ่งที่ไม่จำเป็นเกิดจากที่ไหน  ต้นตอของสิ่งสกปรก ตัวตนที่แท้จริงของสิ่งแปลกปลอมเป็นต้น ให้ทำการเสาะหาทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  โดยมาตรการให้ดำเนินการตามสเต็ป สะอาด สะดวก  “การกำหนดที่เฉพาะ” คือการกำหนดที่วางของที่ “คงอยู่” โดยคิดว่า “ใช้ที่ไหน” “วางไว้ตรงไหน” “จะวางสักเท่าไร” “จะวางอย่างไร”

   การกำหนดที่เฉพาะเป็นสเต็ปของการทำ “สะดวก”  Visual Control เป็นสเต็ปของการทำให้ถูก “สุขลักษณะ” โดยดำเนินการให้จริงจังยิ่งขึ้น แต่ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องห้ามไม่ให้ทำในสเต็ปของการ “สะสาง”  หากสามารถทำให้มองเห็นการกำหนดที่เฉพาะได้ง่าย ๆ ก็ควรดำเนินการไปเลย

3、เกณฑ์ของ “ทิ้ง” และของ “คงอยู่”

      แนวคิดพื้นฐาน:นอกเหนือจากของที่ต้องใช้แล้วเป็นของที่ไม่จำเป็นเสมอ

(1)ของที่จะไม่ใช้มากกว่า 1 ปีต่อจากนี้ ⇒ ทิ้ง

(2)ของที่จะใช้ราว 1 ครั้งในช่วง 6 เดือน – 1 ปี       ⇒    ไปวางที่ไกล ๆ

(3)ของที่จะใช้ราว 1 ครั้งในช่วง 1 – 6 เดือน          ⇒    รวบรวมวางไว้ใน สถานปฏิบัติงาน

(4)ของที่ใช้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง   ⇒   วางไว้ในพื้นที่ปฏิบัติงาน

(5)ของที่ใช้ทุกวัน   ⇒   ทำให้หยิบใช้ง่าย คืนที่เดิมง่าย และเข้าใจง่าย

(6)ของที่ใช้ทุกชั่วโมง   ⇒   วางไว้ในที่ยื่นมือไปหยิบได้ทันที

4、เป้าหมายของการ “ทิ้ง”

       แนวคิดพื้นฐาน :ของที่ไม่ใช้คือของที่ไม่จำเป็น

   (1)ของที่เสียหาย ของเสีย ของผุกร่อน เช่น ผลิตภัณฑ์ ของระหว่างการผลิต เครื่องมือขนย้าย กล่อง วัสดุ เป็นต้น

   (2)เครื่องจักร จิ๊ก เครื่องมือ แม่พิมพ์ ชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เก่าที่ไม่มีกำหนดใช้ หรือไม่ได้ใช้มาหลายปี

   (3)ของที่หมดอายุ เช่น ผังแบบ เอกสาร นิตยสาร แคตาล็อก และของที่จำเป็นอื่น ๆ

5、ขั้นตอนการทิ้ง

วิธีที่ 1:ติด tag แดง

 (1)ของที่ไม่จำเป็นติด tag แดง ไม่ใส่ใจกับคำแก้ตัวของหน้างาน  อะไรไม่รู้ให้ติด tag แดง

 (2)ตัดสินของที่ไม่จำเป็น (ให้ตัดสินของที่ไม่จำเป็นโดยผู้จัดการมาร่วมด้วย)

 (3)จัดการทิ้ง (เอาออกไป)

 (4)ของที่จำเป็น (ของที่ไม่มี tag แดงติด)

 ไคเซ็นลด → เข้าสู่สเต็ปของการทำสะดวก

    วิธีที่ 2  :ของที่ตัดสินใจแล้วว่าเป็นของที่ไม่จำเป็นให้ย้ายไปอยู่ในที่รวมของที่ไม่จำเป็น

 (1)ย้ายของที่ไม่จำเป็นทั้งหมดไปไว้ในที่รวมของ (บางอย่างก็อาจเอากลับคืนที่ได้)

(2)อีก 2 เดือนให้หลังจึงมาตัดสินของที่ไม่จำเป็น (ให้ตัดสินของที่ไม่จำเป็นโดยผู้จัดการเข้าร่วมด้วย)

(3)จัดการทิ้ง (เอาออกไป)

     ทำการวัดปริมาณของของที่ไม่จำเป็นที่ถูกเอาออกไป (ปริมาตร น้ำหนัก) หรือพื้นที่ที่ว่าง ค่าใช้จ่ายในการทิ้ง เป็นต้นแล้วจดบันทึกเอาไว้

6、วิธีดำเนินการสะสาง

  (1)เตรียมตัวสะสาง

  (2)กำหนดเป้าหมาย :กำหนดเกณฑ์การสะสาง เช่นลดพื้นที่วางของลง 50 %

  (3)ติด tag แดง  : ของที่ไม่จำเป็น ของที่ไม่ต้องใช้  ของที่มีมากเกินความจำเป็น

  (4)ตัดสินของที่ไม่จำเป็น   :คืนได้หรือไม่ ขายได้หรือไม่ เอาไปใช้อย่างอื่นได้หรือไม่ ทิ้งได้หรือไม่

 (5)จัดการทิ้งของที่ไม่จำเป็น

 (6)บันทึกของที่ไม่จำเป็น  :รวมจำนวนชิ้น น้ำหนัก พื้นที่ เป็นต้น  ถ่ายรูปก่อนและหลังการดำเนินการ

7、ตัวอย่างการใช้แบบฟอร์มเอกสาร

  (1)ป้ายแดง

  (2)ตารางลิสต์ของที่ไม่จำเป็น (กราฟยอดสะสม)

  (3)ตารางลิสต์ของกำจัดทิ้ง

 (4)แผนที่แหล่งต้นตอ

 (5)ตารางลิสต์จุดที่มีสิ่งแปลกปลอม

8、วิธีดำเนินการประเมินการจัดการ tag แดง : ทำสาเหตุของการติด tag แดงให้ชัดเจน และจัดการตามสภาพ

(1)จัดการทิ้งของที่ต้องกำจัด

     1)เอาออกไปในทีเดียว

     2)ทำการเช็คสต็อคเป็นประจำ

     3)ทำตารางลิสต์ของกำจัดทิ้ง

(2)จัดการกับสต็อคและของระหว่างการผลิตที่เป็น tag แดง

     1)ของเสีย dead stock  →  จัดการกำจัดทิ้ง

     2)ของค้างสต็อค  →  ย้ายไปยังที่เก็บรวบรวมของเสีย

     3)วัสดุที่เป็นเศษ (ของนอกบัญชี)  →  ของที่ไม่จำเป็นให้กำจัดทิ้ง

(3)เครื่องจักร จิ๊กเครื่องมือ  นำกลับมาใช้ใหม่ด้วยการไคเซ็นหรือการเปลี่ยนสเปค

       ชิ้นส่วน ท่อทาง การเดินสาย เครื่องจักร จิ๊กเครื่องมือที่ไม่จำเป็น กำจัดทิ้ง

 

 

 

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.