...

1、สะดวกคือ การกำหนดวิธีการวางหรือเลย์เอาต์ให้ถูกต้องเพื่อสามารถหยิบสิ่งที่จำเป็นในเวลาที่จำเป็นออกมาใช้ได้ทันที หาวิธีการเก็บรักษาของให้ใช้งานได้ง่าย และกำจัดการหา  และสร้างมาตรฐานนั้น

2、หลักการและกฎเกณฑ์ของการทำให้สะดวก

                (1)การเก็บรักษาให้ใช้งานได้ง่าย

                        กำหนดวิธีการวางเก็บรักษาของให้ใช้งานได้ง่ายจากการดูความถี่และวัตถุประสงค์ในการใช้  ไม่ว่าใครก็สามารถหยิบของที่จำเป็นในเวลาที่จำเป็นในปริมาณที่จำเป็นกับงานปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว

                (2)กำจัดการหา

                        ทำให้มองเห็น (Visualization) ให้ไม่ว่าใครก็เจอของที่จำเป็นในทันทีโดยไม่ต้องหา

                (3)การควบคุม 6 แน่

                        ตำแหน่งแน่นอน ของแน่นอน ปริมาณแน่นอน รูปทรงแน่นอน เวลาแน่นอนคุณภาพแน่นอน เป็นพื้นฐานในการควบคุมวัตถุคงคลัง

3、แนวคิดพื้นฐานของวิธีการวางของให้ใช้งานง่าย

                   (1)รู้ได้    ―  6 แน่ 

                   (2)หยิบได้   ―  First In First Out

                   (3)คืนที่ได้   ―  วางตามรูปรอย

          4、 จุดมุ่งหมายของการทำให้สะดวกกำจัดมุดะ

                (1)ผลิตภาพ

                        กำจัดการหา

                        หยิบออกมาได้แบบ One Touch

                        Loss จากการขนย้าย การเดิน การเคลื่อนไหว เป็นศูนย์

                (2)คุณภาพ

                        ป้องกันการผิดพลาด − ส่งมอบของผิด

                        ป้องกันการหยิบผิด   − ประกอบผิด

                        First In First Out − การเสื่อมคุณภาพ

                (3)เครื่องเสีย

                        การควบคุมอะไหล่

                        การควบคุมสารหล่อลื่น น้ำมันไฮดรอลิก

                (4)สต็อค

                        ของขาดเป็นศูนย์

                        ของเกินเป็นศูนย์

                (5)ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม

                        สัญลักษณ์ความปลอดภัย

                        ทำให้งานยกของหนักมีน้อยที่สุด

                        สภาพแวดล้อมสถานปฏิบัติงานที่สุขสบาย


          5、แนวคิดพื้นฐานของการทำสะดวก

                (1)วิธีดำเนินการสะดวก “กำหนดที่เฉพาะ กำหนดปริมาณเฉพาะ” “ดูโล่งโปร่งตาทำให้กะทัดรัด”

                (2)การกำหนดที่เฉพาะ คือ การสร้างสภาพให้หยิบออกมาใช้ง่าย เก็บวางง่าย

                        ・คิดว่า “ใช้ที่ไหน” “วางตรงไหน” “วางอย่างไร”

                        ・คำนึงถึงความถี่ในการใช้ และความปลอดภัย  แยกของตามน้ำหนัก  ของหนัก มากให้หาไอเดีย ในการวางให้อยู่ในความสูงระดับที่หยิบฉวยได้ง่าย

                        ・จากการกำหนดที่เฉพาะ ให้ประเมินด้วยว่าสามารถประหยัดเวลาและแรงงานในการ “หา” และ “คืนที่” ได้หรือไม่

                (3)การกำหนดปริมาณเฉพาะคือ การทำให้ของขาดเป็นศูนย์เป็นความจริง

                        ・คิดว่าจะ “วางแค่ไหนดี”

                        ・กำหนดปริมาณการวางในที่เฉพาะด้วยปริมาณที่ใช้ใน 1 ครั้ง หรือปริมาณที่ใช้ใน 1 วัน เป็นต้น

                        ・เพื่อให้วางได้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ให้กำหนด Max. Min. และ กำหนดกฎเกณฑ์ง่าย ๆ ทำให้มองเห็นได้ การทำให้มองเห็นได้เรียกว่า “Visual Control”

                (4)ดูโล่งโปร่งตา ทำให้กะทัดรัด คือ สภาพที่ถูกทำให้สะดวกเรียบร้อย ทั้งทางเดิน สถานปฏิบัติงาน ที่วางผลิตภัณฑ์ ที่วางจิ๊กเครื่องมือ ที่วางอะไหล่

                          ・มีการคำนึงถึงว่าทางเดินต้องไม่ถูกปิดกั้น มีไอเดียไม่ทำให้สูงเกินกว่าระดับ สายตา

                          ・เครื่องมือ เป็นต้น และสิ่งที่ใช้กันทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถเก็บกลับคืนที่เดิมได้ อย่างเรียบร้อย  “การกำหนดที่เฉพาะ” เป็นสิ่งสำคัญมาก หากเกียจคร้านไม่ ดำเนินการ รอบ ๆ จะเกิดของที่ไม่จำเป็นเต็มไปหมดอีก  เมื่อการดำเนินการ “สะดวก” ก้าวหน้าขึ้น  งานการ “หา” จะลดลง การเดินการเคลื่อนไหวที่เป็นมุดะก็จะลดลง  ประสิทธิภาพแรงงานเพิ่มขึ้น “การเก็บผิด” “ชื่อของผิด” “หยิบออกมา ผิด” ก็หมดไป คุณภาพของงานดีขึ้น

         6、วิธีดำเนินการทำสะดวก

                (1)วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน

                (2)กำหนดที่วางของ

                        1)ของที่ไม่จำเป็นให้กำจัดออกไป ⇒ ลดสต็อคลงครึ่งหนึ่ง 1 ชนิด 1 ชิ้น

                        2)กำหนดเลย์เอาต์จำแนกที่วางของทั้งหมด ⇒ แยกชนิดอย่างเป็นระบบ

                        3)ตั้งชื่อให้เป็นแบบเดียวกัน ⇒ วิธีเรียกที่ทุกคนเรียกเหมือนกันหมด

                (3)กำหนดวิธีวางของ

                        1)พิจารณาวิธีวางของให้สะดวกใช้งาน ⇒ ความปลอดภัย คุณภาพ ประสิทธิภาพแรงงาน ป้องกันของผิด

                        2)ในจุดวางมีการแสดง item และชื่อ ⇒ ทุกชิ้น มีการแสดงที่ของและที่สโตร์เหมือนกัน                       

                        3)ทำการไคเซ็นการหยิบ และเก็บคืนได้ง่าย ⇒ จัดเก็บแยกตามฟังก์ชัน จัดเก็บแยกตามสถานปฏิบัติงาน

                (4)ปฏิบัติตามกฎการจัดเก็บ

                        1)Daily Management และป้องกันของขาดสต็อคอย่างจริงจัง

                                ・ของขาดสต็อค ⇒ แสดงว่าอยู่ระหว่างการสั่งของ กำหนด Minimum Stock

                                ・ของที่ยังไม่คืน ⇒ แสดงว่าใครจะเป็นคนคืน

                                ・ป้องกันการสูญหาย ⇒ ด้วยการใช้รูปรอยทำให้รู้สภาพการสูญหาย  กำหนดจำนวนแน่นอน

                        2)ไคเซ็นวิธีการจัดซื้อจัดหา ⇒ จัดทำคู่มือการจัดซื้อจัดหา  วางของที่ข้างไลน์

                        3)ฝึกฝนการหยิบออก จัดเก็บและตรวจวัดผล ⇒ ฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่า และประกาศผลได้นั้นให้ทุกคนรับรู้

        7、Check Point ของการทำสะดวก

                (1)มีการแสดงตำแหน่งที่แน่นอน เช่น ทางเดินหลัก ที่วางของ หรือไม่

                (2)แยกเครื่องมือเฉพาะ เครื่องมือร่วม และทำให้อยู่ในสภาพที่สามารถหยิบฉวยได้ทันทีหรือไม่

                (3)ผลิตภัณฑ์และกล่อง มีการกองตั้งด้วยจำนวนชั้น (ความสูง) มาตรฐานหรือไม่

                (4)มีการวางของรอบอุปกรณ์ดับเพลิงหรือไม่

                (5)บนพื้นมีสิ่งที่เป็นเครื่องกีดขวาง เช่น รอยขรุขระ ชำรุด สิ่งที่ยื่นออกมา หรือไม่

          8、เกณฑ์วิธีการดำเนินการกำหนดที่เฉพาะ

               (1)ใช้ที่ไหน ⇒ วัตถุประสงค์ที่ใช้ สถานที่ใช้ให้ชัดเจน

               (2)วางที่ไหน ⇒ ใกล้กับสถานที่ใช้  ต้องเดินไปด้วย

               (3)วางแค่ไหน ⇒ Max. Min. จุดออเดอร์

               (4)วางอย่างไร ⇒ วางง่าย  หยิบง่าย (One Touch)

               (5)แสดงสถานที่วาง ⇒ ใช้สี ใช้ล้อมกรอบ

               (6)ทำให้มองแล้วเข้าใจด้วยตา ⇒ แสดงด้วยผังภาพ แสดงชื่อของ (รหัส) แสดงปริมาณ

               (7)มองแล้วเข้าใจถึงเวลาตกค้างด้วยตา ⇒ First In First out  มองแล้วเข้าใจวันเวลาที่วาง   

               (8)กำหนดผู้ดูแลควบคุม ⇒ แสดงผู้รับผิดชอบ  

      9、แนวคิดพื้นฐานของวิธีการวางของ

                (1)ไม่ว่าใครก็สามารถแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไรได้ง่ายดาย

                (2)ไม่ว่าใครก็สามารถหยิบได้ง่ายดาย

                (3)ไม่ว่าใครก็สามารถเก็บคืนที่ได้ง่ายดาย

        10、6 แน่

                (1)ตำแหน่งแน่นอน − อยู่ที่ไหน ⇒ วางที่ตำแหน่งที่กำหนด

                (2)ของแน่นอน − อะไร ⇒ ของตามที่กำหนด

                (3)ปริมาณแน่นอน − เท่าไหร่ ⇒ วางในปริมาณตามที่กำหนด

                (4)รูปลักษณ์แน่นอน − รูปลักษณ์ ⇒ วางโดยแสดงรูปลักษณ์ตามที่กำหนด

                (5)เวลาแน่นอน − เมื่อไหร่ ⇒ วางในระยะเวลาตามที่กำหนด

                (6)คุณภาพแน่นอน − ระดับ ⇒ วางของที่มีคุณภาพตามที่กำหนด

        11เนื้อหาการดำเนินการ แน่

                (1)ใช้ที่ไหน − ทำให้วัตถุประสงค์การใช้ สถานที่ใช้ชัดเจน

                (2)วางไว้ที่ไหน − ใกล้สถานที่ใช้ ในขณะที่เดิน

                (3)วางแค่ไหน − Minimum Stock, Maximum Stock  จุดออเดอร์

                (4)วางอย่างไร − วางง่าย  หยิบง่าย

                (5)แสดงสถานที่ − ทำเป็นระบบที่อยู่  แยกสี  ขีดเส้นแบ่ง

                (6)วิธีทำให้มองเห็น − แสดงรูปรอย  แสดงชื่อของ (รหัส) แสดงปริมาณ

                (7)แสดงเวลาตกค้าง − First In First Out  วันเวลาที่วางของ

                (8)กำหนดผู้ดูแลควบคุม  −  แสดงผู้รับผิดชอบ

        12สะดวกที่มองเห็นได้ด้วยตา

                พื้นฐานของการวางของให้ใช้งานง่าย ด้วย 6 แน่ มีการแสดงที่ไม่ว่าใครก็รู้ได้

                (1)ปฏิบัติการแผ่นป้าย

                        แสดงด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ มองเห็นแต่ไกล ให้เป็นแบบเดียวกัน

                                1)ป้ายโรงงาน ⇒ ป้ายสถานปฏิบัติงาน ⇒ ป้ายไลน์การผลิต

                                2)ป้ายกระบวนการ ⇒ ชื่อกระบวนการ ⇒ ชื่อเครื่องจักร ⇒ หมายเลขเครื่องจักร

                                3)สโตร์  ชั้นวางของ

                                4)แสดงจุดอันตราย

                (2)กำหนดที่อยู่

                        กำหนดที่อยู่ แอดเดรสของภายในโรงงาน ใช้เสา เป็นต้น เป็นจุดตั้งต้น แสดงทางขวางเป็นแนว ทางตั้งเป็นแถว

                (3)ดำเนินการตีเส้น

                        สีกับขนาดของเส้นให้เป็นแบบเดียวกัน

                                1)เส้นแบ่งเขต

                                      เส้นแบ่งทางเดินกับเขตปฏิบัติงาน

                                2)เส้นทางเดิน

                                      แสดงทิศทางการเดิน : ลูกศร

                                3)เส้นที่วางของ

                                      เส้นแสดงที่วางของ

                                4)เส้นเขตห้ามเข้า

                                       ใช้เส้นแถบเหลืองดำ แสดงพืนที่ห้ามเข้า เป็นต้น

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.