แรงบันดาลใจที่ต้องนำกิจกรรม 5 ส. มาใช้ในบริษัทส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างกำกวม ไม่รู้ว่าทำไมจึงต้องทำกิจกรรม 5 ส. ตอนนี้ 

(1) 5 ส. ไว้โชว :เจ้านายสั่งให้เก็บกวาดให้เรียบร้อย ก็เลยเริ่มทำด้วยความไม่เต็มใจ เป็นกิจกรรม 5 ส. ที่มีแนวคิดว่าขอให้ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดูดีเพื่อไว้โชว์เท่านั้น
(2) 5 ส. เพราะว่าง :ด้วยเหตุผลเพราะตอนนี้ไม่มีงาน จึงทำ 5 ส. อย่างไร้แผนการ เพื่อฆ่าเวลาเป็นกิจกรรม 5 ส. ที่ทั้งเงินและเวลาที่ใช้ไปล้วนเป็นมุดะ

(3) 5 ส. ตามเวลา :มีการกำหนดเวลาทำทั่วทั้งโรงงานว่า ก่อนเริ่มงาน 5 นาที หรือหลังเลิกงาน 10 นาที เพื่อดำเนินการ อย่างเร่งรีบ ทำกิจกรรม 5 ส. เท่าที่ทำได้ในเวลานั้น

(4) 5 ส. ตามเสียงเรียกร้อง :การตั้งคำขวัญ ติดโปสเตอร์เชิญชวนว่าไม่ว่าอะไรต้องเริ่ม จาก  5 ส. ความปลอดภัยต้องเริ่มจาก 5 ส. เป็นต้น เป็นกิจกรรม 5 ส. ที่เป็นเพียงการสร้างบรรยากาศไม่ได้มาพร้อมความเป็นจริง

(5) 5 ส. เมื่อนึกอยากทำ :เห็นบริษัทอื่นทำกิจกรรม 5 ส. แล้วประทับใจ  คิดว่าบริษัทของตนก็ต้องทำ 5 ส. บ้าง  เป็นกิจกรรม 5 ส. ที่ดำเนินการแบบปุบปับขาดการวางแผน

(6) 5 ส. ตาม ๆ กัน :เพราะว่าสำนักงานใหญ่ หรือว่าโรงงานอื่นเขาทำ 5 ส. อยู่ “ของเราก็ต้องทำบ้าง”
เพราะแรงบรรดาลใจที่กำกวมในการทำ  5 ส. ด้วยความคิดง่าย ๆ แต่คาดหวังกับมันสูงเกินไป
จึงนำไปสู่ 5 ส. ผิด ๆ  บริษัทส่วนใหญ่ที่ทำกิจกรรม 5 ส. มีความเข้าใจผิดในจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของกิจกรรม  จึงดำเนินกิจกรรม 5 ส. ด้วยความเข้าใจผิดกันมาก
        5 ส. ผิด ๆ  คือ   : การตกแต่งให้สวยงามด้วยการซื้อใหม่ ทาสีใหม่ เป็นต้น เพื่อให้ดูดี
        5 ส. ผิด ๆ ที่ 1   :เก็บ (ซ่อน) ของเข้าชั้นหรือตู้ เพื่อไม่ให้ขวางหูขวางตา
        5 ส. ผิด ๆ ที่ 2   :จัดระเบียบของเพื่อให้ดูดีเท่านั้น
        5 ส. ผิด ๆ ที่  3  :ทำความสะอาดขยะ ฝุ่นผงบนพื้น
        5 ส. ผิด ๆ ที่  4   :เปลี่ยนเครื่องมือ กล่อง ภาชนะ อุปกรณ์ เป็นต้น ที่สกปรกเป็นของใหม่
        5 ส. ผิด ๆ ที่  5   :ถูกตำหนิ ถูกตักเตือน ก็เลยลุกขึ้นมาทำอย่างฝืน ๆ
ดังนั้นการทำ   5 ส. ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ?

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM