จากตรงนี้จะขอพูดถึงจุดสำคัญของวิธีดำเนินการ Step 5 “การตรวจเช็คด้วยตนเอง”

การเปลี่ยนมาตรฐานชั่วคราวให้เป็นมาตรฐานจริง

       มาตรฐานของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) ได้มีการจัดทำมาตรฐานชั่วคราวแล้วใน Step 3 แต่หลังจากนั้นต้องเพิ่มหัวข้อที่ต้องปฏิบัติตามจากการตรวจเช็คโดยรวม เนื้อหาก็จะยกระดับมากขึ้น

       เพื่อการนี้ การตรวจเช็คโดยรวมนี้ต้องดำเนินการเปลี่ยนจากมาตรฐานชั่วคราวเป็นมาตรฐานจริง  อีกทั้งการเพิ่มหัวข้อที่ต้องปฏิบัติตามมากขึ้น จะทำให้ไม่สามารถทำภายในเวลาที่หัวหน้าหรือผู้จัดการกำหนดได้ จึงจำเป็นต้องมีการไคเซ็นเพื่อทำให้ปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น  ดังนั้นจุดสำคัญในการเปลี่ยนเป็นมาตรฐานจริงคือการใช้นาฬิกาจับเวลา ตรวจสอบดูว่า “สามารถตรวจเช็คตาม Check List ได้ภายในเวลาหรือไม่” จากนั้นก็ต้องทำการฝึกฝนจนกว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนสามารถทำได้อย่างแน่นอน

       ในสถานที่ทำงานที่ปฏิบัติงานด้วยมือ ให้ทำตามมาตรฐานการปฏิบัติงานชั่วคราวที่มีการแก้ไขปรับปรุงด้วยตัวหนังสือสีแดง แล้วตรวจสอบดูว่าทุกคนสามารถปฏิบัติตามนั้นได้จริงแล้วจึงเปลี่ยนเป็นมาตรฐานจริง  อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีการฝึกฝนจนกว่าทุกคนจะสามารถทำตามได้อย่างแน่นอน

จากการควบคุมที่ผลสู่การควบคุมเชิงสาเหตุ

       เดิมที จุดมุ่งหมายของการทำการตรวจเช็คด้วยตนเอง เพื่อให้พ้นจากสภาพที่เป็น “การควบคุมแบบไล่ตามหลัง” ไล่ตามความไม่ดีของผลที่เกิดขึ้นแล้วเช่น “เครื่องขัดข้องแล้ว” “เกิดของเสียแล้ว” “ความเร็วในการแปรรูปช้าลงแล้ว”  เพื่อการนี้ จึงต้องทำการควบคุมเงื่อนไขอันเป็นสาเหตุที่จะเชื่อมโยงสู่เครื่องจักรขัดข้องหรือเกิดของเสีย เมื่อถึงระดับที่ว่า “น่าจะเกิดเครื่องขัดข้องหรือน่าจะเกิดของเสีย” ก็ต้องเปลี่ยนให้เป็นสภาพที่สามารถป้องกันสิ่งเหล่านั้นได้

       นั่นก็คือ มีจุดมุ่งหมายให้เปลี่ยนวิธีการของพวกเราจาก “การควบคุมที่ผล” เป็น “การควบคุมเชิงสาเหตุ”

ทำให้ความสัมพันธ์ของเครื่องจักรกับคุณภาพชัดเจน

       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อจะสร้างให้เกิดสถานที่ทำงานที่ “ตราบใดที่สามารถรักษาสภาพที่ดีของเครื่องจักรไว้ได้ ก็จะไม่เกิดของเสีย” เป็นความจริง ต้องทำให้ความสัมพันธ์อันเป็นเหตุผลต่อไปนี้ให้ชัดเจน เช่น “ความแม่นยำของเครื่องจักรและคุณภาพผลิตภัณฑ์” “วิธีการปฏิบัติงานและคุณภาพผลิตภัณฑ์” “ความแม่นยำของจิ๊กเครื่องมือและคุณภาพผลิตภัณฑ์” และสิ่งสำคัญคือต้องใส่เนื้อหานั้นลงในเอกสารมาตรฐานให้ดี

        ยุคสมัยต่อไปนี้ เพื่อ “การสร้างคุณภาพผลิตภัณฑ์เข้าไปในกระบวนการผลิต” ยิ่งจำเป็นต้องควบคุมเงื่อนไข (Condition Control) เชิงสาเหตุมากขึ้น

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM