ลำดับถัดไป เรามาแนะนำตัวอย่างจริงของการค้นพบการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักรจากการที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานตรวจเช็คประจำวัน

●  มันแปลกไปหน่อยนะ ?

       ผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่ง รู้ตัวว่า Cycle Time ของเครื่องจักรเริ่มยาวขึ้น จึงต้องเปิดวาล์วปรับการไหลของไฮดรอลิก  นั่นก็คือรู้สึกตัวว่าความเร็วค่อย ๆ เปลี่ยนไป แต่เมื่อตรวจเช็คโดยถอดกระบอกสูบออก ก็รู้ว่าปะเก็นของลูกสูบเสียหาย

       ผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่ง รู้สึกว่าเกียร์บ๊อกซ์มีเสียงดังขึ้นหน่อย เมื่อนำมาตรวัดแรงสั่นสะเทือนมาตรวจวัด ก็รู้ว่ามีการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรข้าง ๆ จริง  เมื่อทำงานเสร็จแล้วตรวจเช็คด้านใน ก็รู้ว่า เฟืองดอกจอกเกิดการสึกหรอ backlash สูง ทำให้แบริงสึกหรอไปด้วย

●  ป้องกันคอยล์ขาดด้วยการเช็คความเป็นฉนวน

       กลุ่มย่อยหนึ่งกลุ้มใจเรื่องเครื่องขัดข้องซึ่งเป็นการขาดของคอยล์ในเตาอบชุบ  ดังนั้นจึงได้ปรึกษากับวิศวกรการผลิตว่า “จะรู้เค้าลางผิดปกติล่วงหน้าก่อนที่คอยล์จะขาดได้หรือไม่” ก็ได้รับการสอนว่า “ถ้าเป็นการขาดเพราะเสื่อมสภาพ คิดว่าเป็นเพราะฉนวนค่อย ๆ เสื่อม”

       ก็เลยใช้โอห์มมิเตอร์เช็คความเป็นฉนวนของคอยล์ทั้งหมด ก็พบว่ามีอยู่ตัวเดียวที่เสื่อม เมื่อออกมาทำงานวันหยุดเพื่อตรวจเช็คภายในเตา ก็พบว่าคอยล์นั้นลีบลงเป็นบางส่วน  จากนั้นจึงได้เพิ่มเติมหัวข้อการตรวจเช็คฉนวนเป็นการตรวจวัดประจำ ทำให้คอยล์ขาดอย่างกะทันหันไม่เกิดขึ้นอีกเลย

       อย่าเพิ่งถอดใจว่าการค้นพบการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักรเป็นเรื่องยาก คิดว่าอยากให้ทุกคนคิดไคเซ็นเพื่อให้ปฏิบัติตามได้ง่าย เพื่อให้ “เครื่องขัดข้องเป็นศูนย์-ของเสียเป็นศูนย์”

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM