ต่อไปจะขอพูดถึงอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นที่ต้องการในการทำการบริหารจัดการด้วยตนเอง นั่นคือการบริหารจัดการนโยบาย
การบริหารจัดการนโยบาย หมายถึง “ทำให้ theme ไคเซ็นที่ควรต้องแก้ไขในสถานที่ทำงานของพวกตนตามนโยบายเบื้องบนชัดเจน แล้วยกระดับการบรรลุกิจกรรมการผลิตโดยดำเนินการไคเซ็นอย่างกระตือรือร้น”
● สิ่งที่ทำมาแล้วและสิ่งที่ต้องทำต่อไป
พวกเรายังดำเนินการอีกเสาของ TPM นั่นคือการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (FI) ด้วย Theme ในการไคเซ็นนั้นคิดว่าได้กำหนดจากว่า “ตอนนี้พวกตนจะต้องดำเนินการ Theme ไคเซ็นแบบไหน” เพื่อลดต้นทุน เพื่อยกระดับผลิตภาพ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ ดังนั้น กิจกรรม FI ที่แล้วมา จึงทำมาเพื่อยกระดับการบริหารจัดการนโยบายนั่นเอง
โจทย์ใน Step นี้คือการทำอย่างต่อเนื่อง โดยพวกตนเองทำการประเมินว่า “Theme ไคเซ็นได้เสร็จสมบูรณ์ตามแผนหรือไม่” “เนื้อหาการไคเซ็นนั้นได้ยกระดับมากขึ้นกว่าที่แล้วมาหรือไม่” ขณะเดียวกันก็ต้องเอาชนะจุดอ่อนของตัวเอง นั่นก็คือ เพื่อการ “ลดต้นทุน-ยกระดับผลิตภาพ-ยกระดับประสิทธิภาพ” ตามที่พวกเราได้รับการคาดหวัง การดำเนินการยกระดับกิจกรรมไคเซ็นของพวกตนก็เป็นอีกโจทย์หนึ่งนั่นเอง
เพื่อการนี้ เพื่อการยกระดับกิจกรรม FI จำเป็นต้องสร้างมาตรฐาน 3 ประการต่อไปนี้
- กระดานกิจกรรม (Activity Board) ได้รับการเรียบเรียงอย่างดี ประเมินกิจกรรมที่แล้วมา เพื่อทำให้รู้ถึงโจทย์ต่อไป
- การดำเนินการ Theme ไคเซ็นต้องเป็นไปตาม QC Story และเนื้อหาไม่มีการตกหล่นขั้นตอน
- ในแต่ละหัวข้อ Loss ด้านประสิทธิภาพ ต้องใช้เครื่องมือ (เทคนิค) การไคเซ็นที่ถูกต้องที่จำเป็นอย่างเชี่ยวชาญ

เรียบเรียงโดย อาจารย์ณรงค์เกียรติ นักสอน
ที่ปรึกษา TPM-JIPM