เพื่อให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน จำเป็นที่ทุกคนต้องพูดคุยหารือ ทบทวนแต่ละหัวข้อเหล่านั้นว่า “จะปฏิบัติตามอย่างไร” “อะไรที่ปฏิบัติตามได้ยาก” “ตรวจสอบอย่างไรว่ามีการปฏิบัติตามอยู่”  นั่นก็คือสิ่งที่ต้องดำเนินการใน Step 6 “การสร้างมาตรฐานและควบคุมรักษา”

 พิจารณาหัวข้อที่ควรต้องทบทวน

ในการดำเนินการ Step 6 ก่อนอื่นต้องพิจารณาเกี่ยวกับว่า “หัวข้อไหนที่จำเป็นต้องทบทวนเพื่อให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง”

สิ่งสำคัญคือการกำหนดหัวข้อที่ต้องทบทวนใน Step นี้จากจุดที่ว่า ต่อผลสัมฤทธิ์ที่พวกเราคาดหวัง “อะไรเป็นสิ่งที่ระดับการประเมินต่ำ” “เพื่อการยกระดับนั้น ต้องปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดอย่างไรให้ดี”  โดยดำเนินการในแต่ละหัวข้อตามขั้นตอนที่แสดงดังต่อไปนี้ โดยใช้เวลาราว 2-3 เดือน

 ลิสต์สิ่งที่กำหนด และประเมินระดับการปฏิบัติตาม

ก่อนอื่น ต่อแต่ละหัวข้อที่ต้องทบทวนใน Step นี้ ให้พวกเราลิสต์ “ขั้นตอนหรือจุดสำคัญ” ที่ต้องปฏิบัติตาม จากเอกสารมาตรฐาน AM หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่กำหนดเอาไว้  เพราะว่าในเอกสารมาตรฐาน AM หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานมีสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามเกี่ยวกับ 4M (Machine-Material-Man-Method) เอาไว้แล้ว จุดสำคัญคือลิสต์สิ่งที่กำหนดเหล่านั้นออกมา  หากยังไม่มีการจัดทำเอกสารมาตรฐาน AM หรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน ต้องจัดทำมาตรฐาน AM ชั่วคราว-มาตรฐานการปฏิบัติงานชั่วคราวขึ้นมา

ถัดจากนั้น ให้ทุกคนพิจารณาว่า “สภาพการปฏิบัติตามเป็นอย่างไร” ต่อสิ่งที่กำหนดเหล่านั้นแต่ละอัน ว่าตรงกับอันไหนคือ “ปฏิบัติตามอยู่” “ไม่ได้ปฏิบัติตาม” “ปฏิบัติตามได้ยาก” “ปฏิบัติตามไม่ได้”  และแล้วนอกจากหัวข้อที่ปฏิบัติตามอยู่ ให้ดำเนินการพูดคุยหารือ และมีมาตรการเกี่ยวกับว่า “จะทำอย่างไรจึงจะปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามได้” ตามขั้นตอนต่อไปนี้

 ต้องปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย

ก่อนอื่นเกี่ยวกับหัวข้อที่ “ไม่ได้ปฏิบัติตาม” ต้องพูดคุยหารือว่า ทุกคน “รู้หรือไม่รู้” เรื่องนั้น  และกับผู้ปฏิบัติงานที่ “ไม่รู้” “รู้แต่ไม่ทำ” สิ่งสำคัญคือต้องทำการอบรมโดยใช้ One Point Lesson ถึงความจำเป็น ความสำคัญของการปฏิบัติตาม  อีกทั้งยังจำเป็นต้องฝึกฝนด้วย OJT ให้กับผู้ปฏิบัติงานที่ “รู้แต่ไม่ทำ” ด้วย

อีกด้าน ในหัวข้อที่กำหนด ถ้ามีหัวข้อที่ “ปฏิบัติตามได้ยาก” “ปฏิบัติตามไม่ได้” ก็ต้องไคเซ็นให้ปฏิบัติตามได้ง่าย  และในตอนนั้นคำขวัญที่คิดว่าอยากให้จำเอาไว้ก็คือ “น้อย-ยาว-สั้น” หรือ “4 กฎเกณฑ์ของการไคเซ็น (ECRS)” (ดูหน้า 175 ประกอบ)

 แก้ไขปรับปรุงมาตรฐาน AM-มาตรฐานการปฏิบัติงาน ทบทวนวิธีการเช็ค

กรณีที่ได้ทำไคเซ็นหัวข้อที่ปฏิบัติตามได้ยากให้ปฏิบัติตามได้ง่ายแล้ว ต้องแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานการบำรุงรักษา-มาตรฐานการปฏิบัติงานตามเนื้อหาที่ได้ไคเซ็นแล้วนั้น  อีกทั้งยังจำเป็นต้องพิจารณาว่าสิ่งที่กำหนดที่ได้แก้ไขปรับปรุงให้ปฏิบัติตามได้ง่ายแล้ว ได้มีการปฏิบัติตามอยู่หรือไม่ ไม่เพียงผู้ปฏิบัติงาน แต่ให้ดูว่าหัวหน้างาน ผู้ช่วยผู้จัดการ จนถึงผู้จัดการแผนกได้มีการเช็คอย่างไร ให้พิจารณาวิธีการและเนื้อหานั้นด้วย

ผู้จัดการแผนกของบริษัทแห่งหนึ่ง ได้พูดถึงความรู้สึกต่อ Step 6 ไว้ดังต่อไปนี้

“คิดว่าการปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนดเป็นหน้าที่ของพวกผู้ปฏิบัติงาน  ตัวผมเองไม่ได้เช็คว่าได้ปฏิบัติตามหรือไม่ แต่พอดำเนินมาถึง Step นี้ ตัวผมเองถึงรู้สึกตัวว่าการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนด “เป็นเพราะผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจถึงความจำเป็นและความสำคัญของการปฏิบัติตาม”  ดังนั้นจึงตกลงกันว่า “ทุกคนมาแบ่งหน้าที่การตรวจสอบการปฏิบัติตามกันเถอะ” ผลสุดท้าย จึงได้ตารางในการเช็คแต่ละหัวข้อซึ่งรวมส่วนของผมด้วย”

ในหน้างานการผลิตดังที่รู้ได้จากตัวอย่างนี้ สิ่งสำคัญคือการทำหน้าที่เพื่อให้ทุกคนที่ทำงานปฏิบัติตามสิ่งที่กำหนด


เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM