เพื่อการนี้ ก่อนอื่นจำเป็นต้องกำหนดว่า “จะบำรุงรักษาอย่างไร”  ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร ทรัพยากร นั่นคือ เงิน คน เป็นต้น เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  แล้วจึงกำหนดงบประมาณ ดำเนินการตาม “แผนการ” นั้น  และในการ “ประเมิน” ให้วิเคราะห์ผลต่างของงบประมาณ เพื่อเชื่อมโยงสู่งบประมาณครั้งถัดไป อันเป็นการหมุนตามวงจร PDCA  ประเมินผลของกิจกรรม คือ ผลงาน เช่น สภาพการรักษาเครื่องจักร ความถี่ในการขัดข้อง เวลาซ่อม แล้วใช้สิ่งเหล่านี้ในการพิจารณาจัดทำแผนการของปีถัดไป  การจะจัดทำแผนการได้ ต้องมีการกำหนดระบบการบำรุงรักษาอย่างเป็นรูปธรรม และจำเป็นต้องสามารถประเมินราคาของงานบำรุงรักษาและการตรวจสอบแต่ละอันได้  เพราะเกี่ยวข้องกับคนและองค์กรจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีแนวคิดของการบำรุงรักษาตามทฤษฎี

      ★ “มองเห็น” Know-how การบำรุงรักษา “มองเห็น” PDCA

      การบำรุงรักษาเครื่องจักร มีทั้งแง่มุมของ “การจัดการการบำรุงรักษา” แง่มุมของ “เทคโนโลยีเฉพาะด้าน” และยังมีแง่มุมของ “ทักษะ” ด้วย  บริษัทจำเป็นต้องมีความเพียบพร้อมครบทั้ง 3 แง่มุมนี้  แต่ไม่ว่าแง่มุมไหน ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะสามารถเขียนออกมาได้หมด มักจะอยู่ในรูปแบบของ know-how  สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ “มองเห็น” ว่าอะไรคือ know-how และจำเป็นต้องดำเนินการไคเซ็นโดยทุกคนช่วยกันยกระดับให้ดีขึ้น

      ในกิจกรรมจริง ทุกอย่างต้องประกอบกันจาก PDCA “วางแผน➱ปฏิบัติ➱ประเมิน➱ปรับปรุง”  สิ่งสำคัญคือต้องทำให้มองเห็นวงจรนี้  เพราะมองเห็นจึงรู้ถึงปัญหาและเกิดการไคเซ็น  จากการที่ตั้งแต่ผู้บังคับบัญชาจนถึงผู้ปฏิบัติงานหน้างานแถวหน้ามองเห็นได้ทำให้เข้าใจได้ว่าอะไรคือปัญหา  อีกทั้งยังจำเป็นต้องทำให้ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานแถวหน้าเข้าใจในแนวคิดของเบื้องบนได้

      โครงสร้างการบำรุงรักษาที่กล่าวมาข้างต้น ยืนอยู่ได้ด้วยวงจร PDCA มากมาย และองค์กร-คนจำนวนมากที่ดูแล  การที่ PDCA แต่ละอันนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและหมุนตามวงจรอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้วงจรการบำรุงรักษาหมุนได้ด้วย

      ★ ความจำเป็นของการบำรุงรักษาตามทฤษฎี และมีแผนการเป็นตัวนำ

      การบำรุงรักษาตามทฤษฎี คือ ตรรกะที่ว่า “การบำรุงรักษาอย่างประหยัดเพื่อไม่ให้เครื่องจักรเกิดการขัดข้องทางฟังก์ชันโดยคิดจากวิทยาศาสตร์แห่งการขัดข้อง” เพื่อรักษาเครื่องจักรให้สมบูรณ์  สุดท้ายก็คือ จำเป็นต้องมีการกำหนดระบบการบำรุงรักษาตามทฤษฎีต่อ “ความเสี่ยงในการขัดข้อง”  อีกทั้งไม่ใช้แค่ know-how ที่มาจากความรู้สึกหรือประสบการณ์ของคนคนนั้น แต่เป็น “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” ตามเทคโนโลยี

       หากบำรุงรักษาโดยไม่มีรากฐานจากระบบตามทฤษฎี  การบำรุงรักษานั้นจะเป็นไปอย่างไม่เป็นเหตุเป็นผล และไม่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น มีการปฏิบัติงาน เช่น

  1. การตรวจเช็คของผู้ปฏิบัติงานเดินเครื่อง และการตรวจเช็คของช่างซ่อมบำรุงหรือบริษัทภายนอกซ้ำซ้อนกัน
  2. ทำการตรวจเช็คหรือมีการเปลี่ยน ซ่อมแซมชิ้นส่วนด้วยรอบเวลาที่สั้นเกินความจำเป็น
  3. ทั้งที่สภาพเครื่องจักรยังดี แต่มีการถอดเปิดตรวจเช็คตามการตรวจสอบตามรอบ

      ความสำคัญของการกำหนดการบำรุงรักษาบนแนวคิดตามทฤษฎีนี้ เป็นดังนี้ (ผังที่3-1)

      ผังที่ 3-1 ความจำเป็นของการทำ “ตามทฤษฎี” “ตามแผนการ”
      1. การหมุนตามระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักร

       เครื่องจักรและชิ้นส่วนมีเส้นโค้งการขัดข้องที่หลากหลายตามลักษณะพิเศษเฉพาะหรือวิธีการใช้งาน จึงมีกลไกการขัดข้องที่มีลักษณะพิเศษของแต่ละตัว  ต่อกลไกการขัดข้องที่มีลักษณะพิเศษเหล่านี้จำเป็นต้องเลือกระบบการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพและประหยัด  ระบบการบำรุงรักษาที่ถูกต้องแล้ว ต้องศึกษาว่าเกิดการขัดข้องอย่างไร และระดับผลกระทบเมื่อเกิดว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงเลือกระบบที่จะป้องกันการเกิดนั้นและมีผลกระทบน้อยที่สุด ด้วยพื้นฐานนี้จึงมาทำการเลือกการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมว่า ใคร ทำวิธีไหน เมื่อไร อย่างเป็นไปตามทฤษฎี

       กิจกรรมทั้งหลายนี้ เริ่มจากวิทยาศาสตร์แห่งการขัดข้อง แล้วจึงกำหนดค่าบำรุงรักษา  เพื่อให้เกิดการหมุนตามวงจร PDCA ได้อย่างต่อเนื่อง การพิจารณาที่พื้นฐานทางทฤษฎีเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้  นั่นก็เพราะ จุดที่จะมาบรรจบกันของ “เทคโนโลยีเครื่องจักร” และ “กิจกรรมการบริหาร” อยู่ตรงนี้  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหาร หน่วยงานควบคุมการวางแผนบำรุงรักษา หน่วยงานผลิต และหน่วยงานดำเนินการบำรุงรักษา เป็นต้น ต้องแบ่งปันข้อมูล สร้างโครงสร้างที่สามารถร่วมมือกัน ก็จะทำให้การบำรุงรักษามีพัฒนาการไปได้  และเป็นที่มาของการยกระดับกลไกทั้งหมดให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น

      2.  โครงสร้างการบำรุงรักษาที่ทุกคนมีส่วนร่วม

       เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างเต็มความสามารถและมั่นคง ต้องมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยี ทักษะ การจัดการ และทุกอย่างต้องพร้อมเพรียงจึงจะบริหารจัดการเครื่องจักรได้ดี  และเนื่องจากมีบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เพื่อให้เครื่องจักรทำงานอย่างราบรื่น บุคคลหรือหน่วยงานเหล่านั้นจำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้ได้เหมือนกันทุกคน  เพื่อการนี้แนวคิดอย่างเป็นระบบเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือโปรแกรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามทฤษฎี ยิ่งไปกว่านั้น “การเดินเครื่องอย่างถูกต้อง และการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง” ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นเดียวกัน

       เมื่อคิดถึง “ความครอบคลุม” ของการจัดการ การควบคุมในระดับชิ้นส่วนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และจำเป็นต้องควบคุมหลายประการมาก  ดังนั้น การบำรุงรักษาเครื่องจักรจะดำเนินการแต่เฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรไม่ได้  แนวคิดการบำรุงรักษาเครื่องจักรต้องเข้าใจโดยพนักงานทุกคนที่สังกัดอยู่ในบริษัท และทุกคนต้องรู้และเข้าใจในความจำเป็นในการบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยระดมคนทั้งหมด  เพื่อการนี้ การแบ่งปันแนวคิดรากฐานทางทฤษฎีเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  จำเป็นต้องเข้าใจการบำรุงรักษาในทุกงานทุกระดับชั้น

       ไม่มีบริษัทที่ไม่ทำการบำรุงรักษาเลย ตราบใดที่มีการผลิต ไม่ว่าจะมีจิตสำนึกหรือไม่มี ก็ต้องทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบใดแบบหนึ่ง  โดยทั่วไป เนื่องจากกิจกรรมการบำรุงรักษามีหลายแบบหลายอย่าง และมีหน่วยงาน-คนมากมายเกี่ยวข้อง  ในตอนนั้น แต่ละคนไม่ว่าจะมีจิตสำนึกว่าเป็น “การบำรุงรักษาเครื่องจักร” หรือไม่ จำเป็นต้องทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยทุกคน  อีกทั้ง ช่างซ่อมบำรุงก็มีการโยกย้ายหรือการผลัดเปลี่ยนรุ่นตามอายุ จำเป็นต้องมีการสืบทอดเพื่อสั่งสมเทคโนโลยีและทักษะในการบำรุงรักษา  เพื่อการผลัดเปลี่ยนคนเช่นนี้ก็ยิ่งจำเป็นต้องสร้างการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามทฤษฎี

เรียบเรียงโดย  อาจารย์ณรงค์เกียรติ  นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM