3) Step 13: กำหนดรอบหรือคาบ

       เมื่อกำหนดระบบและวิธีการบำรุงรักษาดังข้างต้นแล้ว ต่อจากนั้นจะเป็นการกำหนดรอบของการบำรุงรักษาว่าควรเป็นแค่ไหน 

       โดยกำหนดรอบอันเป็นเสาหลักพื้นฐานของงบประมาณ  รอบในการบำรุงรักษา ดำเนินการเพื่อให้การเกิดปัญหาเป็น 0  แต่ต้องกำหนดรอบที่เหมาะสมที่สุดโดยคำนึงถึงความประหยัด

       ก่อนอื่น รอบของรูปแบบของการเสื่อมสภาพที่ได้รับการรับประกันไว้เรียบร้อย ให้เริ่มจากการกำหนดรูปแบบการเสื่อมสภาพนั้นก่อน 

       ผู้ผลิตชิ้นส่วน มีการทดลองและตรวจวัดรูปแบบการเสื่อมสภาพและเวลาจนกว่าจะเสียหายของชิ้นส่วนที่ผู้ผลิตนั้นจำหน่าย  ให้กำหนดเวลาจนกว่าจะขัดข้องและเวลาในการซ่อมบำรุงจากข้อมูลนี้

      แต่ในความเป็นจริงการจะกำหนดรอบการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยเพียงคำแนะนำของผู้ผลิตเป็นเรื่องยาก จากเหตุผลที่ว่า

  1. item ของชิ้นส่วนมีมาก การจะกำหนดอายุของชิ้นส่วนทั้งหมดเป็นเรื่องยาก
  2. เช่น ใช้นอกอาคาร ต่างจากคำแนะนำของผู้ผลิต
  3. ชิ้นส่วนที่มีรอบยาวนาน การจะกำหนดอายุให้หน่วยเป็นเดือนเป็นเรื่องยาก
  4. อายุอาจต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการเดินเครื่อง
  5. อายุต่างกันมากหลังจากนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการดูแล

       ดังนั้น ในความเป็นจริงจึงคะเนอายุได้ยาก  ดังนั้น จึงต้องกำหนดอายุโดย วิเคราะห์ผลกระทบตอนเครื่องหยุด กำหนดเวลาจากค่าที่ผู้ผลิตและการออกแบบให้มา แล้วเสริมด้วยประสบการณ์ในอดีต  ตัวอย่างแบบฟอร์มมาตรฐานการตรวจเช็คระยะยาว รวมถึงการจัดการความเสี่ยงได้แสดงดังผังที่ 5-5

ตัวอย่างรากฐานการกำหนดรอบ (ผังที่ 5-6)

       สิ่งสำคัญในที่นี่ เพื่อการคาดการณ์อายุก็คือการจัดการข้อมูลเอาไว้ให้ดี  รอบจะกำหนดโดยอ้างอิงจากหัวข้อต่อไปนี้

ผังที่ 5-7 หัวข้อจำเป็นในการกำหนดรอบการบำรุงรักษา
  1. บันทึกการขัดข้องในอดีต ➱ เวลาจนกระทั่งขัดข้องและสภาพความเสียหาย เป็นต้น
  2. ความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการตรวจสอบ-ทดสอบตามรอบ ➱ เวลาที่ผ่านไปตั้งแต่การตรวจสอบตามรอบครั้งก่อนและสภาพความเสียหายของของจริงในพริบตาที่เปิดภายในออกดู ประวัติ เช่น การซ่อม การเปลี่ยนชิ้นส่วน
  3. ความรู้ประสบการณ์จากแซมเปิ้ล ➱ บันทึกจนเสียหาย แซมเปิ้ลการผุกร่อน เป็นต้น
  4. สภาพเมื่อตอนตรวจสอบตามรอบ
  5. ตัวอย่างของเครื่องจักรชนิดเดียวกัน

       6. อายุที่ผู้ผลิตแนะนำ

       7. ผลการวินิจฉัยเครื่องจักร

       8. ประวัติการเดินเครื่อง หัวข้อบันทึกพิเศษเป็นต้น

       บันทึกข้อมูลเหล่านี้ ร่วมกับผลการสำรวจระดับผลกระทบจากการกระจายฟังก์ชันของเครื่องจักร เพื่อกำหนดว่าจะบันทึกข้อมูลแบบไหนกับเครื่องจักร Unit ชิ้นส่วนไหน แล้วทำการตรวจวัดตามรอบเป็นประจำ พลางหารอบที่เหมาะสมที่สุด

      ดังแสดงตัวอย่างประวัติการดูแล-การขัดข้องในผังที่ 5-8

การควบคุมรอบ ให้ใช้การควบคุมดังต่อไปนี้เป็นพื้นฐาน
  1. หัวข้อควบคุมรายปี : ทำการควบคุมมากกว่า 3 ปี

           <ตัวอย่าง> การดูแล-ซื้อใหม่ ทาสี จัดการท่อทางของเครื่องจักรขนาดใหญ่

       2. ควบคุมรายเดือน-วัน : จัดทำปฏิทินรายเดือน-วัน แล้วทำการควบคุม

       3. ควบคุมผลกระทบต่อคุณภาพ เป็นต้น : ควบคุมการเสื่อมสภาพตามดัชนีชี้วัดที่จับตามอง

อีกทั้ง รอบการตรวจเช็ค-ลาดตระเวน ให้กำหนดเป็น 2 ประเภทดังนี้
  1. การตรวจเช็ค-ลาดตระเวนหลังการบำรุงรักษาตามรอบเสร็จใหม่ ๆ เช่น ดูแล-ตรวจสอบ-ทดสอบ

           การตรวจเช็ค-ลาดตระเวนที่เชื่อมโยงกับผลที่ได้ตามวัตถุประสงค์ของการบำรุงรักษาตามรอบ หรือการทำให้คุณภาพการซ่อมบำรุงเป็นปกติ

        2. การตรวจเช็ค-ลาดตระเวนตามกำหนด

            การตรวจเช็ค-ลาดตระเวนตามกำหนดหลังการบำรุงรักษาตามรอบเสร็จแล้วผ่านไปเป็นระยะเวลาที่กำหนด เพื่อประเมินความสมบูรณ์ในการเดินเครื่องของเครื่องจักร

        ★ การทบทวนรอบการบำรุงรักษาเครื่องจักร

            รอบการบำรุงรักษาเมื่อกำหนดครั้งหนึ่งแล้ว ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนไม่ได้ ควรมีการทบทวนระยะเวลาของรอบโดยอ้างอิงสิ่งต่อไปนี้  ระยะเวลาในการทบทวนให้ทำในตอนได้ผลการตรวจรับของการตรวจสอบรายปีหรือร่างแผนการปีถัดไป

  1. การเปลี่ยนแปลงตามปีที่ผ่านไปของเครื่องจักรที่รู้ได้จากผลการตรวจสอบตามรอบหรือการบำรุงรักษาประจำวัน
  2. การเกิดปัญหา เป็นต้น
  3. การดำเนินการปรับปรุง-ซื้อใหม่ เป็นต้น
  4. ตัดสินจากเส้นโค้งการขัดข้องตามเวลา

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM