1. แนวคิดของ Quality Maintenance
1.1 ขั้นตอนของ Quality Maintenance
ในหน้างานการผลิต เราต้องผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยคุณภาพที่ลูกค้าหรือกระบวนการถัดไปต้องการ นั่นก็คือ ขั้นตอนของ Quality Maintenance ในการดำเนินระบบเพื่อรับประกันคุณภาพในเชิงผลลัพธ์ จะเป็นดังขั้นตอน (1) – (5) ต่อไปนี้
โดยทั่วไป เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ จะมีความเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขหลากหลาย เช่น อุณหภูมิ แรงดัน แต่ในที่นี้ จะอธิบายตัวอย่างเงื่อนไขตัวหนึ่ง คืออุณหภูมิของอุปกรณ์
ตัวอย่าง ►►อุณหภูมิของอุปกรณ์
- กำหนดเงื่อนไข ของเสียเป็นศูนย์
ก่อนอื่น กำหนดค่าอุณหภูมิเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีของเสียเป็นศูนย์ เพื่อการนี้ จำเป็นต้องค้นหา สเปก คู่มือของที่ทำงาน รวบรวมเอกสาร เช่น มาตรฐานเทคโนโลยี
ทำให้รู้ว่าต้องกำหนดให้อุณหภูมิเครื่องจักรต่ำกว่า 80˚C
- ตรวจเช็ค-ตรวจวัดเงื่อนไขตามเวลา
ต่อจากนั้น ให้ทำการตรวจเช็ค-ตรวจวัดสภาพของอุณหภูมิของอุปกรณ์
ในการนี้ ต้องกำหนดรอบ ความถี่ของการตรวจเช็ค และวิธีตรวจวัดให้ดี แล้วดำเนินการตรวจเช็ครายวัน หรือตรวจเช็คเป็นประจำ
- รักษาเงื่อนไขให้อยู่ภายในค่าเกณฑ์
จากการตรวจเช็ครายวัน หรือตรวจเช็คเป็นประจำ เพื่อรักษาให้อุณหภูมิต่ำกว่า 80˚C ตามที่กำหนด
เพื่อการนี้สิ่งสำคัญคือ การรักษาเงื่อนไขพื้นฐานของเครื่องจักร เพื่อทำให้อยู่ในสภาพที่ไม่เสื่อมสภาพแบบเร่ง ซึ่งก็คือการทำให้การเสื่อมสภาพเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือพูดอีกอย่างก็คือการทำให้อยู่ในสภาพที่เสื่อมสภาพอย่างเป็นธรรมชาติ
การ “ทำความสะอาด” “หล่อลื่น” “ขันแน่น” ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานให้ดีเป็นสิ่งสำคัญ จึงต้องทำกิจกรรม AM ให้ดีเป็นประจำทุกวัน
- คาดการณ์การเกิดของเสียด้านคุณภาพ จากการดูการเปลี่ยนแปลง
เมื่อสังเกตเครื่องจักร อุณหภูมิของอุปกรณ์ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดได้ว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเกิน 80˚C สามารถคาดการณ์การเกิดของเสียด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในเชิงผลจากสภาพการณ์นี้
- มีมาตรการล่วงหน้า
ดังนั้น จึงควรมีมาตรการล่วงหน้า ตั้งแต่ตอนเกิดความเป็นไปได้ของการเกิดของเสียด้านคุณภาพ
ก่อนอื่น หยุดเครื่องจักร ฟื้นสภาพเพื่อให้อุณหภูมิของอุปกรณ์ลดลง และทำการไคเซ็น โดย Flow ของสภาพของตัวอย่างนี้จะเป็นดังผังที่ 2-1
ผังที่ 2-1 ขั้นตอน และ Concept ของ Quality Maintenance
ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างของการปฏิบัติงานใกล้ตัวที่มีหัวข้อเงื่อนไขเป็นอุณหภูมิ โดยหัวข้อเงื่อนไขทั้งหมดที่มีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ จะมีการดำเนินการดังข้างต้น
1.2 การกำหนดเงื่อนไข และการควบคุมเงื่อนไข
ดังทราบจากขั้นตอน Quality Maintenance กิจกรรมเพื่อให้ของเสียเป็นศูนย์ ก็เรียกได้ว่า เป็นการ
- “กำหนดหัวข้อเงื่อนไขที่มีผลกระทบต่อของเสีย และค่ามาตรฐานนั้น”
- “ควบคุมสภาพการเสื่อมสภาพของเงื่อนไขนั้น แล้วมีมาตรการล่วงหน้า”
นั่นก็คือ จะให้ของเสีย-เคลม เป็นศูนย์ได้ ต้องมีการ “กำหนดเงื่อนไข” ให้ดี แล้วปกป้องด้วยการ “ควบคุมเงื่อนไข” นั้นให้เรียบร้อย จึงจะเป็นจริงได้ (ผังที่ 2-2)
■ ผังที่ 2-2 การกำหนดเงื่อนไข และการควบคุมเงื่อนไข
1.3 คิดด้วย 4M
ถ้าเช่นนั้น จะคิดถึง “เงื่อนไข” อย่างไรดี
ในหน้างานการผลิต เราใส่วัตถุดิบเข้าไปในเครื่องจักร แล้วผลิตผลิตภัณฑ์อันเป็น output ของการแปรรูปด้วยเครื่องจักร
หากสภาพของเครื่องจักร วัตถุดิบ วิธีผลิต วิธีการแน่นอน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ก็น่าจะมีผลลัพธ์ที่แน่นอน แต่ผลของสภาพตัวใดตัวหนึ่งแปรปรวน คุณภาพก็จะเปลี่ยนไป
หัวข้อที่ต้องคิดเพื่อเชื่อมโยงกับความแปรปรวนนี้ ก็จะมีหัวข้อ 4M ดังต่อไปนี้
4M ก็คือ เครื่องจักร วัตถุดิบ วิธีการ และ คนที่จัดการสิ่งเหล่านั้น
ตัวอย่างเช่น
ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่หลากหลายอันมีผลต่อคุณภาพ
1.4 แนวคิดพื้นฐานของ Quality Maintenance
เแนวคิดพื้นฐานของ Quality Maintenance คือการเชื่อมโยงกิจกรรมรับประกันคุณภาพ และกิจกรรมควบคุมเครื่องจักร
- เสาะหาความสัมพันธ์ของคุณลักษณะทางคุณภาพ และเงื่อนไขวัตถุดิบ-เงื่อนไขวิธีการ-ความแม่นยำของเครื่องจักร เพื่อกำหนดเงื่อนไขของเครื่องจักรที่ไม่ให้เกิดของเสีย
การกำหนดเงื่อนไขนี้ ก็คือการกำหนดสภาพที่ควรจะเป็นของวัตถุดิบ-วิธีการ-ความแม่นยำของเครื่องจักร และ
- ใช้โอเปอเรเตอร์ที่เก่งในเรื่องเครื่องจักรเป็นรากฐาน ในการควบคุมรักษาเงื่อนไขที่กำหนด ยังผลให้ของเสียเป็นศูนย์เป็นจริง
เหล่านี้คือแนวคิดพื้นฐานของ Quality Maintenance
ในการกำหนดเงื่อนไขไม่ให้เกิดของเสีย และการ maintain สิ่งสำคัญคือ เลิกวิธีการแบบเดิม ๆ ที่ต้องรอให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์แล้วถึงจะรู้ว่าเกิดของเสีย แล้วจึงมีมาตรการแก้ไข เปลี่ยนเป็นการตรวจวัดหัวข้อตรวจเช็คแต่ละตัวซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพเป็นระยะ ๆ และมีมาตรการแก้ไขก่อนที่ค่านั้นจะเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด
■ ผังที่ 2-3 แนวคิดพื้นฐานของ Quality Maintenance

เรียบเรียงโดย อาจารย์ณรงค์เกียรติ นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM