...

ประวัติศาสตร์ของการพัฒนากิจกรรม TPM

เคยสงสัยไหมครับว่า  กิจกรรม TPM  มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร จากข้อมูลที่ผมรวบรวมมาจากที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่นที่เคยให้คำปรึกษาร่วมกัน  สรุปได้ว่าการเริ่มต้นเปิดตัวของกิจกรรม TPM นั่นคือใน ปี 1971 ซึ่งปัจจุบันผ่านมาแล้วมากกว่า 47 ปี “คุณสมบัติพิเศษของ TPM” หลังจากเปิดตัวแล้ว ยังยืนยงคงอยู่มาตลอด ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย  โดยได้มีการขยายตัวขอบเขตของเป้าหมายของ TPM และมีการพัฒนาเป้าหมายของกิจกรรม การสร้าง pillar ให้กับกิจกรรมมาตลอด

ดังตารางภาพ 1

ประเภทTPM ในยุคที่ 1TPM ในยุคที่ 2TPM ในยุคที่ 3
ช่วงสมัยช่วงสมัย 1970 และ 1980ช่วงสมัย 1990ศตวรรษที่ 21
คุณลักษณะพิเศษของ TPM“การปฏิวัติการบริหาร” หรือหมายถึง การทำให้เป็นจริงด้วยตนเอง×การสร้างระบบบริหารแบบทุกคนมีส่วนร่วม ดำเนินการ “แสวงหาการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตอย่างถึงที่สุด โดยการใช้ “การแสวงการสร้างประสิทธิภาพของเครื่องจักร อย่างถึงที่ สุด”  “วิธีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (IE)” สร้างผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อการทำให้เป็นจริงด้วยตนเองของผู้ที่ทำงาน สร้างประโยชน์แก่สังคม
ขอบเขตเป้าหมายฝ่ายการผลิตทั้งบริษัท ทุกฝ่ายงานทั้งบริษัท ทุกฝ่ายงาน ฐานการผลิตในต่างประเทศ SCM
วัตถุประสงค์ลดต้นทุนการผลิตลดต้นทุนการผลิตเพิ่ม cash flow
การสร้าง Pillar ของกิจกรรม TPMในปัจจุบัน ยังเน้นเป้าหมายที่บริษัทขนาดเล็ก ดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมเป็น C-TPM (5 pillars)8 pillars8 pillars (Part I) + กิจกรรม TPM อย่างมีแผน (Part II) + กิจกรรม TPM อย่างสร้างสรรค์ (Part III)
ระดับรางวัล TPM AwardTPM Challenge AwardTPM Excellent Award,  TPM Continuity Award, TPM Special Award

TPM Advance Special Award,

TPM World Class Award

 

เราสามารถแบ่งการเปลี่ยนแปลงของ TPM ออกเป็น 3 ยุคสมัยด้วยกัน

           TPM ในยุคที่ 1 (TPM ของฝ่ายการผลิต)

TPM ในขั้นตอนแรกเรียกว่า “การบำรุงรักษาการผลิตที่ทุกคนมีส่วนร่วม” ดังนั้น TPM  ก็คือ ชื่อย่อของ “Total Productive Maintenance”  ซึ่งขอบเขตของเป้าหมายนั้น ก็คือ ฝ่ายการผลิต ซึ่งได้ใช้แนวคิดนี้มาเรื่อยๆ จนถึงช่วงปี 1970 และ 1980 จึงเรียกว่า “TPM ในยุคที่ 1”   ในช่วงนั้น ญี่ปุ่นอยู่ในกระแสของการเติบโตระดับสูงเป็นยุคที่เรียกว่า “ผลิตแล้ว ขายได้” ดังนั้น TPM ที่มีเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของฝ่ายการผลิตอย่างก้าวกระโดด จึงได้รับความสนใจ บริษัทที่นำเอาเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว   ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา การดำเนินกิจกรรมโดยใช้ 8 pillars เป็นพื้นฐานโดย “TPM ของฝ่ายการผลิต” คือ Category A   ส่วนที่ดำเนินกิจกรรม โดยมี 5 pillars (Focus Improvement, Autonomous Maintenance, Planned Maintenance, Education & Training  และ Safety Health & Environment) โดยเน้นที่ หน้างานการผลิต คือ Category B  ซึ่ง Category B นั้น เรียกได้ว่า “TPM สำหรับการบำรุงรักษา” ทั้ง A, B นั้น  ถ้าเป็นการเทียบระดับการรับรางวัล จึงเป็น “TPM Excellent Award”   นอกจากนี้ในญี่ปุ่นยังได้มีการจัดตั้ง C-TPM สำหรับสถานประกอบการขนาดกลางและย่อม ซึ่งจะได้รับ “TPM Challenge Award”

           TPM ในยุคที่ 2 (TPM ทั่วทั้งบริษัท)

ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา เข้าสู่ยุคฟองสบู่แตก หมดยุคของการเจริญเติบโตระดับสูง  จากนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก “ยุคที่ผลิตแล้วก็ขายได้”  มาเป็น “ยุคผลิตสิ่งที่ขายได้”

จากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยดังกล่าว TPM นั้น ได้มีการขยายขอบเขตเป้าหมาย จากเป้าหมายที่ฝ่ายการผลิตมาเป็นเป้าหมายทั่วทั้งบริษัท ทุกฝ่ายงาน  หมายถึงเป็น “TPM ทั่วทั้งบริษัท” ที่มีเป้าหมายทุกๆ ฝ่ายงาน ทั้งวิจัยพัฒนา ผลิต ขาย บริหารงานทางอ้อมต่างๆ  ในปี 1989 คำจำกัดความได้มีการปรับแก้ไขโดย TPM ได้เป็นตัวย่อของ “Total Productive Management” จึงเรียก “TPM ทั่วทั้งบริษัท” เป็น “TPM ในยุคที่ 2”

           TPM ในยุคที่ 3 (TPM ศตวรรษที่ 21)

นอกจากนี้ ในปี 2001 ได้มีการนำเสนอ “TPM ศตวรรษที่ 21) กิจกรรม TPM นั้น

ถ้าจะทำอย่างต่อเนื่อง จะต้องจัดให้มีระบบเพื่อยกระดับ TPM Part I, II, III  ดังนั้น จึงเรียก “TPM ศตวรรษที่ 21”  ว่า  “TPM ในยุคที่ 3”  (อ้างอิง ตารางภาพ 2)

TPM ในยุคที่ 2 และยุคที่ 3 นั้น สามารถเรียกได้ว่า “TPM ของการบริหาร

 

 

 

 

 

 


เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM

Seraphinite AcceleratorOptimized by Seraphinite Accelerator
Turns on site high speed to be attractive for people and search engines.