กิจกรรมจนถึงตรงนี้ คิดว่าได้มีการยกระดับการตรวจเช็คลักษณะภายนอกได้ดีกว่าที่แล้วมา แต่โดยทั่วไปจะยังมีการตกหล่นของการตรวจเช็คการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักร  นั่นมีสาเหตุมาจากการถอดใจว่า “การขัดข้องและของเสียที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนภายในเครื่องจักรเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ได้”

       ดังนั้น ในที่นี้ มาพูดถึงวิธีการค้นหาการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักรนั้นกันดีกว่า

 การค้นพบระหว่างเดินเครื่อง

       วิธีแรกสุดของการค้นพบการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักร ก็คือการสังเกตระหว่างเดินเครื่อง ลองคิดถึงตัวอย่างของรถยนต์

       ระหว่างขับรถ เคยรู้สึกถึงเค้าลาง เช่น “เบรกเหยียบลึกไปหน่อยแล้ว” “เหมือนคลัทช์ลื่นไถลไปหน่อย” “หมุนพวงมาลัยมากกว่าปกติหรือเปล่า”  หรือไม่

       เกี่ยวกับเครื่องจักร เพราะเป็นผู้ปฏิบัติงานผู้สัมผัสเครื่องจักรนั้นเป็นประจำ จึงสามารถมองทะลุเค้าลางที่ว่า “มันแตกต่างจากปกติ” จากการสังเกตระหว่างเดินเครื่อง และนำไปสู่การค้นพบการเสื่อมสภาพด้านในเครื่องจักรระหว่างเดินเครื่องได้

 การตรวจเช็คด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าและการตรวจเช็คด้วยอุปกรณ์วัดคุม

       ถัดจากนั้น เป็นวิธีการโดยใช้การตรวจเช็คด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าหรือตรวจวัดด้วยอุปกรณ์วัดคุมที่ผิวหน้าของแต่ละส่วนของเครื่องจักร  ในกรณีนี้ให้ลองคิดถึงตัวอย่างของลูกของตัวเอง

       “มีไข้หน่อยนะเนี่ย” “มีอาการไอมากไหม” “หอบแฮ่กแฮ่กหน่อยหรือเปล่า” “ชีพจรเต้นเร็วนะ” เราก็รู้ด้วยการสัมผัสหรือฟังเสียงเอา หรือว่าถ้ายังรู้สึกสงสัย ก็คิดว่าบางครั้งก็ต้องพึ่งปรอท หูฟัง เครื่องวัดแรงดัน เป็นต้น

       เช่นเดียวกับเครื่องจักร จากการตรวจเช็คด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า หรือตรวจวัดด้วยอุปกรณ์วัดคุม ทำให้สามารถรู้ถึงความผิดปกติของด้านในของเครื่องจักรได้ เมื่อเกิดความรู้สึกว่าไม่อยากให้เครื่องขัดข้องหรือของเสียเกิดขึ้นซ้ำอีก ขอให้นึกถึงว่าเราสามารถใช้ “การสังเกตระหว่างเดินเครื่อง” “การตรวจเช็คด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า”

       “การตรวจวัดด้วยอุปกรณ์วัดคุม” ในการรู้เค้าลางของความผิดปกติอันเกิดจากการเสื่อมสภาพของด้านในของเครื่องจักรได้  เรื่องเหล่านี้ก็ต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานผู้ทำงานอยู่กับเครื่องจักรเป็นประจำเท่านั้นถึงจะสามารถทำได้

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM